ชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม
ชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม Communauté française de Belgique | |
---|---|
![]() ที่ตั้งของชุมชนฯในเบลเยียมและยุโรป | |
![]() บริเวณสีแดงคือส่วนของชุมชนฯทั้งหมด ยกเว้นเขตเมืองหลวง(ทวิภาษา) | |
ประเทศ | ![]() |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1980 |
เมืองหลวง | บรัสเซลส์ |
การปกครอง | |
• ประธาน | รูดี เดอมอตต์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 16,151 ตร.กม. (6,236 ตร.ไมล์) |
ประชากร (ค.ศ. 2007) | |
• ทั้งหมด | 4,226,744 คน |
• ความหนาแน่น | 262 คน/ตร.กม. (680 คน/ตร.ไมล์) |
วันเฉลิมฉลอง | 27 กันยายน |
ภาษาราชการ | ฝรั่งเศส |
เว็บไซต์ | cfwb.be |
ธงวัลลูนได้ถูกเลือกให้เป็นธงสัญลักษณ์ประจำชุมชนฝรั่งเศสฯ ในปีค.ศ. 1975 และต่อมาภายหลังในปีค.ศ. 1998 ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของเขตวัลลูนอีกแห่งหนึ่ง[1][2] |
ชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม หรือ ชุมชนฝรั่งเศสฯ (ฝรั่งเศส: Communauté française de Belgique, ดัตช์: Franse Gemeenschap) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการได้ว่า "สหพันธ์วาโลเนีย-บรัสเซลส์" (ฝรั่งเศส: Fédération Wallonie-Bruxelles, อังกฤษ: Wallonia-Brussels Federation) เป็นหนึ่งในสามชุมชนอย่างเป็นทางการของเบลเยียม ร่วมกับชุมชนฟลามส์และชุมชนผู้พูดภาษาเยอรมันแห่งเบลเยียม ชุมชนฝรั่งเศสนั้นดูแลชาวเบลเยียมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหลัก ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าเป็นชุมชุนผู้พูดภาษาฝรั่งเศส โดยมีสภาและรัฐบาลปกครองเป็นของตนเอง โดยสภาของชุมชนฝรั่งเศสประกอบด้วยสมาชิกจากสภาวัลลูนและสภาของเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์
ธงสัญลักษณ์ของชุมชนฝรั่งเศสฯนั้นใช้ธงสัญลักษณ์ของเขตวัลลูน ที่ซึ่งกว่าร้อยละ 80 ของประชากรนั้นใช้ภาษาฝรั่งเศสในการดำรงชีพ โดยมีเมืองหลวงของชุมชนอยู่ที่ นครบรัสเซลส์
ความสำคัญ[แก้]
ชุมชนฝรั่งเศสฯ นั้นรวมถึงประชากรชาวเบลเยียมกว่า 4.3 ล้านคน ซึ่ง;
- 3.4 ล้านคน (80%) อาศัยอยู่ในเขตวัลลูน (เกือบเป็นสัดส่วนทั้งหมดของประชากรในเขตวัลลูน ยกเว้นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตคอมมูนที่ใช้ภาษาเยอรมันซึ่งมีประมาณ 70,000 คน)
- 0.9 ล้านคน[3] (20%) อาศัยอยู่ในกรุงบรัสเซลส์ (จากประชากรรวมทั้งหมดในเขตกว่า 1.1 ล้านคน)
ส่วนประชากรที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักซึ่งมีพำนักอยู่ในเขตฟลามส์นั้นไม่จะถูกนับรวมในชุมชนฝรั่งเศส ซึ่งจำนวนดังกล่าวนั้นไม่สามารถยืนยันได้อย่างถูกต้องถึงจำนวนผู้ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสทั้หมด โดยมีการประมาณการคร่าวๆ ว่ามีถึง 120,000 คน[4] บางแห่งประมาณการว่า 200,000 คน[5] จนถึง 300,000 คน[6]
ชุมชนฝรั่งเศสฯ นั้นคิดเป็นประชากรทั้งหมดถึง 41% ของประชากรเบลเยียม ส่วนที่เหลือ 58% นั้นอยู่ในชุมชนฟลามส์ และ 1% ในชุมชนผู้พูดภาษาเยอรมัน
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Le Drapeau - Communauté française de Belgique
- ↑ Décret déterminant le jour de fête et les emblèmes propres à la Communauté française de Belgique (D. 03-07-1991, M.B. 15-11-1991)
- ↑ Xavier Deniau, La francophonie, Presses universitaires de France, 1995, page 27
- ↑ Frédéric Lasserre, Aline Lechaume, Le territoire pensé: géographie des représentations territoriales, Presses de l'Université du Québec, 2005, page 104
- ↑ Catherine Lanneau, L'inconnue française : la France et les Belges francophones, 1944-1945, Peter Lang Verlagsgruppe, collection : Enjeux internationaux, 2008, page 25
- ↑ L'année francophone internationale, volume 15, Groupe d'études et de recherches sur la francophonie, Université Laval, 2005, page 25
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|