ประสาทหลอนเสียงดนตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประสาทหลอนเสียงดนตรี (อังกฤษ: Musical Hallucination) หรือ อาการเสียงดนตรีหลอน เป็นประเภทหนึ่งของประสาทหลอนทางหู (auditory hallucination) เป็นคำเรียกความผิดปกติที่ได้ยินเสียงเครื่องดนตรีหรือเสียงเพลง เป็นความผิดปกติที่หายาก ในงาน cohort study งานหนึ่ง ซึ่งเป็นงานวิจัยมีบุคคลเข้าร่วม 3,678 คน แต่มีเพียง 0.16% เท่านั้นที่รายงานว่ามีอาการนี้[1]

กรณีแรก ๆ ที่มีการรายงาน[แก้]

ตามหนังสือ Hallucinations (ประสาทหลอน) ของ น.พ. โอลิเวอร์ แซ็กซ์ รายงานการแพทย์เกี่ยวกับอาการนี้พิมพ์ครั้งแรกโดยจิตแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อว่า Jules Baillarger ในปี ค.ศ. 1846[2] แต่ว่า บทความวิทยาศาสตร์ที่พรรณนาถึงโรคนี้มีครั้งแรกในต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 ส่วนในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจัยเบอร์รีโอส์ได้รายงานถึงเคสต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 1990 และ 1991 และนักวิจัยเคชะวานและคณะในปี ค.ศ. 1992

เบอร์รีโอส์ได้สรุปว่า การมีหูหนวก โรคหู โรคสมอง วัยสูงอายุ และการใช้ยาเสพติด ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเกิดอาการนี้ และหลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์เคสถึง 46 กรณี เบอร์รีโอส์พบว่ามีผู้หญิงเป็นถึง 80% และมีอายุโดยเฉลี่ยที่ 60 ปี[3] งานวิจัยได้สรุปว่า อาการนี้มีโอกาสที่จะมีในหญิงสูงอายุผู้มีหูหนวกหรือมีโรคสมอง สูงกว่าผู้ที่ไม่มีอาการทางจิตเวช[4][5]

นักวิจัยเคชะวานและเบอร์รีโอส์เป็นผู้พิมพ์งานพวกแรกที่ระบุประเภทของอาการนี้ ประเภทย่อยจัดเป็น การสูญเสียการได้ยิน เนื้องอกในสมอง โรคชัก โรคหลอดเลือดสมอง และโรคทางจิตเวชอื่น ๆ แม้ว่าจะไม่มีการวิเคราะห์โดยสถิติ ผู้พิมพ์งานวิจัยกล่าวว่า สภาวะหูหนวกมีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุดกับอาการนี้ และผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย ซึ่งอาจจะบ่งถึงความเป็นโรคทางพันธุกรรม[1][4][5]

คำพรรณนาถึงโรค[แก้]

เพราะเหตุเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เราเริ่มที่จะเข้าใจสิ่งที่คนไข้ได้ยินเพราะอาการนี้ได้ดีขึ้น ในคนไข้ 73 คนที่ตรวจสอบโดยนักวิจัยเอเวอร์สและเอ็ลล์เกอร์ คนไข้ 57 คนได้ยินทำนองดนตรีที่คุ้นเคย คนไข้อีก 5 คนได้ยินทำนองที่ไม่คุ้นเคย ทำนองที่ได้ยินเป็นเสียงดนตรีต่าง ๆ กันเริ่มต้นตั้งแต่เกี่ยวกับศาสนาไปจนถึงดนตรีโปรดในวัยเด็ก รวมทั้งเพลงยอดนิยมจากวิทยุ คนไข้บางพวกได้ยินเสียงนักร้องหรือเสียงเครื่องดนตรีประเภทคลาสสิก นักวิจัยเคชะวานพบว่า ลักษณะที่ทั่วไปกับอาการนี้ทั้งหมดคือ มันเป็น memory trace (แปลว่า รอยความทรงจำ) ของคนไข้ ซึ่งหมายถึงสิ่งที่คนไข้คุ้นเคย ดังนั้น ข้อค้นพบนี้จึงอธิบายการที่คนไข้ได้ยินเสียงเพลงที่คุ้นเคยหรือที่เคยได้ยินในวัยเด็ก[1][5]

การสร้างภาพสมองโดยกิจ[แก้]

