บ้านหัวเขา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บ้านหัวเขาตั้งอยู่ในตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำไหลผ่าน มีภูเขาล้อมรอบ อาชีพหลักของชาวบ้านหัวเขาส่วนใหญ่คือเกษตรกร มีการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัย กันแบบญาติพี่น้อง มีการปกครองแบบองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) หมู่บ้านหัวเขาประกอบไปด้วยหมู่ที่1,2,6และ10 ชาวบ้านหัวเขานับถือศาสนาพุทธ มีวัดหัวเขาเป็นศูนย์รวมจิตใจ

ประวัติชุมชน[แก้]

ใน อดีตมีบุคคลกลุ่มหนึ่งอพยพมาจากทางด้านทิศตะวันของหมู่ห่างจากบ้านบ่อกรุเพียง เล็กน้อย เดิมเรียกหมู่บ้านนั้นว่า หมู่บ้านดอนกระเบื้อง เมืองสามชั้น บุคคลดังกล่าวได้ร่อนเร่มาพบพื้นที่ที่อุดมสมบรูณ์ มีแม่น้ำไหลผ่าน มีภูเขาล้อมรอบ จึงชวนกันตั้งถิ่นฐาน แล้วขนานนามว่า บ้านหุบเขา ต่อมาคำว่า บ้านหุบเขานั้นมีการเพี้ยนไป เป็นหัวเขา จึงเรียกว่าบ้านหัวเขา จนถึงปัจจุบัน

ประเพณี และวัฒนธรรม[แก้]

หมู่บ้านหัวเขาจะมีประเพณีตักบาตรเทโวเป็นประเพณีที่จัดขึ้นทุกปี ในช่วงวันออกพรรษา ประเพณีตักบาตรเทโววัดหัวเขาถือเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่มีชื่อเสียงใน อำเภอเดิมบางนางบวชก็ว่าได้

สัญลักษณ์ชุมชน[แก้]

วัดหัวเขามีมณฑปตั้งอยู่บนเขา โดยมณฑปนี้สร้างขึ้นในสมัยที่หลวงปู่อิ่มเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งว่าจ้างช่างฝีมือมาจากเมืองหลวง(สมัยรัชกาลที่5) โดยมณฑปนี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันกับอารามหลวงของกรุงเทพฯ ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่5 ภายในมณฑปประดิษสถานพระพุทธรูปไว้สักการบูชา เมื่อถึงวันวันออกพรรษาของทุกปี จะมีงานตักบาตรเทโว โดยมีการจำลองเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ พร้อมทั้งเหล่าเทวดาและนางฟ้า เดินลงจากมณฑปบนเขา เป็นประจำทุกปี

ภูมิศาสตร์[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศในเขตตำบลหัวเขา เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา มีภูเขาขนาดเล็กหลายแห่ง ลักษณะ ภูมิอากาศโดยทั่วไป มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มจากเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มจากเดือน พฤษภาคม ถึงเดือน ตุลาคม และ ฤดูหนาว เริ่มจากเดือน ตุลาคม ถึงเดือน กุมภาพันธ์

อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16 – 39 องศาเซลเซียส

สภาพที่ตั้งและภูมิประเทศ[แก้]

เป็นที่ราบลุ่ม มีภูเขาล้อมรอบ มีแม่น้ำไหลผ่าน หมู่บ้านหัวเขา ตั้งอยู่ในตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


การคมนาคม[แก้]

มีถนนทางหลวง หมายเลข3350(สายท่าช้าง-ด่านช้าง)ตัดผ่านด้านหน้าและด้านข้างหมู่บ้านบริเวณหมู่ที่1และหมู่ที่6 รถเมล์โดยสารที่ผ่านได้แก่ สายท่าช้าง-ด่านช้าง ภายในหมู่บ้านเป็นถนนซีเมนต์ ระยะจากอำเภอเดิมบางนางบวช มายังตำบลหัวเขา 6.0 กิโลเมตร ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลกระเสียว อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลเขาพระ และตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวชจังหวัดสุพรรณบุรี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหัวนา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี


ทรัพยากร[แก้]

ไม้ ที่ชาวบ้านนำมาสร้างบ้าน มักจะเป็นไม้ที่เป็นไม้ของบ้านเก่า บ้านในหมู่บ้านหัวเขาจะใช้ต้นไม้ที่ได้จากการไปขุดจากบนเขา ที่อยู่บริเวณหมู่บ้านมาใช้แทนการสร้างรั้วประเภทต่างๆ ด้านอาหารเช่น กุ้ง หอย ปู ปลาเป็นต้น มักจะเป็นการหาเองตามท้องทุ่ง เนื้องจากท้องนาบริเวณนั้น ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ จึงมีแหล่งอาหารให้ชาวบ้านได้ใช้ดำรงชีวิต

ประชากร[แก้]

หมู่บ้านหัวเขามีจำนวนประชาการ 1,778 คน 664 ครัวเรือน

ภาษา[แก้]

เป็นภาษาถิ่นใช้ในการสื่อสาร (ภาษาสุพรรณ)

ศาสนา[แก้]

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักของชุมชน

บุคคลที่มีชื่อเสียงในชุมชน[แก้]

หลวงปู่อิ่ม พระครูไพโรจน์-ธรรมคุณ(หลวงพ่อสุบิน)

เศรษฐกิจ[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเขา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 80 ซึ่งเป็นอาชีพลัก รองลงมา คือ อาชีพรับจ้าง ข้าราชการ อาชีพเสริม การทำอุตสาหกรรมครัวเรือน


ประเภทอุตสาหกรรมครัวเรือน, การเกษตร[แก้]

การเกษตร ได้แก่ การทำนา ทำไร่ มีการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อการเกษตร ประเภทอุตสาหกรรมครัวเรือน เช่น กลุ่มอาชีพจักสาน ผลิตภัณฑ์ผักตบชวา กลุ่มสตรีผลิตมุ้งหมอน กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มผลิตน้ำพริกเผา


[Google site กลุ่มหัวเรา]