ข้ามไปเนื้อหา

มาตรการรัดเข็มขัดในประเทศโรมาเนีย คริสต์ทศวรรษ 1980

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวโรมาเนียกำลังต่อแถวสำหรับน้ำมันประกอบอาหารในบูคาเรสต์ ภาพถ่ายในปี 1986

ในทศวรรษ 1980 ได้มีการประกาศใช้มาตรการรัดเข็มขัดในสาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนียโดยนีกอลาเอ ชาวูเชสกู เพื่อที่จะจ่ายหนี้ภายนอกที่รัฐก่อขึ้นในทศวรรษ 1970 มาตรการรัดเข็มขัดเริ่มขึ้นในปี 1981 และได้นำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจซบเซาซึ่งดำเนินเรื่อยมาตลอดทศวรรษ 1980 โดย "ช็อกเทอราพี ที่มีลักษณะเฉพาะตัว " ("sui generis shock therapy") นี้ได้ทำให้ความสามารถแข่งขันของเศรษฐกิจในโรมาเนียตกต่ำ และเป็นผลให้การส่งออกต้องลดลง[1]

ถึงแม้ว่ามาตรการจะช่วยจ่ายหนี้ต่างชาติให้ได้ แต่มาตรการนี้มีผลเสียต่อมาตรฐานการดำรงชีพของชาวโรมาเนีย นำไปสู่การขาดแคลนสินค้า[1] และท้ายที่สุดจบลงที่การประหารชีวิตของชาวูเชสกู และการล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนียผ่านการปฏิวัติโรมาเนียในเดือนธันวาคม 1989

ภูมิหลัง

[แก้]

ระหว่างปี 1950 ถึง 1975 เศรษฐกิจของโรมาเนียเติบโตเร็วที่สุดเป็นชาติหนึ่งของโลก[2] และในทศวรรษ 1960 ถึงต้นทศวรรษ 1970 นีกอลาเอ ชาวูเชสกู ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำยุโรปตะวันออกที่ "มีสติปัญญา" ("enlightened")[3] ด้วยนโยบายภายในประเทศของเขา เขาพยายามที่จะได้รับการสนับสนุนจากผู้คนมากในช่วยปลายทศวรรษ 1960 ผ่านการเพิ่มค่าแรง, การปฏิรูประบบบำนาญ และการกระตุ้นการบริโภคผ่านการลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค[4]

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตมากในทศวรรษ 1970 การเติบโตส่วนมากมาจากการลงทุนในอุตสาหกรรมหนัก (34.1% ของจีดีพีในแผนห้าปี 1971-1975) มากกว่าจะมาจากการบริโภค[2] บางอุตสาหกรรมเช่นปิโตรเคมี และ เหล็กกล้า มีความสามารถการผลิตสูงกว่าอุปสงค์ในตลาดท้องถิ่นและตลาดภายนอกที่มีอยู่ นำไปสู่ความสามารถใช้งานที่ไม่ถูกใช้เต็มที่ (underused capacities)[2] โดยภาพรวมแล้ว เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากทั้งจากหน่วยการผลิตที่มีผลผลิตมากแต่ไม่มีประสิทธิภาพ และการปลอมแปลงสถิติกับการกักตุนสินค้าที่ขายไม่ออก[2]

เศรษฐกิจของโรมาเนียมีความโน้มเอียงพิเศษให้กับธุรกิจขนาดใหญ่ โดย 87% ของแรงงานอุตสาหกรรม และ 85% ของอุปทาน เป็นของธุรกิจที่มีพนักงานมากกว่า 1000 คน ทำให้เกิดการขาดความยืดหยุ่นในเศรษฐกิจของประเทศ[1]

Daniel Dăianu ระบุว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีในยุคนี้ ถือเป็นการเติบโตอย่างยากไร้ (immiserizing growth) เนื่องจากการกลายเป็นอุตสาหกรรมและการเพิ่มการพึ่งพากับเศรษฐกิจแบบตลาดถูกเร่งให้เกิดเร็วขึ้น บนพื้นฐานโครงสร้างที่อ่อนแอ ผ่านการปฏิเสธกลไกของตลาด[5] การเจริญเติบโตแบบนี้ทำให้การส่งออกถูกจำกัดการเติบโต และเงินที่นำมาจ่ายการกู้ยืมมาจากส่วนต่างในการนำเข้า[5]

การกู้ยืมจากนานาชาติ

[แก้]

ในต้นทศวรรษ 1970 ประเทศในตะวันตกมีความประสงค์ที่จะสนบัสนุนเงินทุนให้กับโรมาเนียเพื่อซื้อและพัฒนาเทคโนโลยี บนพื้นฐานของการพิจารณาทางการเมือง[2] หนี้สินของโรมาเนียต่อเจ้าหนี้ตะวันตก เพิ่มขึ้นจาก 1,200 ล้านดอลลาร์ ในปี 1971 ไปสูงสุดที่ 13,000 ล้านดอลลาร์ในปี 1982[6] วิกฤตพลังงานทศวรรษ 1970 ประกอบกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลกในปี 1974 ทำให้โรมาเนียไม่สามารถจ่ายหนี้ได้[2]

