ข้ามไปเนื้อหา

กาฮารีงัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพซันดุงและหลุมศพอีกสองหลุมข้างกัน (ภาพล่าง) ในกาลีมันตันตะวันตก

กาฮารีงัน (อินโดนีเซีย: Kaharingan) คือศาสนาพื้นเมืองของชาวดายะก์บนเกาะบอร์เนียวของประเทศอินโดนีเซีย โดย กาฮารีงัน นั้นมีความหมายว่าพลังแห่งชีวิตและความเชื่อ คือเชื่อในการมีอยู่เทพเจ้า ที่มีเทพเจ้าสูงสุดเพียงพระองค์เดียวตามหลักปรัชญาปัญจศีลของอินโดนีเซียข้อที่หนึ่ง ซึ่งกาฮารีงันเองก็รับอิทธิพลฮินดูจากชวามาช้านานแล้ว รัฐบาลจึงมองว่ากาฮารีงันไม่ใช่ศาสนา หากแต่ถือเป็นเพียงศาสนาฮินดูท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง และอาจเป็นเพราะศาสนาฮินดูเป็นหนึ่งในหกศาสนาที่รัฐบาลอินโดนีเซียให้การยอมรับอย่างเป็นทางการ[1][2] กาฮารีงันมีเทศกาลที่สำคัญคือเทศกาลตีวะฮ์ (Tiwah) ที่จะมีการบูชายัญควาย วัว หมู และไก่ถวายแด่องค์เทพเจ้า[3]

กาฮารีงัน มาจากคำดายะก์เก่าว่า ฮาริง (Haring) แปลว่า "ชีวิต" หรือ "มีชีวิตอยู่" โดยมีสัญลักษณ์ประจำศาสนาคือภาพต้นไม้แห่งชีวิตที่มีกิ่งก้านสาขาและหอก ยอดบนสุดจะมีรูปนกเงือกและดวงอาทิตย์ ที่สองสิ่งหลังนี้เป็นสัญลักษณ์แทนเทพเจ้าสูงสุดคือ รันยิงมาฮาลาลา (Ranying Mahalala) โดยจะมีพ่อหมอที่เรียกว่าบาเลียน (Balian) เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือทำพิธีกรรมไสยศาสตร์อื่น ๆ หากชาวกาฮารีงันถึงแก่มรณกรรมก็จะมีพิธีศพครั้งแรกคือการฝัง ก่อนขุดศพขึ้นมาประกอบพิธีอีกครั้งโดยนำกระดูกมาไว้ในซันดุง (Sandung) ซึ่งเป็นโกศที่มีลักษณะเหมือนศาลพระภูมิตามคติไทย และเชื่อว่าวิญญาณของบรรพชนที่ตายไปจะเป็นผีดีมาปกป้องหมู่บ้านจากภยันตราย

ปัจจุบันชาวดายะก์หลายเผ่านิยมเข้ารีตศาสนาคริสต์และอิสลามกันมากขึ้น ผู้ที่นับถือกาฮารีงันก็ลดลงอย่างน่าใจหาย

อ้างอิงและเชิงอรรถ

[แก้]
  1. Belford, Audrey (September 25, 2011). "Borneo Tribe Practices Its Own Kind of Hinduism". New York Times. สืบค้นเมื่อ 1 March 2014.
  2. Anthropos, Volume 102, Issue 2, Österreichische Leo-Gesellschaft, Görres-Gesellschaft, Anthropos Institute; Zaunrith'sche Buch-, Kunst- und Steindruckerei, 2007,
    "...เป็นที่สังเกตเกี่ยวกับความคิดเห็นเชิงบวกด้านการตระหนักรู้ของผู้ที่เป็นกาฮารีงันในหมู่บ้าน ด้วยพวกเขากล่าวอย่างเปิดเผยว่า "เราคือชาวฮินดู" เช่นเดียวผู้คนในปาลังลารายาที่ภูมิใจยิ่งที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกฮินดู..."
  3. Greer, Charles Douglas (2008). Religions of Man: Facts, Fibs, Fears and Fables. Bloomington, IN: AuthorHouse. p. 135. ISBN 1-4389-0831-8.