ข้ามไปเนื้อหา

ปลาเทราต์สีน้ำตาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาเทราต์สีน้ำตาล
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Salmoniformes
วงศ์: Salmonidae
สกุล: Salmo
สปีชีส์: S.  trutta
ชื่อทวินาม
Salmo trutta
Linnaeus, 1758
พหุสัณฐานนาม

Salmo trutta morpha trutta
Salmo trutta morpha fario
Salmo trutta morpha lacustris

ชื่อพ้อง[2]
previous scientific names
  • Trutta fluviatilis (Duhamel, 1771) Trutta salmonata (Rutty, 1772) Fario trutta (Linnaeus, 1758) Salmo trutta trutta (Linnaeus, 1758) Trutta trutta (Linnaeus, 1758) Salmo fario (Linnaeus, 1758) Salmo trutta fario (Linnaeus, 1758) Trutta fario (Linnaeus, 1758) Salmo lacustris (Linnaeus, 1758) Fario lacustris (Linnaeus, 1758) Salmo trutta lacustris (Linnaeus, 1758) Salmo eriox (Linnaeus, 1758) Trutta lacustris (Linnaeus, 1758) Trutta marina (Duhamel, 1771) Salmo illanca (Wartmann, 1783) Trutta salmanata (Strøm, 1784) Salmo albus (Bonnaterre, 1788) Salmo stroemii (Gmelin, 1789) Salmo sylvaticus (Gmelin, 1789) Salmo cornubiensis (Walbaum, 1792) Salmo fario loensis (Walbaum, 1792) Salmo albus (Walbaum, 1792) Salmo saxatilis (Schrank, 1798) Salmo fario var. forestensis (Bloch & Schneider, 1801) Salmo faris var. forestensis (Bloch & Schneider, 1801) Salmo cumberland (Lacepède, 1803) Salmo gadoides (Lacepède, 1803) Salmo phinoc (Shaw, 1804) Salmo cambricus (Donovan, 1806) Salmo taurinus (Walker, 1812) Salmo montana (Walker, 1812) Salmo spurius (Pallas, 1814) Salmo lemanus (Cuvier, 1829) Salmo truttula (Nilsson, 1832) Salmo caecifer (Parnell, 1838) Salmo levenensis (Yarrell, 1839) Salmo orientalis (McClelland, 1842) Salar ausonii (Valenciennes, 1848) Fario argenteus (Valenciennes, 1848) Salar bailloni (Valenciennes, 1848) Salar gaimardi (Valenciennes, 1848) Salar spectabilis (Valenciennes, 1848) Salmo estuarius (Knox, 1855) Salar ausonii var. semipunctata (Heckel & Kner, 1858) Salar ausonii var. parcepunctata (Heckel & Kner, 1858) Salmo fario major (Walecki, 1863) Salmo venernensis (Günther, 1866) Salmo brachypoma (Günther, 1866) Salmo mistops (Günther, 1866) Salmo polyosteus (Günther, 1866) Salmo gallivensis (Günther, 1866) Salmo rappii (Günther, 1866) Salmo orcadensis (Günther, 1866) Salmo islayensis (Thomson, 1873) Salmo oxianus (Kessler, 1874) Salmo trutta oxianus (Kessler, 1874) Trutta variabilis (Lunel, 1874) Trutta marina (Moreau, 1881) Salmo lacustris rhenana (Fatio, 1890) Salmo lacustris septentrionalis (Fatio, 1890) Salmo lacustris romanovi (Kawraisky, 1896) Salmo trutta aralensis (Berg, 1908) Salmo trutta ezenami (non Berg, 1948) Salmo trutta ciscaucasicus (non Dorofeeva, 1967)

ปลาเทราต์สีน้ำตาล (Salmo trutta) เป็นสายพันธุ์ปลาที่มีต้นกำเนิดในยุโรป จัดอยู่ในวงศ์ปลาแซลมอน ปลาสายพันธุ์นี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ปลาเทราต์ทะเล โดยปกติพวกมันจะอาศัยอยู่ในน้ำทะเล แต่ในฤดูวางไข่พวกมันจะว่ายทวนแม่น้ำขึ้นมาวางไข่ในแหล่งนี้สะอาดเท่านั้น[3] ปราเทราต์ทะเลในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์นั้นมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามภูมิภาค เช่นในเวลส์เรียกว่า เซวิน, ในสก็อตแลนด์เรียกว่า ฟินน็อก, ภาคตะวันตกเรียกว่า พีล, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือเรียกว่า มอร์ท และในไอร์แลนด์เรียกว่า ไวต์เทราต์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปลาเศรษฐกิจที่ผู้คนนิยมรับประทาน

ปลาเทราต์สีน้ำตาลนั้น มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติตั้งแต่ตอนเหนือของนอร์เวย์และบริเวณโดยรอบทะเลขาวของรัสเซียในมหาสมุทรอาร์กติก ไปจนถึงเทือกเขาแอตลาสในแอฟริกาตอนเหนือ ทา ตะวันตกมีการกระจายพันธุ์ไม่เกินไปกว่าไอซ์แลนด์ในแอตแลนติกตอนเหนือ ในขณะที่ทางตะวันออกมีการกระจายพันธุ์ไม่เกินไปกว่าบริเวณทะเลอารัลในอัฟกานิสถานและปากีสถาน[4]

อนุกรมวิธานสัตว์

[แก้]

ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลาเทราต์สีน้ำตาลนั้นคือ Salmo trutta โดยชื่อรอง trutta นั้นเป็นคำในภาษาละตินซึ่งมีความหมายว่า "เทราต์" ทั้งนี้เนื่องจากปลาเทราต์สีน้ำตาลถือเป็นปลาเทราต์สายพันธุ์แรกที่มีการค้นพบโดยนักสัตววิทยาชาวสวีเดน คาร์ล ลินเนียส ในหนังสือระบบธรรมชาติ (Systema Naturae) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ปี ค.ศ. 1758 ซึ่งหนังสือนี้เองเป็นจุดกำเนิดของระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม นอกจากนี้ ลินเนียสยังได้อธิบายถึงปลาเทราต์สายพันธุ์อื่นอีกสองสายพันธุ์ในหนังสือเล่มนี้ คือสายพันธุ์ Salmo fario ซึ่งพบในลุ่มแม่น้ำไรน์ และสายพันธุ์ Salmo lacustris ซึ่งพบในทะเลสาบเดวลลิง[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Freyhof, J. (2012). "Salmo trutta". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  2. "Synonyms of Salmo trutta Linnaeus, 1758". Fishbase.org. สืบค้นเมื่อ 2014-02-22.
  3. "Trout Science: "Science of Trout"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-23. สืบค้นเมื่อ 2015-08-27. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  4. Behnke, Robert J.; Williams, Ted (2007). "Brown Trout-Winter 1986". About Trout: The Best of Robert J. Behnke from Trout Magazine. Guilford, CT: Globe Pequot. pp. 45–50. ISBN 978-1-59921-203-6.
  5. Behnke, Robert J.; Williams, Ted (2007). "Brown Trout-Winter 1986". About Trout: The Best of Robert J. Behnke from Trout Magazine. Guilford, CT: Globe Pequot. p. 45. ISBN 978-1-59921-203-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]