บาบีเกอจัป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บาบีเกอจัป
บาบีเกอจัป หรือเนื้อหมูตุ๋นในซีอิ๊วหวานของชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีน
มื้อจานหลัก
แหล่งกำเนิด อินโดนีเซีย
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักเนื้อหมูและผักตุ๋นในเกอจัปมานิซ (ซีอิ๊วหวานอินโดนีเซีย) ปรุงรสด้วยกระเทียมและหอมแดง
รูปแบบอื่นเซอมูร์

บาบีเกอจัป (อินโดนีเซีย: babi kecap) เป็นอาหารอินโดนีเซียที่ประกอบด้วยเนื้อหมูตุ๋นในเกอจัปมานิซหรือซีอิ๊วหวาน[1][2] เป็นอาหารคลาสสิกในหมู่อาหารอินโดนีเซียแบบจีนเนื่องจากปรุงง่ายและเป็นที่นิยมในครอบครัวชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีน นอกจากนี้ยังได้รับความนิยมในกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศอินโดนีเซียที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามเช่นชาวบาหลี ชาวอัมบน ชาวบาตัก ชาวมีนาฮาซา ชาวไดยัก และชาวอินโด-ดัตช์ (Indo people) บาบีเกอจัปยังสามารถพบได้ในงานเลี้ยงไรส์ตาเฟิล (rijsttafel) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ด้วย[3]

เชื่อกันว่าบาบีเกอจัปมีที่มาจากอาหารทางภาคใต้ของจีนที่ประกอบด้วยเนื้อหมูตุ๋นในซีอิ๊ว ซึ่งในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า "บาบีเตาโจ" (babi taotjo)[4] แต่เนื่องจากในอดีตนั้น เตาโจหาได้ยาก จึงทำให้ชาวอินโดนีเซียใช้เกอจัปมานิซหรือซีอิ๊วหวานแทน อาหารนี้จึงมีลักษณะคล้ายอาหารอินโดนีเซียมากขึ้น บางครั้งก็ใช้ซอสพริกหวานแทนเกอจัปมานิซ[5]

บาบีเกอจัปยังนิยมรับประทานในเทศกาลกาลูงันและเญปีของชาวบาหลี[6]

ส่วนประกอบและการดัดแปลง[แก้]

บาบีเกอจัปเสิร์ฟเคียงกับผักและข้าว

ตำรับทั่วไปในครัวเรือนชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีนนั้นจะใช้หมูสามชั้นตุ๋นกับซีอิ๊วหวาน ปรุงรสด้วยกระเทียม หอมแดง หรือหอมใหญ่ และเกลือเล็กน้อย ในขณะที่ตำรับอื่น ๆ เช่นตามร้านอาหารจีนในไชนาทาวน์อินโดนีเซีย ในบาหลี หรือในเนเธอร์แลนด์อาจจะดัดแปลงโดยใส่ส่วนผสมอื่น ๆ เช่นตะไคร้ ขิง มะเขือเทศ กะปิ ใบซาลัม (คล้ายกับใบกระวาน) พริกไทยขาว และพริก เป็นต้น[6] ซีอิ๊วหวานนั้นอาจใช้ซีอิ๊วธรรมดาผสมน้ำตาลปี๊บหรือน้ำตาลแดงแทนได้ นอกจากนี้บางตำรับอาจจะใช้เนื้อส่วนอื่นหรือเครื่องในหมูแทน เช่นเซิงเกิลบาบีเกอจัป ซึ่งใช้กีบเท้าหมู หรือเซิกบาซึ่งเป็นสตูเครื่องในหมูประกอบด้วยตับ จมูก ลิ้น หู กระเพาะ ไส้ และเครื่องในอื่น ๆ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Shurtleff, W.; Aoyagi, A. (2014). History of Soybeans and Soyfoods in Korea, and in Korean Cookbooks, Restaurants, and Korean Work with Soyfoods outside Korea. Soyinfo Center. p. 514. ISBN 978-1-928914-66-2. สืบค้นเมื่อ September 28, 2016.
  2. Shurtleff, W.; Aoyagi, A. (2012). History of Soy Sauce (160 CE To 2012). Soyinfo Center. p. 1467. ISBN 978-1-928914-44-0. สืบค้นเมื่อ September 28, 2016.
  3. Monique (9 June 2013). "Indonesian Braised Pork with Sweet Soy Sauce (Babi Kecap)". My Little Chequered Kitchen. สืบค้นเมื่อ January 6, 2023.
  4. Oost-Indisch Kookboek|1896|Page 123|G. C. T. VAN DORP & Co.
  5. Kruger, V. (2014). Balinese Food: The Traditional Cuisine & Food Culture of Bali. Tuttle Publishing. p. 148. ISBN 978-1-4629-1423-4. สืบค้นเมื่อ September 28, 2016.
  6. 6.0 6.1 De Neefe, J. (2006). Fragrant Rice: My Continuing Love Affair with Bali [Includes 115 Recipes]. Periplus Editions (HK) Limited. p. 83. ISBN 978-0-7946-5028-5. สืบค้นเมื่อ September 28, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Babi kecap