บาปใหญ่ (ศาสนาอิสลาม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บาปใหญ่ ในสาระธรรมคำสอนของศาสนาอิสลาม หมายถึง บาปต่างๆ ที่อัลกุรอาน และรายงาน (ริวายะฮ์) ต่างๆ จากบรรดาอิมามของชีอะฮ์ ได้สัญญาบทลงโทษแห่งไฟนรกเอาไว้ สำหรับจำนวนบาปใหญ่นั้นมีความแตกต่างกันออกไปในนิกายต่างๆ ของอิสลาม บ้างก็กล่าวว่ามี 25 บาป บ้างก็กล่าวไว้ถึง 70 บาป [ต้องการอ้างอิง]

พระผู้เป็นเจ้าตรัสไว้ในอัลกุรอาน บท นิซา โองการที่ 31 ว่า

﴿إِنْ تَجْتَنِبُوا كَبَائِرَ مَا تُنْهَوْنَ عَنْهُ نُكَفِّرْ عَنْكُمْ سَيِّئَاتِكُمْ وَنُدْخِلْكُمْ مُدْخَلًا كَرِيمًا﴾

หากพวกเจ้าปลีกตัวออกจากบาปใหญ่ทั้งหลายที่พวกเจ้าถูกห้ามให้ละเว้นมันแล้ว เราก็จะลบล้างความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของพวกเจ้า ออกจากพวกเจ้า และเราจะให้พวกเจ้าเข้าอยู่ในสถานที่อันมีเกียรติ

ตามสาระธรรมคำสอนของศาสนาอิสลามถือว่า ผู้ที่ทำบาปใหญ่แล้วไม่กลับตัวกลับใจ เขาคือคนชั่ว ซึ่งไม่อาจนมาซตามได้ การเป็นพยานของเขาจะไม่ถูกตอบรับ และภายหลังจากเสียชีวิตเขาคือผู้ที่ตัองได้รับการลงทัณฑ์จากพระผู้เป็นเจ้า นอกเสียจากว่าพระผู้เป็นเจ้าจะโปรดปรานแก่เขา โดยผ่านการได้รับการอนุเคราะห์จากท่านศาสดาแห่งอิสลามและลูกหลานผู้บริสุทธิ์ของท่าน ท่านศาสดาแห่งอิสลามได้ดำรัสไว้เกี่ยวกับการให้การอนุเคราะห์ว่า ฉันเก็บการอนุเคราะห์ของฉันไว้ให้แก่ประชาชาติของฉันที่ทำบาปใหญ่  การอนุเคราะห์ของฉันมีไว้สำหรับประชาชาติของฉันที่ทำบาปใหญ่  ส่วนผู้ทำความดี กล่าวคือละเว้นจากการทำบาปใหญ่พวกเขาย่อมไม่ได้รับการลงโทษ[1]

บาปและประเภทต่างๆ ของมัน[แก้]

บาป มี 2 ประเภท คือ:[2]

  1. บาปใหญ่
  2. บาปเล็ก

นิยามของบาปใหญ่[แก้]

บาปใหญ่ ตามความเชื่อของอิสลาม หมายถึง บาปที่ต้องได้รับการลงโทษ ผลจากการทำบาปใหญ่ คือ จิตวิญญาณของมนุษย์จะถูกลบออกไป หมายความว่า มนุษย์จะสูญเสียจิตวิญญาณอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิมที่บริสุทธิ์ไป จะบั่นทอนความปรารถนาที่จะทำความดีโดยเปลี่ยนเป็นความอยากที่จะทำบาปอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีก

  1. ทุกบาปที่อัลกุรอานและฮะดีษกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นบาปใหญ่ (มากกว่า 40 บาปที่ถูกรายงานจากอะฮ์ลุลบัยต์[3]
  2. ทุกบาปที่กระทำแล้วอัลกุรอานหรือซุนนะฮ์ที่น่าเชื่อถือได้สัญญาการลงโทษด้วยไฟนรกไว้
  3. ทุกบาปที่อัลกุรอานหรือซุนนะฮ์รับรู้กันโดยทั่วว่าเป็นบาปใหญ่ ถือว่าเป็นบาปที่ใหญ่กว่า
  4. ทุกบาปที่ผู้เคร่งครัดและนักการศาสนาระดับสูงถือว่าเป็นบาปใหญ่ ในลักษณะที่มั่นใจได้ว่าการเป็นบาปใหญ่ของมันนั้นมีในยุคอิมามมะอ์ซูม เช่น การตั้งใจทำให้มัสญิดเป็นนะญิสเพื่อลบหลู่เกียรติบ้านของพระเจ้า  การโยนอัลกุรอาน[4]
  5. การทำบาปเล็กซ้ำๆหรือยืนกรานทำบาปของเล็กซ้ำๆ ก็ถือว่าเป็นบาปใหญ่[5]

บาปใหญ่ในฮะดีษ[แก้]

มีรายงานจาก มูซา บุตร ญะอ์ฟัร ว่า วันหนึ่ง อัมร์ บุตร อุบัยด์ เข้าพบบิดาของฉัน ญะอ์ฟัร ซอดิก เขาได้กล่าวให้สลามและนั่งลง แล้วได้อ่านโองการที่ 35 ซูเราะฮ์ชูรอ จากนั้นก็นิ่งเงียบ

อิมามกล่าวแก่เขาว่า  ทำไมท่านจึงไม่อ่านให้จบโองการเล่า ? ฉันกล่าวว่า ฉันต้องการทราบว่า บาปใหญ่ คืออะไร ? อิมามจึงกล่าวว่า

