ข้ามไปเนื้อหา

นันมาโตล

พิกัด: 6°50′31″N 158°19′56″E / 6.84194°N 158.33222°E / 6.84194; 158.33222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นันมาโตล
ชื่อในภาษาท้องถิ่น
Nan Madol
นันมาโตล
ที่ตั้งเกาะเจ็มเว็น ประเทศไมโครนีเชีย
พิกัด6°50′31″N 158°19′56″E / 6.84194°N 158.33222°E / 6.84194; 158.33222
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนนันมาโตล : ศูนย์กลางพิธีการแห่งไมโครนีเชียตะวันออก
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์(i), (iii), (iv), (vi)
ขึ้นเมื่อ2016 คณะกรรมการสมัยที่ 40
เลขอ้างอิง1503
ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
ขึ้นเมื่อ19 ธันวาคม 1974
เลขอ้างอิง74002226[1]
ขึ้นเมื่อ16 กันยายน 1985[2]
นันมาโตลตั้งอยู่ในประเทศไมโครนีเชีย
นันมาโตล
ตำแหน่งที่ตั้งนันมาโตลในประเทศไมโครนีเชีย
แผนที่นันมาโตล

นันมาโตล (โปนเปย์: Nan Madol) เป็นแหล่งโบราณคดีบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะโปนเปย์ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเขตมาโตเลนีม รัฐโปนเปย์ ประเทศไมโครนีเชีย ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก นันมาโตลเคยเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์เซาเตเลวูร์จนถึง ค.ศ. 1628[3][note 1] นครแห่งนี้สร้างในพื้นที่ลากูนประกอบด้วยชุดของเกาะเทียมที่เชื่อมด้วยเครือข่ายของคลอง[3] แกนกลางของแหล่งที่มีกำแพงหินล้อมรอบพื้นที่โดยประมาณยาว 1.5 กิโลเมตร และกว้าง 0.5 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีเกาะหินเทียมจำนวนเกือบ 100 เกาะ

นันมาโตลมีความหมายว่า "ภายในช่อง" ซึ่งอ้างถึงคลองที่ตัดสลับกันในพื้นที่[9] ในงานเขียน Pohnpei, An Island Argosy ของจีน แอชบี ระบุว่าแต่เดิมแล้วมีชื่อว่า โซวุนนันเล็ง (Soun Nan-leng - พืดหินแห่งสวรรค์)[10] ซากนครเป็นส่วนหนึ่งของปริศนาที่ยิ่งใหญ่ทางโบราณคดีในปัจจุบัน บางครั้งนครแห่งนี้ถูกเรียกว่า "แอตแลนติส" "สิ่งมหัศจรรย์ของโลกแห่งที่แปด" และ "เวนิสแห่งแปซิฟิก"[11]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

นันมาโตลเป็นศูนย์กลางทางพิธีการและการเมืองของราชวงศ์เซาเตเลวูร์ ซึ่งมีส่วนในการรวมประชากรประมาณ 25,000 คน บนเกาะโปนเปย์ไว้ด้วยกัน จนถึง ค.ศ. 1628[3] ตั้งอยู่ระหว่างเกาะหลักโปนเปย์กับเกาะเจ็มเว็น พื้นที่แห่งนี้พบกิจกรรมของมนุษย์มาตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 หรือ 2 กระทั่งถึงประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 8 หรือ 9 การก่อสร้างเกาะเล็กได้เริ่มต้นขึ้นด้วยงานสถาปัตยกรรมหินขนาดใหญ่ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1180–1200[12]

การพิสูจน์การก่อสร้างหินขนาดใหญ่ทำได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตามความเชื่อโปนเปย์อ้างว่าผู้สร้างแหล่งโบราณคดีเลลูบนเกาะโกชาเอ (ซึ่งใช้การก่อสร้างด้วยหินใหญ่เหมือนกัน) อพยพเข้ามาที่โปนเปย์ ซึ่งเขาใช้ทักษะและประสบการณ์ในการสร้างสิ่งที่น่าประทับใจยิ่งกว่าอย่างนันมาโตล ทว่าจากการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีระบุได้ว่านันมาโตลเก่าแก่กว่าเลลู ทำให้นันมาโตลน่าจะเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างเลลู[12]