การสร้างภาพสมองโดยใช้โพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (PET) และ fMRI แสดงว่า อาการเสียงดนตรีหลอนเกิดขึ้นพร้อมกับการทำงานในเขตหลายเขตในสมองรวมทั้ง เขตประมวลข้อมูลเสียง (auditory areas), คอร์เทกซ์สั่งการ, เขตสายตา, basal ganglia, ก้านสมอง, พอนส์, tegmentum, ซีรีเบลลัม, ฮิปโปแคมปัส, อะมิกดะลา, และระบบการได้ยินรอบ ๆ (peripheral auditory system)[2]

สาเหตุ[แก้]

นักวิจัยประสบความสำเร็จในการระบุองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอาการนี้ คือ นักวิจัยเอเวอร์สและเอ็ลล์เกอร์ได้รวบรวมบทความและกรณีศึกษาเกี่ยวกับอาการนี้เป็นจำนวนมาก แล้วจำแนกสมุฏฐานของโรคออกเป็น 5 จำพวก คือ

  • หูตึง (Hypoacusis)
  • โรคทางจิตเวช (Psychiatric Disorders)
  • รอยโรคในสมองเฉพาะส่วน
  • โรคลมชัก (Epilepsy)
  • ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Intoxication)

หูตึง[แก้]

หูตึง (Hypoacusis) กำหนดโดยความบกพร่องทางการได้ยินหรือหูหนวก ภาวะหูตึงเป็นสมุฏฐาน 1 ใน 5 ของอาการเสียงดนตรีหลอน และสามัญที่สุดในเคสที่นักวิจัยเอเวอร์สและเอ็ลล์เกอร์ทำการปริทัศน์[1] ตามงานวิจัยของซานเชสและคณะในปี ค.ศ. 2011 มีนัยที่บอกว่า รอยโรคในพอนส์ อาจเปลี่ยนการทำงานของระบบประมวลข้อมูลเสียงในระบบประสาทกลางทำให้เกิดภาวะหูตึงและประสาทหลอนเสียงดนตรี[6][7]

โรคทางจิตเวช[แก้]

ในปี ค.ศ. 2006 นักวิจัยจานะคีระมันและคณะแสดงเค้สของหญิงอายุ 93 ปีที่มีโรคซึมเศร้า ผู้ประสบกับประสาทหลอนเสียงดนตรีในขณะที่กำลังบำบัดด้วยการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) นักวิจัยพบว่า อาการประสาทหลอนมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับอาการซึมเศร้าของคนไข้ และเกิดจากการบำบัดโดย ECT คนไข้ไม่มีความผิดปกติทางการได้ยิน ซึ่งบอกเป็นนัยว่า อาการนี้สามารถเกิดจากเหตุต่าง ๆ รวมทั้งความเจ็บป่วยทางจิตเวช หลังจากที่สำเร็จการบำบัด อาการประสาทหลอนของคนไข้ก็หายไป ซึ่งบอกเป็นนัยว่า สามารถเป็นอาการแบบเฉียบพลันแต่ชั่วคราว[8]

ตามนักวิจัยเอเวอร์สและเอ็ลล์เกอร์ โรคจิตเวชอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการประสาทหลอนรวมทั้งโรคจิตเภทและโรคซึมเศร้า คนไข้โรคจิตเวชประสบอาการหลอนเสียงดนตรีเพราะอาการโรคจิตของตนที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่มีบางกรณีที่เกิดขึ้นแม้ไม่มีอาการทางจิตอย่างอื่น และยังมีกรณีที่น้อยมากที่เกี่ยวข้องกับโรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder)[1] อีกด้วย (แต่นักวิจัยเฮอร์เมชพบอาการนี้ใน 41% ของคนไข้โรคย้ำคิดย้ำทำ[9] )

รอยโรคในสมองเฉพาะส่วน[แก้]

ในบางกรณีของคนไข้ที่เอเวอร์สและเอ็ลล์เกอร์ทำการศึกษา รอยโรคที่คนไข้มีหลัก ๆ อยู่ในคอร์เทกซ์กลีบขมับ แต่ว่า ตำแหน่งโดยเจาะจงและซีกสมอง (ซ้ายหรือขวา) ต่าง ๆ กันไป เค้สรอยโรคเฉพาะในสมองเกิดร่วมกันความบกพร่องทางการได้ยิน (ดูหูตึง) อาการชักและความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท[1] มีหลายกรณีที่คนไข้ที่มีรอยโรคที่พอนส์ด้านบน (dorsal) เหตุจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือสมองอักเสบ เกิดอาการนี้แบบฉับพลัน ซึ่งอาจเกิดจากการขาดการติดต่อกันระหว่างคอร์เทกซ์รับความรู้สึกกับ reticular formation[10]

โรคลมชัก[แก้]