  1. การตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์: บาปใหญ่ที่สุด คือ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ และสวรรค์เป็นที่ต้องห้ามสำหรับผู้ที่ตั้งภาคี  ดังที่ตรัวไว้ว่า "แท้จริงผู้ใดให้มีภาแก่อัลลอฮ์ แน่นอนอัลลอฮ์จะทรงให้สวรรค์เป็นที่ต้องห้ามแก่เขา และที่พำนักของเขานั้นคือนรก"บทมาอิดะฮ์ โองการที่ 72)
  2. การสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์: บาปหลังจากการตั้งภาคี คือ การสิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์ ผู้ใดที่สิ้นหวัง เขาคือ ผู้ปฏิเสธ ดังที่กุรอานกล่าวไว้ว่า "และพวกเจ้าอย่าสิ้นหวังต่อความเมตตาของอัลลอฮ์ แท้จริงไม่มีผู้ใดสิ้นหวังต่อความเมตตาของอัลลอฮ์ นอกจากหมู่ชนผู้ปฏิเสธ" (บทยูซุฟ โองการที่ 87)
  3. การมั่นใจว่าจะรอดพ้นจากการทดสอบและการลงโทษ: ไม่มีผู้ใดที่มั่นใจว่าจะปลอดภัยจากการทดสอบของอัลลอฮ์ได้นอกจากพวกที่ทุนเท่านั้น ดังที่กุรอานกล่าวไว้ว่า "ไม่มีใครมั่นใจว่าจะปลอดภัยจากอุบายของอัลลอฮ์ นอกจากกลุ่มชนที่ขาดทุนเท่านั้น" (บทอะอ์รอฟ โองการที่ 97) บาปใหญ่อีกประการหนึ่งคือ การดื้อดึงขัดขืนต่อพ่อแม่ และทรงถือว่าเป็นผู้เลวทรามต่ำช้า ดังมีในโองการที่ 32 ซูเราะฮ์มัรยัม ว่า“และทรงให้ฉันทำดีต่อมารดาของฉันและจะไม่ทรงทำให้ฉันเป็นผู้หยิ่งยะโส ผู้เลวทรามต่ำช้า” 
  4. การเข่นฆ่าผู้ศรัทธา: บาปใหญ่อีกประการหนึ่งคือ การฆ่าผู้ศรัทธาโดยปราศจากการตัดสินตามบทบัญญัติศาสนา และอัลลอฮ์ทรงกำหนดให้นรกเป็นสถานที่พำนักของฆาตกร ดังที่ตรัสไว้ว่า  "และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธาโดยจงใจ การตอบแทนแก่เขาก็คือ นรกญะฮันนัม โดยที่เขาจะอยู่ในนั้นตลอดกาล และอัลลอฮฺก็ทรงกริ้วโกรธเขา และทรงละนัตเขา และได้ทรงเตรียมไว้สำหรับเขาซึ่งการลงโทษอันใหญ่หลวง" (บทนิซา โองการที่ 95)
  5. การใส่ร้ายและกล่าวหาผู้อื่นว่าผิดประเวณี :การลงโทษได้ถูกสัญญาไว้แล้วสำหรับผู้ที่ให้ร้ายเช่นนี้ ดังที่ตรัสไว้ว่า "แท้จริงบรรดาผู้กล่าวโทษบรรดาหญิงบริสุทธิ์ หญิงไม่รู้เรื่องอะไร หญิงผู้ศรัทธา พวกเขาถูกสาปแช่งทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และสำหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างมหันต์" (บทนูร โองการที่ 23)
  6. การลิดรอนทรัพย์เด็กกำพร้า ไม่มีผลอันใดนอกจากการลงโทษเท่านั้น ดังที่อัลลอฮ์ตรัสว่า "แท้จริงบรรดาผู้ที่กินทรัพย์ของบรรดาเด็กกำพร้าด้วยความอธรรมนั้น แท้จริงพวกเขากินไฟเข้าไปในท้องของพวกเขาต่างหากและพวกเขาก็จะเข้าไปสู่เปลวเพลิง" (บทนิซา โองการที่ 11)
  7. การหนีจากสงคราม: เป็นสงครามที่ได้รับคำสั่งที่เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) จากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) บรรดาอิมาม หรือตัวแทนเฉพาะของท่านศาสดาและบรรดาอิมาม ดังที่กล่าวไว้ว่า ผู้ใดหนีจากสงคราม ประดุจดังว่าเขาได้วิ่งเข้าหาความกริ้วของอัลลอฮ์ และสถานที่พำนักของเขาคือ นรก ซึ่งเป็นสถานพำนักที่เลวร้ายยิ่ง
