บุณคณาวัฒน์ ภู่จีนาพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์)
บุณคณาวัฒน์ ภู่จีนาพันธุ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 มีนาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
คู่สมรสวารี ภู่จีนาพันธุ์

นายบุณคณาวัฒน์ ภู่จีนาพันธุ์ (เกิด 19 มีนาคม พ.ศ. 2495) หรือ บุณยวัฒน์ ภู่จีนาพันธุ์ หรือชื่อเดิม บุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 3 สมัย[1][2]

ประวัติ[แก้]

นายบุณคณาวัฒน์ ภู่จีนาพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของนายดุสิต และ นางบัวดัว ภู่จีนาพันธุ์[3] สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) และ ปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

บุณคณาวัฒน์ เป็นน้องชายของนายณรงค์ ภูอิทธิวงศ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี [4]

งานการเมือง[แก้]

บุณคณาวัฒน์ ภู่จีนาพันธุ์ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535) และได้รับเลือกติดต่อกันจนถึง (พ.ศ 2543) รวม 3 สมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป 13 กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)

ข้าราชการการเมือง[แก้]

ได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมือง 3 ครั้ง คือ

  1. เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายปัญจะ เกสรทอง) ปี 2537 - 2538 (สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี)
  2. ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พล.ต.ต.วุฒิ สุโกศล) ปี 2540 - 2540 (สมัยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี )
  3. เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายกร ทัพพะรังสี) ปี 2541 - 2544 (สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี)[5]

กรรมาธิการสามัญ ประจำสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ในคณะกรรมาธิการ 3 คณะ คือ

  1. กรรมาธิการการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่โฆษกคณะกรรมาธิการการกีฬา ปี 2537 - 2538 (สมัยนายชุมพล กาญจนะ เป็นประธาน)
  2. กรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่รองประธานคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2538 - 2539 (สมัยนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นประธาน)
  3. กรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการศึกษา ปี 2540 - 2543 (สมัยนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ เป็นประธาน)

กรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนา[แก้]

ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค 3 ครั้ง

  1. กรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนา ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรค ปี 2538-2539 (สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าพรรค และ นายประจวบ ไชยสาส์น เป็นเลขาธิการพรรค)
  2. กรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนา ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรค ปี 2539-2541 (สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นหัวหน้าพรรค และ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นเลขาธิการพรรค) : รักษาการกรรมการบริหารพรรคและรองเลขาธิการพรรค ปี 2541-2541 (สมัยพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก รักษาการหัวหน้าพรรค และ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รักษาเลขาธิการพรรค เนื่องจากพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ถึงแก่อสัญกรรม)
  3. กรรมการบริหารพรรคชาติพัฒนา ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรค ปี 2541-2544 (สมัยนายกร ทัพพะรังสี เป็นหัวหน้าพรรค และ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นเลขาธิการพรรค)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "เว็บส่วนตัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-10. สืบค้นเมื่อ 2015-11-07.
  2. ประวัติย่อ นายบุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์ (ปรับปรุงครั้งที่ 1)
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  4. "โค้งสุดท้ายภาคเหนือ 7 จ.ทรท.มีสิทธิ์ยกทีม/10 เก้าอี้ชม.นายกฯฝันค้าง-แม่เลี้ยงติ๊กพ่าย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-11-29.
  5. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕๓/๒๕๓๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (จำนวน ๑๖ ราย)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