บีบี กา มักบะรา
บีบี กา มักบะรา | |
---|---|
![]() | |
ที่ตั้ง | เอารังคาบาด, รัฐมหาราษฏระ, ประเทศอินเดีย |
พิกัด | 19°54′05″N 75°19′13″E / 19.90151°N 75.320195°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 19°54′05″N 75°19′13″E / 19.90151°N 75.320195°E |
สถาปนิก | อะตาอุลลอห (Ata-ullah), หันสปัต ราอี (Hanspat Rai) |
สถาปัตยกรรม | สถาปัตยกรรมโมกุล |
บีบี กา มักบะรา (มราฐี: बीबी का मकबरा; Bibi Ka Maqbara, แปล: "สุสานของพระนาง"[1][2]) เป็นสุสาน ตั้งอยู่ในเมืองเอารังคาบาด รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นในปี 1660 โดยจักรพรรดิโมกุล เอารังเซบ เพื่อระลึกถึงพระอัครมเหสีและมเหสีพระองค์แรก ดิลรัส บานู เบกุม (หรือพระนามหลังสิ้นพระชนม์ ราเบียอุดดาวรานี; Rabia-ud-Daurani) ถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ถึง 'ความภักดีซื่อสัตย์ในคู่ครอง' (conjugal fidelity) ของเอารังเซบ[3][4][5] อาคารมีหน้าตาที่คล้ายคลึงอย่างมากกับทัชมาฮาล ซึ่งเป็นสุสานของมุมตาช มหัล พระมารดาของจักรพรรดิเอารังเซบ[6] เอารังเซบไม่มีความสนพระทัยในการสถาปัตยกรรม ถึงแม้จะเคยก่อสร้างมัสยิดโมตีในเดลีซึ่งมีขนาดเล็กแต่สง่างาม บีบีกามักบะรานี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองที่เอารับเซบเคยดำริให้สร้าง รองจากมัสยิดบาดชาฮี[7]
เนื่องจากความคล้ายอย่างมากต่อทัชมาฮาล ทำให้อาคารนี้ได้รับการเรียกขานว่า ทักขณีตาช (Dakkhani Taj; ทัช[มาฮาล]แห่งเดกกาน)[8] ในปัจจุบัน บีบีกามักบะราเป็นอนุสรณ์หลักของเมืองเก่าเอารังคาบาด[9][10] ที่ประตูทางเข้าปรากฏจารึกผู้ออกแบบสร้างคือ อะตาอุลลอห (Ata-ullah) ผู้เป็นสถาปนิก และ ฮันสปัต ราอี (Hanspat Rai) ผู้เป็นวิศวกร[8] อะตาอุลลอหเป็นบุตรของอุสตาดอะห์มาดลาฮาวรี ผู้ออกแบบหลักของทัชมาฮาล[11]
ประวัติ[แก้]
ดิลราส บานู เบกุม เป็นเจ้าหญิง ธิดาในจักรพรรดิแห่งซาฟาวิดในเปอร์เซีย[12] แลดมีร์ซา บาดีอุซซามาน ซาฟาวี[13] และมียศเป็นอุปราชแห่งคุชราต[14] ต่อมาเธอสมรสกับมูฮี-อูด-ดิน (Muhi-ud-din) (ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเอารังเซบ) เมื่อ 8 พฤษภาคม 1637 ที่เมืองอัคระ[15] ดิลราชเป็นทั้งอัครมเหสี, มเหสีองค์แรก และมเหสีองค์โปรของเอารังเซบ[16][17][18][19] ทั้งคู่มีลูกห้าคน
หลังพระนางคลอดบุตรคนที่ห้า ก็สิ้นพระชนม์ในหนึ่งเดือนต่อมาในวันที่ 8 ตุลาคม 1657 เป็นไปได้ว่าเกิดจากอาการแทรกซ้อนจากการคลอดบุตร ที่ซึ่งนำความเศร้าโศกอย่างรุนแรงมายังจักรพรรดิเอารังเซบและบุตร อะซัม ชาห์[20] ในปี 1660 จักรพรรดิเอารังเซบได้มีดำริให้สร้างสุสานขึ้นเพื่อไว้ศพของดิลราส โดยตั้งชื่อบีบี กา มักบะรา ("สุสานของพระนาง") ที่ซึ่งพระนางดิลราสได้รับการฝังภายใต้พระนามใหม่หลังสิ้นพระชนม์ 'ราเบียอุดดุรานี' (Rabia-ud-Daurani; "ราเบียแห่งยุค") ส่วนพระศพของเอารังเซบฝังไว้ที่สุสานที่สร้างในเมืองขุลดาบาด
ระเบียงภาพ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Lach, Donald F.; Kley, Edwin J. Van (1998). Asia in the Making of Europe : Volume III, the Century of Advance (Pbk. ed.). University of Chicago Press. p. 738. ISBN 9780226467672.