  8. การกินดอกเบี้ย: อัลลอฮ์ตรัสเกี่ยวกับพวกกินดอกเบี้ยว่า  ผู้ที่กินดอกเบี้ยจะได้ถูกฟื้นขึ้นมาจากสุสานในวันกิยามะฮ์ นอกจากชัยฏอนจะให้เขาอยู่ในสภาพมึนเมา
  9. ไสยศาสตร์และการเรียนการสอนไสยศาสตร์ :  อัลลอฮ์ทรงตำหนิพวกนี้ไว้ว่า จงรู้ว่าเถิดว่า ในวันอาคิเราะฮ์ พวกเขาจะไม่รับประโยชน์อันใดเลยจากสวรรค์
  10. การผิดประเวณี: อัลลอฮ์ทรงสัญญาการลงโทษไว้แก่ผู้ผิดประเวณีว่า "และผู้ใดกระทำเช่นนั้น เขาจะได้พบกับความผิดอันมหันต์ การลงโทษในวันกิยามะฮ์จะถูกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าสำหรับเขา และเขาจะอยู่ในนั้นอย่างอัปยศ" (บทฟุรกอน โองการที่ 68) 
  11. การสาบานเท็จ:  ในวันกิยามะฮ์จะไม่ยังประโยชน์ใดเลยแก่ผู้ที่สาบานเท็จ ดังที่ตรัสไว้ว่า บรรดาผู้ที่ขายสัญญาอัลลอฮ์และการสาบานของตนด้วยราคาอันน้อยนิด พวกเขาย่อมไม่รับความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้าในวันกิยามะฮ์ 
  12. การทรยศและการยักยอก: การทรยศต่อศาสนา ชาติและประชาชน  ส่วนผู้ทรยศและยักยอกนั้นย่อมได้รับการลงโทษ ดังที่ตรัสว่า"และผู้ใดทรยศแล้ว เขาก็จะนำสิ่งที่เขายศนั้นมาในวันกิยามะฮ์แล้วแต่ละคนจะได้รับการตอบแทนอย่างครบถ้วน ตามที่เขาได้แสวงหาไว้ โดยที่พวกเขาจะไม่ได้รับความอยุติธรรม" (บทอาลิอิมรอน โองการที่ 161
  13. การไม่จ่ายซะกาต: อัลลอฮ์ตรัสเกี่ยวกับผู้ที่ไม่จ่ายซะกาตไว้ว่า “วันที่มันจะถูกเผาไฟนรกแห่งญะฮันนัม แล้วหน้าผากของพวกเขา และสีข้างของพวกเขา และหลังของพวกเขาจะถูกนาบด้วยมัน นี้แหละคือสิ่งที่พวกเจ้าได้สะสมไว้ เพื่อตัวของพวกเจ้าเอง ดังนั้นจงลิ้มรสสิ่งที่พวกเจ้าสะสมไว้เถิด" (บทเตาบะฮ์ โองการที่ 35)
  14. การปกปิดและเป็นพยานเท็จ: โองการที่ 72 บทฟุรกอน กล่าวว่า "และพวกเจ้าจงอย่าปกปิดพยานหลักฐาน และผู้ใดปกปิดมันไว้ แน่นอนหัวใจของเขาก็มีบาป และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ" (บทบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 283)
  15. การดื่มสุราและไม่ทำนมาซ:  อัลลอฮ์ทรงห้ามการดื่มสุราและของมึนเมาอื่นๆ เหมือนดังเช่นห้ามการบูชาเจว็ด และบาปใหญ่อีกประการหนึ่งคือ การไม่ทำนมาซ ท่านศาสนทูตกล่าวตำหนิผู้ที่ทิ้งการนมาซว่า ผู้ที่จงใจทิ้งการนมาซ เขาคือผู้ที่ออกจากการคุ้มครองของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์
  16. การบิดพลิ้วสัญญาและตัดญาติขาดมิิตร: พระองค์ทรงสาปแช่งพวกบิดพลิ้วสัญญาและตัดญาติขาดมิตรไว้ว่า " ชนเหล่านี้แหละพวกเขาจะได้รับการสาปแช่ง และจะได้ที่พำนักอันชั่วช้า" (บทเราะอ์ด โองการที่ 25) จากนั้น อัมร์ บุตร อุบัยด์ ก็ลากลับ ในสภาพที่ระทมและร้องไห้ และกล่าวว่า พินาศสิ้นแล้วสำหรับผู้ที่วินิจฉัยตามอำเภอใจตนและถือว่าความรู้และความประเสริฐนั้นทัดเทียมกับท่าน