ในปี 1981 โรมาเนียได้ขอวงเงินสินเชื่อจากไอเอ็มเอฟ[2] และประกาศใช้นโยบายทางเศรษฐกิจที่จะช่วยจ่ายหนี้สินของรัฐได้[7]

มาตรการรัดเข็มขัด

[แก้]

ชาวูเชสกูเริ่มต้นนโยาบายรัดเข็มขัดโดยไม่ได้ปฏิรูประบบแผนของโรมาเนียที่รวมศูนย์และไม่ยืดหยุ่น[2] ทรัพยากรพลังงานในประเทศถูกส่งตรงเข้าการผลิตสินค้าอย่างที่จะส่งออกไม่มีประสิทธิภาพ[2] แม้แต่สินค้าพื้นฐานต่อการดำรงชีพ เช่น อาหาร ความร้อน ไฟฟ้า และบริการทางการแพทย์ ถูกจัดสรรปันส่วน (rationed) และโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ก็ถูกทิ้งให้เสื่อมสลายไปตามเวลา[8] ในปี 1983 มาตรฐานการดำลงชีพของโรมาเนียลดลงถึง 19-40 เปอร์เซ็นต์ ตามจำนวนที่รายงานโดย IMF[9]

เงินเฟ้อและรายได้แท้จริงลดต่ำ

[แก้]

ในปี 1978 เป็นต้นมา รัฐบาลได้เริ่มการเพิ่มราคาสินค้าและบริการที่ก่อนหน้าคงที่มาตลอด การเพิ่มราคาสินค้าระลอกแรกเป็นของอาหาร บริการ ขนส่งมวลชน เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ไม้ และสินค้าจากไม้ ระลอกที่สองมาในปี 1979 สำหรับค่าพลังงาน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า[9] ตลอดปี 1982 ราคาของทุกอย่างได้ขึ้นสูงอีกครั้ง เดิมทีแผนนี้มีไปเพื่อเพิ่มราคาสินค้าพื้นฐานครั้งใหญ่ ครั้งเดียว แต่ต่อมาแผนที่ถูกนำมาใข้จริงกลับเป็นหารค่อน ๆ ขึ้นราคาสินค้าทุกชนิด ในปี 1982 ราคาสินค้าต่าง ๆ สูงขึ้นกว่า 35%[10] นอกจากนี้ยังมีการบังคับจำกัดการใช้พลังงาน ส่วนราคาค่าไฟฟ้าสูงขึ้น 30% และค่าก๊าซธรรมชาติสูงขึ้น 150%[10]

ในช่วงวันที่ 7/8 ตุลาคม 1982 คณะกรรมการกลางผ่านกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของแรงงายในกองทุนการลงทุนในรัฐวิสาหกิจ ที่ซึ่งแรงงานได้รับ "สิทธิ" (แต่ในทางปฏิบัติ เป็นการบังคับให้) ลงทุนเงินของตนเองในกองทุนนี้ เพื่อที่ในทางทฤษฎีจะได้เป็นเจ้าของร่สมของบริษัท แต่ในทางปฏิบัติหมายถึงการลดเงินเดือนของแรงงานลง[11] ในเดือนธันวาคม 1982 มีการประกาศใช้การปฏิรูปเงินเดือนระบบใหม่ ซึ่งให้บางส่วนของรายได้จะถูกจ่ายคืนแก่คนงาน ก็ต่อเมื่อบริษัทบรรลุเป้าหมายของตน แรกเริ่มอยู่ที่ 24% และต่อมาได้เพิ่มเป็น 27% อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง "เป้าหมาย" เหล่านี้มักไม่ค่อยบรรลุได้โดยบริษัท ในทางพฤตินัย ระบบนี้จึงเป็นการลเเงินเดือนแรงงานลงไปอีก[12]

รายได้แท้จริงของพลเมืองจึงเริ่มที่จะลดลงจากทั้งภาวะเงินเฟ้อ การขาดแคลนสินค้าบางชนิด และตลาดมืดซึ่งเฟื่องฟูจากการขายสินค้าในราคาที่สูงเกินกว่าราคาปกติของตลาด[13]

การตัดงบประมาณรัฐ

[แก้]

ในระหส่างปี 1980 ถึง 1985 มีการตัดงบประมาณที่รัฐใช้จ่ายในภาคส่วนที่อยู่อาศัย (37%), บริการสุขภาพและสาธารณสุข (17%) และการศึกษา วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ (53%) ตามข้อมูลที่เสนอกับ Comecon[13]

การลดงบประมาณสาธารณสุขยังนำไปสู่อัตราการเสียชีวิตของทารกที่เพิ่มขึ้นสูงที่สุดประเทศหนึ่งในยุโรป และความชุกของโรค AIDS ที่เพิ่มขึ้นสูง[14] ผ่านการติดต่อจากการใช้เข็มฉีดใต้ผิวหนังซ้ำในโรงพยาบาล