ตามตำนานของโปนเปย์กล่าวว่าผู้วิเศษฝาแฝดชื่อว่าโอลิซีปาและโอโลโซปาจากกาเตาตะวันตกหรือกานัมไวโซ อันเป็นดินแดนในตำนาน พี่น้องคู่นี้เดินทางมาถึงด้วยเรือแคนูขนาดใหญ่เพื่อแสวงหาพื้นที่ในการสร้างแท่นบูชาเพื่อบูชาเทพนานีโซนซาป อันเป็นเทพแห่งเกษตรกรรม หลังจากการก่อสร้างที่ผิดพลาดหลายหลายครั้ง สองพี่น้องก็สามารถสร้างแท่นบูชาได้สำเร็จบริเวณห่างจากเกาะเจ็มเว็น ซึ่งพวกเข้าใช้ประกอบพิธีกรรม ตามตำนานพี่น้องยกหินขนาดใหญ่ให้ลอยด้วยความช่วยเหลือของมังกรบิน เมื่อโอลิซีปาเสียชีวิตด้วยโรคชรา โอโลโซปากลายเป็นผู้ปกครองเซาเตเลวูร์คนแรก โอโลโซปาได้แต่งงานกับหญิงท้องถิ่น และเป็นต้นตระกูลของอีก 12 รุ่นต่อมา นับเป็นผู้ปกครองเซาเตเลวูร์แห่งตระกูลติปวิลัป ("ยิ่งใหญ่")[note 2]

ผู้สถาปนาราชวงศ์ปกครองอย่างมีเมตตา แต่ผู้สืบทอดรุ่นหลังเริ่มเรียกร้องความต้องการจากประชาราษฎร์มากยิ่งขึ้น การปกครองสิ้นสุดลงเมื่อเกิดการรุกรานของอิโซเกเลเก็ล ซึ่งเป็นผู้อาศัยในนันมาโตลเช่นกัน นำไปสู่การละทิ้งพื้นที่ในที่สุด[7][13][14] John Stanislaw Kubary นักชาติพันธุ์วิทยาและนักสมุทรศาสตร์ชาวโปแลนด์เป็นบุคคลแรกที่ให้คำอธิบายโดยละเอียดของนันมาโตลใน ค.ศ. 1874[15]

วัตถุประสงค์และลักษณะเฉพาะ

[แก้]
รายละเอียดชิ้นส่วนของเสาหินบะซอลต์

ศูนย์กลางที่ดีที่สุดเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับการอยู่อาศัยของชนชั้นนำและกิจกรรมเกี่ยวกับความตายที่รับผิดชอบโดยนักบวช ประชากรในพื้นที่นี้มีอย่างมากที่สุดไม่เกิน 1,000 คนและอาจจะมีน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนั้นก็เป็นได้ แม้ว่าประชากรจำนวนมากจะมีสถานะเป็นหัวหน้า (chief) ประชากรส่วนมากกลับเป็นสามัญชน นันมาโตลจึงเป็นพื้นที่ที่ผู้นำเซาเตเลวูร์ใช้สำหรับจัดการและควบคุมคู่แข่งที่มีศักยภาพ ด้วยการให้พวกเขาอาศัยในนครแทนที่พื้นที่ของพวกเขา ซึ่งยากแก่การสังเกตพฤติกรรมของพวกเขา

พื้นที่ความตาย "มาโตลโปเว" ประกอบด้วยเกาะเล็ก 58 เกาะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนันมาโตล เกาะเล็กส่วนมากถูกครอบครองโดยนักบวช เกาะเล็กบางแห่งมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น การเตรียมอาหาร การก่อสร้างแคนูที่ตาปาว (Dapahu) และการเตรียมน้ำมันมะพร้าวที่เปย์เนริง (Peinering) กำแพงสูงตั้งล้อมรอบที่เก็บศพตั้งอยู่ที่เปยินกิเจ็ล (Peinkitel) การิยัน (Karian) และเลเม็นโกว์ (Lemenkou) แต่พื้นที่โดดเด่นที่สุดคือที่เก็บพระศพหลวงบนเกาะเล็กนันเตาวัส ซึ่งมีกำแพงสูงประมาณ 5.5–7.5 เมตรล้อมรอบที่เก็บศพกลางภายในลานหลัก ซึ่งสร้างสำหรับเซาเตเลวูร์พระองค์แรก[12]

นันมาโตลไม่มีน้ำจืดและอาหาร โดยต้องมีการเก็บกักน้ำและเพาะปลูกพืชบนพื้นแผ่นดิน ในช่วงการปกครองของเซาเตเลวูร์ ชาวโปนเปย์จะนำน้ำและอาหารเข้ามาโดยเรือ[4][6][16] เซาเตเลวูร์จะรับการถวายอาหารที่เกาะเล็กที่เจาะจงไว้ ในระยะแรกที่เปย์นิโยตและต่อมาขยับเข้ามาใกล้ขึ้นที่อูเซ็นนัม[6][7]

