ข้ามไปเนื้อหา

เกาะเทียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เกาะเทียม เป็นเกาะที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ได้เกิดเองตามธรรมชาติ มีขนาดตั้งแต่เกาะเล็กที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับเสาของอาคารเสาเดียว ไปจนถึงเกาะขนาดใหญ่ที่รองรับชุมชนหรือนครได้ เกาะเทียมยุคแรก ๆ เป็นโครงสร้างลอยน้ำในน้ำนิ่ง หรือโครงสร้างไม้หรือหินที่ตั้งขึ้นในน้ำตื้น

ในสมัยใหม่ เกาะเทียมปกติสร้างขึ้นจากการแปรสภาพที่ดิน (land reclamation) แต่บางส่วนก็เกิดจากการแยกจากแผ่นดินที่มีอยู่แล้วเมื่อเกิดการสร้างคลอง หรืออุทกภัยหุบเขาทำให้ยอดของเขาเตี้ย ๆ ถูกคั่นด้วยน้ำ เกาะเทียมใหญ่สุดอันดับต้น ๆ ของโลก เกาะ René-Levasseur[1][2] เกิดจากน้ำท่วมจากอ่างเก็บน้ำที่อยู่ติดกันสองแห่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "René-Levasseur: The World's Second Largest Island in a Lake?". GeoCurrents (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-08-29.
  2. "ESA satellite images Manicouagan Crater". UPI (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-08-29.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]