การประชุมงบประมาณกองทัพในปี 1986 มีขึ้นในวันที่ 23 พฤศจิกายน เพื่อลดขนาดกองทัพและลดงบประมาณค่าใช้จ่ายของกองทัพลง 5%[15]

การขาดแคลนอาหาร

[แก้]

ภาคกสิกรรมของโรมาเนียไม่ได้รับความสนใจ เนื่องจากรัฐโรมาเนียพุ้งเป้าไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรม ภาคกสิกรรมที่ไม่มีประสิทธิภาพในการผลิตของโรมาเนียมีการจ้างงานคิดเป็น 30% ของประเทศ[16] แต่ได้รับการลงทุนที่น้อยและขาดการบริหารที่ดี นอกจากนี้ ภาคกสิกรรมยังขาดแรงงานทางการเกษตรอย่างหนัก รัฐแก้ไขปัญหานี้ด้วยการส่งเด็กนักเรียนและนักศึกษาหลายล้านคนต่อปี (2.5 ล้านคน ในปี 1981, 2 ล้านคน ในปี 1982) ให้ไปทำการเก็บเกี่ยวหรือทำงานในไร่นา[16]

โรมาเนียเริ่มเผชิญกับภาวะขาดทรัพยากรอาหารอย่างหนัก และถึงแม้จะมีความพยายามของรัฐที่จะแก้ไขปัญหานี้ การขาดแคลนอาหารยังคงดำเนินไปตลอดทศวรรษ 1980[17] นับตั้งแต่ปี 1983 ไร่รวม (collective farms) และทาสแต่ละคน จะต้องส่งผลผลิตแก้รัฐ (การปฏิบัติเช่นนี้ถูกรัฐห้ามกระทำไปแล้วในปี 1956) และในการค้าขายสินค้าในตลาดเกษตรกรก็จะต้องเป็นไปภายใต้เพดานราคาที่ถูกบังคับใช้อย่างหนัก[6]

ในปี 1981 ได้เริ่มการใช้ระบบจัดสรรส่วน (rationing) สำหรับสินค้าอาหารพื้นฐาน ได้แก่ขนมปัง นม ไข่ น้ำมัน น้ำตาล และเนื้อสัตว์[9] ทุกที่ในประเทศ ยกเว้นเพียงเมืองหลวงบูคาเรสต์[18] นอกจากนี้ ชาวูเชสกูยังได้นำเอาโรงการ "กินอย่างเป็นสัดเป็นส่วน" (Rational Eating Programme) มาใช้ ซึ่งเป็น "แผนทางวิทยาศาสตร์" สำหรับการจำกัดการบริโภคแคลอรีสำหรับชาวโรมาเนีย โดยอ้างว่าชาวโรมาเนียบริโภคอาหารมากเกินไป โครงการนี้มีความพยายามที่จะลดการบริโภคแคลอรีลง 9-15 % หรือคือให้เหลือไม่เกิน 2,800-3,000 แคลอรีต่อวัน ในเดือนธันวาคม 1983 ได้มีการประการใช้โครงการจำกัดแคลอรีใหม่สำหรับปี 1984 ที่มีแคลอรีจำกัดต่อวันที่ลดลงไปอีก[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Dăianu, p. 393
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 Bacon, p. 374
  3. Roper, p.45
  4. Roper, p.47
  5. 5.0 5.1 Dăianu, p. 392
  6. 6.0 6.1 Georgescu, p. 270
  7. Debt Halved, Romania Says, The New York Times November 28, 1986
  8. Bacon, p. 374-375
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Georgescu, p. 260
  10. 10.0 10.1 Burakowski, p. 274
  11. Burakowski, p. 275
  12. Burakowski, p. 276
  13. 13.0 13.1 Georgescu, p. 271
  14. Roper, p. 56
  15. Rumänien, 23. November 1986 : Verkleinerung des Heeres, Senkung der Rüstungsausgaben um 5% Direct Democracy
  16. 16.0 16.1 Georgescu, p. 261
  17. Georgescu, p. 259
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ deletant248

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Henry F. Carey (ed.), Romania since 1989: Politics, Economics, and Society, Lexington Books, 2004, ISBN 9780739105924
    • Wally Bacon, "Economic Reform", p. 373-390
    • Daniel Dăianu, "Fiscal and Monetary Policies", p. 391-417
  • Vlad Georgescu, The Romanians: A History, Ohio State University Press, 1991, ISBN 0814205119
  • Stephen D. Roper, Romania: The Unfinished Revolution, Routledge, 2000, ISBN 978-90-5823-028-7
  • Dennis Deletant, Ceaușescu and the Securitate: Coercion and Dissent in Romania, 1965-1989, M.E. Sharpe, London, 1995, ISBN 1-56324-633-3.
  • Adam Burakovski (2011). Dictatura lui Nicolae Ceaușescu, 1965-1989 - Geniul Carpaților. Polirom. ISBN 978-973-46-1963-4.