บาปใหญ่ในมุมมองของ ซัยยิดอับดุลฮุเซน ดัสต์ฆีบ[แก้]

ซัยยิดอับดุลฮุเซน ดัสต์ฆีบ มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ฆุนอฮอน กะบีเราะฮ์

  1. สิ้นหวังจากความเมตตาของอัลลอฮ์
    [6]
  2. การมั่นใจว่าจะรอดพ้นจากอุบายและการลงโทษของอัลลอฮ์[7]
  3. โกหก[8]
  4. การฆ่าคน การฆ่าผู้ที่อัลลอฮ์ทรงห้าม ถือว่าเลือดเนื้อของเขามีเกียรติ นอกจากเป็นไปตามการตัดสินตามบทบัญญัติของพระองค์ เช่น การกิศอศ และหลักว่าด้วยฮุดูด
  5. การตัดสัมพันธ์กับพ่อแม่[9]
  6. ลิดรอนสิทธิเด็กกำพร้า[10]
  7. การมดเท็จยังอัลลอฮ์ ศาสนทูตของพระองค์และบรรดาตัวแทนของพระองค์[11]
  8. นีสงคราม[12]
  9. ตัดญาติขาดมิตร[13]
  10. เล่นไสยศาสตร์[14]
  11. การผิดประเวณี[15]
  12. การเสพสังวาสทางทวารหนัก[16]
  13. การขโมย
  14. การใส่ร้ายสาวบริสุทธิ์ว่าผิดประเวณี
  15. การปกปิดการเป็นพยาน[17]
  16. การเป็นพยานเท็จ[18]
  17. การละเมิดสัญญา
  18. โกงพินัยกรรม
  19. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์[19]
  20. การกินดอกเบี้ย[20]
  21. ค่าตอบแทนจากสิ่งที่ฮะรอมและสินจ้างจากงานที่ฮะรอม
  22. การพนัน[21]
  23. การกินซากสัตว์ สุกร เลือด และสัตว์ที่ไม่ผ่านการเชือดด้วยพระนามของอัลลอฮ์ นอกจากในกรณีที่จำเป็นต้องกินเพื่อประทังชีวิต
  24. การอพยพและย้ายไปอยู่ในถิ่นที่ลำบากในการปฏิบัติศาสนกิจ
  25. การช่วยผู้อธรรมในการกดขี่ของเขา[22]
  26. การสนับสนุนให้ผู้อธรรมมีความเชื่อมั่น
  27. การกักสิทธิของผู้อื่น[23]
  28. สาบานเท็จ[24]
  29. ยะโส[25]
  30. สุรุ่ยสุร่าย[26]
  31. การทรยศ[27]
  32. นินทา[28]
  33. การใส่ร้าย
  34. หมกมุ่นกับความไร้สาระ
  35. การไม่ให้ความสำคัญกับการทำฮัจญ์[29]
  36. การไม่ทำนมาซ[30]
  37. การไม่จ่ายซะกาต[31]
  38. การทำบาปเล็กซ้ำแล้วซ้ำอีก[32]
  39. การสำเร็จความใคร่[33]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • หนังสือ ฆุนอฮอน กะบีเราะ ของ ซัยยิดอับดุลฮุเซน ดัสต์ฆีบ ชีรอซี สำนักพิมพ์ ญะฮอน เตะฮ์ราน เล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 6
  • หนังสื7.อฆุนอฮาน กะบีเราะฮ์ ของ ซัยยิดอับดุลฮุเซน ดัสต์ฆีบ ชีรอซี สำนักพิมพ์ ซอบา เตะฮ์ราน พิมพ์ครั้งที่ 2

อ้างอิง[แก้]

  1. گناهان کبیره، جلد۱، ص ۱۱
  2. گناهان کبیره، جلد۱، ص ۲۶
  3. گناهان کبیره، جلد۱، ص ۲۷
  4. گناهان کبیره، جلد۱، ص و ۲۷ و ۲۸
  5. گناهان کبیره، جلد۱، ص ۳۱
  6. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۶۸
  7. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۹۵
  8. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۳۰۲
  9. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۱۲۳
  10. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۱۷۳
  11. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۳۱۰
  12. گناهان کبیره، جلد۲، صفحهٔ ۳۱
  13. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۱۴۹
  14. گناهان کبیره، جلد۲، صفحهٔ ۷۴
  15. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۱۹۹
  16. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۲۲۲
  17. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۳۵۲
  18. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۳۴۵
  19. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۲۴۷
  20. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۱۸۴
  21. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۲۷۱
  22. گناهان کبیره، جلد۲، صفحهٔ ۴۳
  23. گناهان کبیره، جلد۲، صفحهٔ ۱۶
  24. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۳۳۲
  25. گناهان کبیره، جلد۲، صفحهٔ ۱۱۱
  26. گناهان کبیره، جلد۲، صفحهٔ ۹۳
  27. گناهان کبیره، جلد۱، صفحهٔ ۳۷۹
  28. گناهان کبیره، جلد۲، صفحهٔ ۲۳۹
  29. گناهان کبیره، جلد۲، صفحهٔ ۱۹۸
  30. گناهان کبیره، جلد۲، صفحهٔ ۱۶۳
  31. گناهان کبیره، جلد۲، صفحهٔ ۱۷۹
  32. گناهان کبیره، جلد۲، صفحهٔ ۲۲۶
  33. گناهان کبیره، جلد۲، صفحهٔ ۲۹۱