ประมาณ ค.ศ. 1628 เมื่ออิโซเกเลเก็ลโค่นล้มเซาเตเลวูร์และเริ่มสมัยนาน-มวาร์กิส (Nahnmwarkis) ชนชั้นนำนาน-มวาร์กิส เข้ามาอาศัยอยู่ในนันมาโตล แต่จำเป็นต้องรวบรวมน้ำและอาหารด้วยตัวพวกเขาเอง ทำให้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่พวกเขาตัดสินใจละทิ้งนันมาโตลในที่สุด และกลับไปอาศัยในเขตของตน อย่างไรก็ตามยังมีคำอธิบายอื่นกล่าวถึงการละทิ้งพื้นที่ หนึ่งในนั้นคือการลดลงของประชากรอย่างรวดเร็ว

โบราณคดี

[แก้]

ปัจจุบันนันมาโตลเป็นเขตโบราณคดีครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 18 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสถาปัตยกรรมหินที่สร้างขึ้นเหนือแนวปะการังตามชายฝั่งของเกาะเจ็มเว็น เกาะเล็กเทียมอื่น ๆ และบริเวณใกล้เคียงกับชายฝั่งเกาะหลักโปนเปย์ จากบริเวณแกนกลางนันมาโตลมีระยะทางโดยรอบ 1.5 × 0.5 กิโลเมตร อันประกอบด้วยเกาะเล็กเทียมเกือบ 100 เกาะและพื้นที่ยกสูง

การหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีระบุได้ว่าการก่อสร้างหินขนาดใหญ่ที่นันมาโตลเริมขึ้นประมาณ ค.ศ. 1180 เมื่อมีการนำหินบะซอลต์ขนาดใหญ่จากปลักภูเขาไฟที่ด้านตรงกันข้ามของโปนเปย์ การอยู่อาศัยในระยะแรกบนโปนเปย์น่าจะเริ่มประมาณ ค.ศ. 1 แม้ว่าการหาอายุจากคาร์บอนจะระบุว่ากิจกรรมของมนุษย์น่าจะเริ่มต้นขึ้นประมาณ ค.ศ. 80–200[12]

เมื่อ ค.ศ. 1985 ซากปรักหักพังที่นันมาโตลได้รับการประกาศให้เป็นสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ ขณะนีกำลังมีความพยายามครั้งใหญ่ในการอนุรักษ์นันมาโตล

ทฤษฎีทวีปที่สาบสูญ

[แก้]

บางคนตีความว่านันมาโตลเป็นส่วนหนึ่งของทวีปที่สาบสูญ เช่น ทวีปมูและทวีปเลมูเรีย นันมาโตลเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เจมส์ เชิร์ชเวิร์ด ระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของทวีปที่สาบสูญมูในหนังสือ The Lost Continent of Mu Motherland of Man เมื่อ ค.ศ. 1926

บิล เอส. บอลลิงเกอร์ ผู้เขียนหนังสือ Lost City of Stones (ค.ศ. 1978) ตั้งทฤษฎีว่านครถูกสร้างโดยนักเดินเรือชาวกรีกเมื่อ 300 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนเดวิด แฮตเชอร์ ชิลเดส คาดว่านันมาโตลเป็นส่วนหนึ่งของทวีปที่สาบสูญเลมูเรีย[17] ในหนังสือ The Coming Global Superstorm เมื่อ ค.ศ. 1999 เขียนโดยอาร์ต เบลล์และวิตลีย์ สตรีเบอร์ ซึ่งทำนายว่าภาวะโลกร้อนอาจสร้างผลกระทบทางภูมิอากาศที่ฉับพลันและหายนะ อ้างว่าการก่อสร้างนันมาโตลด้วยหินบะซอลต์ที่หนักและคงทน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีระดับสูง เมื่อไม่มีหลักฐานสมัยใหม่ว่ามีสังคมเช่นนั้นอยู่ ดังนั้นสังคมแห่งนี้อาจถูกทำลายด้วยกระบวนการที่รวดเร็วก็ได้

วัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]

วรรณกรรม

[แก้]

เพลง

[แก้]

วิดีโอเกม

[แก้]
  • นันมาโตลปรากฏในฐานะนครรัฐวัฒนธรรมในเกมซิวิไลเซชัน VI โบนัสเฉพาะของนันมาโตลคือหากผู้เล่นมีอำนาจเหนือนันมาโตลจะได้รับค่าวัฒนธรรม +2 สำหรับเขตทั้งหมดที่ผู้เล่นสร้างบนหรือติดต่อกับชายฝั่ง หากผู้เล่นสามารถเกณฑ์ทหารของนันมาโตลได้ จะได้รับความสำเร็จ Army of Cthulhu

