ข้ามไปเนื้อหา

ปะตูไซ

พิกัด: 17°58′14″N 102°37′07″E / 17.970556°N 102.618611°E / 17.970556; 102.618611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปะตูไซ
ປະຕູໄຊ
ปะตูไซ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งเวียงจันทน์ ลาว
สถานะเสร็จแต่ไม่สมบูรณ์
เริ่มสร้างพ.ศ. 2500
สร้างเสร็จพ.ศ. 2511
เปิดตัวพ.ศ. 2553 (ครบรอบ 450 ปี
ของเวียงจันทน์ในฐานะเมืองหลวงของลาว)
รายละเอียด
จำนวนชั้น7 ชั้น
มูลค่า63 ล้านกีบ
บริษัท
สถาปนิกทำ ไซยะสิดเสนา
(Tham Sayasthsena)[1]
เจ้าของรัฐบาลลาว

ปะตูไซ (ลาว: ປະຕູໄຊ; ในอดีตเรียกว่า "อานุสาวะลี") เป็นอนุสรณ์สถานตั้งอยู่ท้ายสุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของถนนล้านช้าง ใจกลางนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ก่อสร้างในระหว่างปี พ.ศ. 2500 ถึงปี พ.ศ. 2511[1] เพื่อเป็นการสดุดีวีรชนผู้ร่วมรบเพื่อประกาศเอกราชจากประเทศฝรั่งเศส ปะตูไซถูกตกแต่งด้วยศิลปะแบบล้านช้าง นำสัตว์ในตำนานตามความเชื่อของศาสนาพุทธ เช่น กินรี และนาค เป็นต้น และเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาตกแต่ง บริเวณโดยรอบมีลานจัดการแสดงน้ำพุประกอบดนตรีและสวนปะตูไซ

ประวัติ

[แก้]

ชื่อเรียก

[แก้]

ปะตูไซ เป็นคำประสมมาจากคำว่า "ปะตู" (ປະຕູ) หมายถึง "ประตู" และ "ไซ" (ໄຊ) มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า "ชยะ" หมายถึง "ชนะ" ความหมายของคำจึงเหมือนเช่นเดียวกับคำว่า "ประตูชัย" ในภาษาไทย ส่วนการถอดเป็นอักษรโรมันของคำว่า ปะตูไซ นั้นมีหลายรูปแบบ ได้แก่ Patuxai, Patuxay, Patousai และ Patusai[2]

หลังจากประตูไซสร้างเสร็จ เป็นช่วงที่ลาวมีการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ สถานที่นี้ถูกรู้จักกันในชื่อ "อานุสาวะลี" (ອານຸສາວະລີ) ซึ่งหมายถึง "ความทรงจำ" เนื่องจากเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับการสดุดีวีรชนจากการประกาศเอกราช[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ขบวนการปฏิวัติฝ่ายคอมมิวนิสต์ "ปะเทดลาว" ยึดอำนาจรัฐบาลได้เด็ดขาดและพระมหากษัตริย์สละราชสมบัติ ทำให้เปลี่ยนการปกครองจากแบบเดิมเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ จึงเปลี่ยนชื่อจากอานุสาวะลีเป็น "ปะตูไซ" (ປະຕູໄຊ) เพื่อเป็นเกียรติแก่ชัยชนะของคณะปฏิวัติ จนใช้เรียกกันถึงปัจจุบัน[4] นอกจากนี้ปะตูไซยังถูกเรียกว่าเป็น "อาร์กเดอทรียงฟ์" แห่งเวียงจันทน์ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับอาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส[2] และมีชื่อเล่นเรียกว่า "รันเวย์แนวตั้ง" เพราะใช้ปูนซีเมนต์สำหรับสร้างสนามบิน[5]

การก่อสร้าง

[แก้]

ปะตูไซสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน สำหรับสดุดีแก่ทหารลาวที่เสียชีวิตในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองและในการกอบกู้เอกราชจากประเทศฝรั่งเศส[3] ได้รับการออกแบบโดยนายทำ ไซสิดเสนา สถาปนิกชาวลาว ในปี พ.ศ. 2500 แบบของเขาได้รับเลือกจากกรมโยธาธิการ กรมวิศวกรการทหาร และสถาปนิกเอกชนอีกจำนวนมาก โดยทำได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นจำนวน 30,000 กีบสำหรับงานออกแบบของเขา วัสดุที่ใช้ก่อสร้างเป็นปูนซีเมนต์จากสหรัฐที่ใช้สำหรับสร้างสนามบินใหม่ในเวียงจันทน์ แต่รัฐบาลลาวในสมัยนั้นนำมาใช้ในการสร้างปะตูไซแทน[5] ปะตูไซหยุดการสร้างในปี พ.ศ. 2511 แต่ไม่ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ตามแบบที่ออกแบบไว้ในตอนแรก เพราะสถานการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมาปั่นป่วน รวมมูลค่าทั้งหมดประมาณ 63 ล้านกีบ[6]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Roger Nelson (May 2019). Laura A. Macaluso (บ.ก.). Phnom Penh's Independence Monument and Vientiane's Patuxai. Monument Culture: International Perspectives on the Future of Monuments in a Changing World. London: Rowman & Littlefield. pp. 35-48 (37). ISBN 978-1538114148.
  2. 2.0 2.1 Fay, Kim (2005). To Asia with love: a connoisseurs' guide to Cambodia, Laos, Thailand & Vietnam. Things Asian Press. pp. 65–67. ISBN 0-9715940-3-1.
  3. 3.0 3.1 Laos Diplomatic Handbook. Int'l Business Publications. 2007. p. 138. ISBN 1-4330-2885-9.
  4. "Patuxay In Vientiane". Lao Pictures. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-23.
  5. 5.0 5.1 "Patuxay Arch in Vientiane Laos [Archive]". Lonely Planet. 11 กันยายน 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-24. สืบค้นเมื่อ 2016-11-01.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. องค์การพัฒนาการท่องเที่ยว (1 สิงหาคม 2014). "ປະຕູໄຊ. (ນະຄອນຫຼວງ)". รัฐบาลลาว. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-16. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

17°58′14″N 102°37′07″E / 17.970556°N 102.618611°E / 17.970556; 102.618611