การทำงานของสมองเมื่อมีอาการเสียงดนตรีหลอนในคนไข้โรคลมชักเกิดขึ้นที่สมองกลีบขมับซีกซ้ายหรือขวา[1] ในกรณีหนึ่งที่วิลเลียมส์และคณะได้ทำการศึกษาในปี ค.ศ. 2008 คนไข้รับการตัดสมองกลีบขมับด้านซ้ายออก (left temporal lobectomy) เพื่อรักษาโรคลมชัก และได้รับการวินิจฉัยว่า มีอาการเสียงดนตรีหลอนหลังการผ่าตัด คนไข้ยังมีองค์ความเสี่ยงหลายอย่างอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นเหตุของอาการหลอน รวมทั้ง การทำหน้าที่ผิดปกติทางจิตประสาท (neuropsychiatric dysfunction) และอาการมีเสียงในหู (tinnitus)[11]

การเมายา[แก้]

อาการเมายา (หรือความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท) เป็นเหตุของอาการหลอนในกรณีมีจำนวนน้อย ความเมายานำไปสู่อาการขาดยาหรือโรคสมองอักเสบ (inflammatory encephalopathy) ซึ่งเป็นเหตุสำคัญต่ออาการประสาทหลอน ยาที่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการประสาทหลอนก็คือ salicylates, benzodiazepines, triazolam, pentoxifylline, โพรพาโนลอล, clomipramine, แอมเฟตามีน, quinine, imipramine, phenothiazine, carbamazepine, กัญชา, พาราเซตามอล, phenytoin, procaine, และสุรา. ยาสลบทั่วไป (general anesthesia) ก็มีความสัมพันธ์กับอาการประสาทหลอนนี้ด้วย[1]

ในกรณีศึกษาโดยกอนดิมและคณะในปี ค.ศ. 2010 คนไข้หญิงวัย 77 ปีผู้มีโรคพาร์กินสัน ได้รับยา amantadine หลังจากที่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยวิธีอื่นมาปีหนึ่ง หลังที่เริ่มใช้ยา เธอก็เริ่มประสบอาการเสียงดนตรีหลอนเป็นเพลง 4 เพลง เธอได้ยินเสียงดนตรีนั้นจนกระทั่ง 3 วันให้หลังจากการเลิกยา แม้ว่า คนไข้จะได้ใช้ยาอื่นด้วยในขณะเดียวกัน แต่ว่า ช่วงเวลาที่อาการหลอนเกิดขึ้นและหยุดลงบอกเป็นนัยว่า amantadine เป็นตัวช่วยยาอื่น ๆ หรือเป็นยาที่ก่อให้เกิดอาการหลอนเอง แม้ว่า กรณีนี้จะไม่เกี่ยวกับการเมายา แต่ก็เป็นกรณีที่ให้ไอเดียว่า คนไข้โรคพาร์กินสันที่รับการบำบัดโดยใช้ยาบางประเภทอาจเกิดอาการหลอนเสียงดนตรี[12]

การรักษาบำบัด[แก้]

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีหรือยาที่ใช้บำบัดรักษาอาการหลอนเสียงดนตรี แต่มีเคสเดี่ยว ๆ ที่แพทย์สามารถลดหรือกำจัดอาการหลอนไปได้ ยาทีใช้ได้ผลเป็นยารักษาโรคจิต (neuroleptics) ยาแก้ซึมเศร้า (antidepressant) และยากันชัก (anticonvulsive) บางประเภท ยกตัวอย่างเช่น มีคนไข้โรคซึมเศร้าที่มีอาการหลอนเสียงดนตรีลดลงเมื่อใช้ยาแก้ซึมเศร้า[1] ส่วนนักวิจัยซานเชสรายงานว่า นักวิจัยบางท่านเสนอว่า การใช้อุปกรณ์ช่วยฟัง (hearing aid) อาจช่วยอาการหลอนให้ดีขึ้น[7] พวกเขาเชื่อว่า สิ่งแวดล้อมภายนอกมีผลต่ออาการหลอน คือที่เงียบทำให้เกิดอาการหลอนมากกว่าที่มีเสียง[6][13][14]