- ↑ Rupani, Bob. India's 100 best destinations. ISBN 9788192526201. OCLC 1027216185.
- ↑ Lach, Donald F.; Kley, Edwin J. Van (1998). Asia in the Making of Europe : Volume III, the Century of Advance (Pbk. ed.). University of Chicago Press. p. 738. ISBN 9780226467672.
- ↑ Eraly, Abraham (2008). The Mughal world: India's tainted paradise. Weidenfeld & Nicolson. pp. 376.
- ↑ "The Taj of Deccan". Deccan Herald. 19 February 2011.
- ↑ Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 174.
- ↑ Eraly, Abraham (2008). The Mughal world: India's tainted paradise. Weidenfeld & Nicolson. pp. 376.
- ↑ 8.0 8.1 "World Heritage Sites. Bibi-Ka-Maqbar". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2011. สืบค้นเมื่อ 28 January 2013.
- ↑ Koch, Ebba (1997). King of the World: The Padshahnama. Azimuth. p. 104.
- ↑ "Bibi Ka Maqbara". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2013. สืบค้นเมื่อ 28 January 2013.
- ↑ text; Sahai, photogr. Surendra (2004). Indian architecture : Islamic period : 1192-1857 (1. publ. ed.). New Delhi: Prakash Books. p. 150. ISBN 9788172340575.
- ↑ Yust, Walter (1954). Encyclopædia Britannica, Volume 2. p. 694.
- ↑ Faruqui, Munis D. (2012). The Princes of the Mughal Empire, 1504–1719. Cambridge University Press. pp. 72, 90. ISBN 978-1139536752.
- ↑ Annie Krieger-Krynicki (2005). Captive princess: Zebunissa, daughter of Emperor Aurangzeb. Oxford University Press. p. 1.
- ↑ Sir Jadunath Sarkar (1979). A short history of Aurangzib, 1618-1707. Orient Longman. p. 409.
- ↑ Eraly, Abraham (2007). The Mughal World: Life in India's Last Golden Age. Penguin Books India. p. 147.
- ↑ Chandra, Satish (2002). Parties and politics at the Mughal Court, 1707-1740. Oxford University Press. p. 50.
- ↑ Koch, Ebba (1997). King of the world: the Padshahnama. Azimuth Ed. p. 104.
- ↑ Nath, Renuka (1990). Notable Mughal and Hindu women in the 16th and 17th centuries A.D. New Delhi: Inter-India Publ. p. 148.
- ↑ Hamid, Annie Krieger Krynicki ; translated from French by Enjum (2005). Captive princess : Zebunissa, daughter of Emperor Aurangzeb. Karachi: Oxford University Press. p. 84. ISBN 9780195798371.
บรรณานุกรม[แก้]
- Asher, Catherine Blanshard. Architecture of Mughal India, Part 1. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-26728-1.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: บีบี กา มักบะรา |