อ้างอิง

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. สมัยเซาเตเลวูร์กินเวลาประมาณ 500 ปี[4] แต่ในตำนานมักกล่าวว่าล่มสลายในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1500[5] อย่างไรก็ตามนักโบราณคดีระบุอายุไว้ที่ประมาณ ค.ศ. 1628[6][7][8]
  2. Hanlon (1988) จำนวนผู้ปกครองเซาเตเลวูร์มีประมาณแปดถึงสิบเจ็ดคน ทำให้ไม่สามารถรู้จำนวนที่แน่นอนได้[4]: 234 

อ้างอิง

[แก้]
  1. "National Register Information System". National Register of Historic Places. National Park Service. 2007-01-23.
  2. "Nan Madol". National Historic Landmark summary listing. National Park Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2011. สืบค้นเมื่อ 28 June 2007.
  3. 3.0 3.1 3.2 Nan Madol, Madolenihmw, Pohnpei เก็บถาวร 13 มิถุนายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน William Ayres, Department of Anthropology University Of Oregon, Accessed 26 September 2007
  4. 4.0 4.1 4.2 Hanlon, David L (1988). Upon a Stone Altar: A History of the Island of Pohnpei to 1890. Pacific Islands Monograph. Vol. 5. University of Hawaii Press. pp. 13–25. ISBN 0-8248-1124-0. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
  5. Cordy, Ross H (1993). The Lelu Stone Ruins (Kosrae, Micronesia): 1978-81 Historical and Archaeological Research. Asian and Pacific Archaeology. Social Science Research Institute, University of Hawaii at Manoa. pp. 14, 254, 258. ISBN 0-8248-1134-8. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
  6. 6.0 6.1 6.2 Morgan, William N (1988). Prehistoric Architecture in Micronesia. University of Texas Press. pp. 60, 63, 76, 85. ISBN 0-292-76506-1. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
  7. 7.0 7.1 7.2 Panholzer, Tom; Rufino, Mauricio (2003). Place Names of Pohnpei Island: Including And (Ant) and Pakin Atolls. Bess Press. pp. xiii, 21, 22, 25, 38, 48, 56, 63, 71. 72, 74, 104. ISBN 1-57306-166-2. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
  8. Micronesica. University of Guam. 1990. pp. 92, 203, 277. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
  9. https://www.nps.gov/places/nan-madol.htm
  10. Ashby, Gene; 'Pohnpei, An Island Argosy'; Publisher: Rainy Day Pr West; Revised edition (June 1987); ISBN 978-0-931742-14-9
  11. "Venice of the Pacific: The race to save the mysterious Micronesian ruins of Nan Madol". ABC News. June 17, 2018. สืบค้นเมื่อ October 5, 2020.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 McCoy, Mark D.; Alderson, Helen A.; Hemi, Richard; Cheng, Hai; Edwards, R. Lawrence (November 2016). "Earliest direct evidence of monument building at the archaeological site of Nan Madol (Pohnpei, Micronesia) identified using 230Th/U coral dating and geochemical sourcing of megalithic architectural stone" (PDF). Quaternary Research. 86 (3): 295–303. doi:10.1016/j.yqres.2016.08.002. สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
  13. Riesenberg, Saul H (1968). The Native Polity of Ponape. Contributions to Anthropology. Vol. 10. Smithsonian Institution Press. pp. 38, 51. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
  14. Goodenough, Ward Hunt (2002). Under Heaven's Brow: Pre-Christian Religious Tradition in Chuuk. Memoirs of the American Philosophical Society. Vol. 246. American Philosophical Society. p. 293. ISBN 0-87169-246-5. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
  15. Rainbird, Paul (2004). The Archaeology of Micronesia. Cambridge University Press. p. 21. ISBN 978-0521651882. สืบค้นเมื่อ 31 October 2017.
  16. Ballinger, Bill Sanborn (1978). Lost City of Stone: The Story of Nan Madol, the "Atlantis" of the Pacific. Simon and Schuster. pp. 45–8. ISBN 0-671-24030-7. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
  17. Lost Cities of Ancient Lemuria & the Pacific, 1991, ISBN 0-932813-04-6

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Ayres, William S. Nan Madol, Pohnpei. SAA Bulletin. Vol. 10, Nov. 1992. Society for American Archaeology.
  • Ayres, William S. Pohnpei's Position in Eastern Micronesian Prehistory, Micronesica, Supplement 2: Proceedings, Indo Pacific Prehistory Association, Guam, 1990, pp. 187–212.
  • Ayres, William S. Mystery Islets of Micronesia. Archaeology Jan-Feb 1990, pp. 58–63.
  • Ratzel, Prof. Friedrich The History of Mankind Book II, London 1896. Races of the Pacific and their migrations pp.  159-60. Includes a drawing entitled `Sepulchral monument in Ponapé, Caroline Islands. (From a photograph in the Godeffroy Album.)'

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]