คนไข้ของ น.พ.โอลิเวอร์ แซ็กส์ คือ นาง O’C รายงานว่าตนอยู่ภายใน “มหาสมุทรแห่งดนตรี“ แม้ว่าจริง ๆ แล้วจะอยู่ในห้องที่เงียบ เป็นอาการหลอนที่เกิดจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือเนื้อตายเหตุขาดเลือด (infarction) ในสมองกลีบขมับซีกขวา ภายหลังการบำบัดรักษาที่แก้อาการหลอน นางได้กล่าวว่า “ฉันคิดถึงเพลงเก่า ๆ สมัยนี้มีเพลงเยอะแยะ ฉันจึงไม่สามารถจำเพลงเหล่านั้นได้ มันเหมือนกับได้คืนส่วนเล็ก ๆ ของวัยเด็กมาอีกครั้งหนี่ง” คุณหมอแซ็กส์รายงานถึงหญิงวัยชราอีกคนหนึ่งคือนาง O’M ผู้มีหูตึงและได้ยินเสียงดนตรี เมื่อบำบัดรักษาด้วยยากันชัก (anticonvulsive) อาการหลอนก็ยุติไป แต่เมื่อถามนางว่า คิดถึงเสียงดนตรีเหล่านั้นบ้างไหม นางบอกว่า "ถึงตายก็ไม่เอาอีก"[15]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 Evers, S; Ellger, T (2004). "The clinical spectrum of musical hallucinations". Journal of the neurological sciences. 227 (1): 55–65. doi:10.1016/j.jns.2004.08.004. PMID 15546592.
  2. 2.0 2.1 Sacks, Oliver (2012). Hallucinations (1st American ed.). New York: Alfred A. Knopf. ISBN 0307957241.
  3. Rose, F Clifford (July 30, 2010). Neurology of Music. Imperial College Press. p. 188. ISBN 978-1848162686. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2557. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 Berrios, GE (1990). "Musical hallucinations. A historical and clinical study". British journal of psychiatry. 156: 188–94. doi:10.1192/bjp.156.2.188. PMID 2180526.
  5. 5.0 5.1 5.2 Keshavan, M.S.; David, A.S.; Steingard, S.; Lishman, W.A. (1992). "Musical hallucinations: a review and synthesis". Cognitive and Behavioral Neurology. 3 (3): 211–23.
  6. 6.0 6.1 Hammeke, TA; McQuillen, MP; Cohen, BA (1983). "Musical hallucinations associated with acquired deafness". Journal of neurology, neurosurgery, and psychiatry. 46 (6): 570–2. PMC 1027453. PMID 6875592.
  7. 7.0 7.1 Sanchez, TG; Rocha, SC; Knobel, KA; Kii, MA; Santos, RM; Pereira, CB (2011). "Musical hallucination associated with hearing loss". Arquivos de neuro-psiquiatria. 69 (2B): 395–400. PMID 21625772.
  8. Janakiraman, R; Wildgoose, K; Seelam, K (2006). "ECT associated musical hallucinations in an elderly patient: a case report". Annals of general psychiatry. 5: 10. doi:10.1186/1744-859X-5-10. PMC 1557851. PMID 16889667.
  9. Vitorovic, Danilo; Biller, José (August 2013). "Musical hallucinations and forgotten tunes – case report and brief literature review" (PDF). Front. Neurol. 4. doi:10.3389/fneur.2013.00109. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2557. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย] อ้างอิง Hermesh, H (2004). "Musical hallucinations: prevalence in psychotic and nonpsychotic outpatients". J Clin Psychiatry. 65: 191–197. doi:10.4088/JCP.v65n0208.
  10. Schielke, E; Reuter, U; Hoffmann, O; Weber, JR (2000). "Musical hallucinations with dorsal pontine lesions". Neurology. 55 (3): 454–5. PMID 10932294.
  11. Williams, VG; Tremont, G; Blum, AS (2008). "Musical hallucinations after left temporal lobectomy". Cognitive and behavioral neurology. 21 (1): 38–40. doi:10.1097/WNN.0b013e318165a9e1. PMID 18327022.
  12. Gondim Fde, A; Costa, HA; Taunay, TC; de Oliveira, GR; Rola, FH (2010). "Transient amantadine-induced musical hallucinations in a patient with Parkinson's disease". Movement disorders. 25 (10): 1505–6. doi:10.1002/mds.22553. PMID 20629118.
  13. Miller, TC; Crosby, TW (Mar 1979). "Musical hallucinations in a deaf elderly patient". Annals of Neurology. 5 (3): 301–2. doi:10.1002/ana.410050314. PMID 443762.
  14. Ross, Elliott D. (1975-02-10). "Musical Hallucinations in Deafness". Journal of the American Medical Association. 231 (6): 620. doi:10.1001/jama.1975.03240180056018.
  15. Sacks, Oliver (1998). The man who mistook his wife for a hat and other clinical tales (1st Touchstone ed.). New York, NY: Simon & Schuster. ISBN 0684853949.