นกเงือกดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกเงือกดิน
นกเงือกดินเหนือ (Bucorvus abyssinicus) ชนิดต้นแบบของวงศ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Bucerotiformes
วงศ์: Bucerotidae
วงศ์ย่อย: Bucorvinae
สกุล: Bucorvus
Lesson, 1830
ชนิด

นกเงือกดิน (อังกฤษ: ground hornbills) เป็นนกเงือกในวงศ์ Bucorvidae และมีสกุลเดียวคือ Bucorvus เป็นนกเงือกที่ใช้ชีวิตบนพื้นดินเป็นหลัก พบในทวีปแอฟริกา ในภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา ตั้งแต่ภาคตะวันออกของเซเนกัล ถึงเอธิโอเปีย และตอนใต้และตอนตะวันออกของทวีปแอฟริกา

ลักษณะ[แก้]

เป็นนกเงือกที่มีขนาดใหญ่ ตัวขนาดเท่าไก่งวง มีนิ้วตีนสั้นทู่จึงไม่เหมาะแก่การใช้ชีวิตหรือหากินบนต้นไม้ หากินและใช้ชีวิตบนพื้นดินเป็นหลัก มีจะงอยปากใหญ่ ขาค่อนข้างยาวกว่านกเงือกจำพวกอื่น รวมถึงมีอายุขัยโดยเฉลี่ยสูงกว่านกชนิดอื่นด้วย ลำตัวสีดำ มีถุงใต้คอสีแดงหรือสีฟ้าเป็นจุดเด่น

กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก เช่น แมลง, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แม้กระทั่งนกขนาดเล็ก รวมถึงบางครั้งอาจจับกระต่ายหรือเต่าบกขนาดเล็กเป็นอาหารได้ด้วย กินพืชเช่น เมล็ดพืชต่าง ๆ บ้างเป็นครั้งคราว[1][2][3]

อนุกรมวิธาน[แก้]

สกุลนกเงือกดิน (Bucorvus) ได้รับการขึ้นทะเบียนแต่เดิมเป็นสกุลย่อย โดยเรอเน เลซง (René Lesson) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสในปี 1830 โดยมีนกเงือกดินเหนือ (Bucorvus abyssinicus) เป็นชนิดต้นแบบ[4][5] ชื่อสามัญ (ชื่อสกุล Bucorvus) ของนกเงือกดิน ดัดแปลงมาจากชื่อสกุล Buceros ที่กาโรลุส ลินเนียส นำมาใช้ในปี 1758 สำหรับสกุลนกเงือกเอเชียขนาดใหญ่ รวมกับ corvus ซึ่งเป็นคำภาษาละตินหมายถึง "นกกา"

การศึกษาสายวิวัฒนาการระดับโมเลกุลที่ตีพิมพ์ในปี 2013 พบว่าสกุล Bucorvus เป็นญาติของนกเงือกที่เหลือในอีกวงศ์หนึ่งคือ Bucerotidae[6] สกุลนกเงือกดิน (Bucorvus) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด[7]

ภาพ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ แหล่งกระจายพันธุ์
Bucorvus abyssinicus นกเงือกดินเหนือ หรือ นกเงือกดินอะบิสซิเนีย

(Abyssinian ground hornbill หรือ northern ground hornbill)

ทางใต้ของมอริเตเนีย เซเนกัล และกินี ทางตะวันออกสู่เอริเทรีย เอธิโอเปีย โซมาเลียตะวันตกเฉียงเหนือ เคนยาตะวันตกเฉียงเหนือ และยูกันดา
Bucorvus leadbeateri นกเงือกดินใต้ ทางเหนือของนามิเบียและแองโกลา ทางเหนือของแอฟริกาใต้ และทางใต้ของซิมบับเว ถึง บุรุนดีและเคนยา

และที่สูญพันธุ์ไปแล้ว คือ Bucorvus brailloni พบเป็นฟอสซิลที่โมรอกโก ในยุคไมโอซีนตอนกลาง นับเป็นนกเงือกดินที่พบกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนเหนือของทวีปมากที่สุด[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wasser, D. E. and Sherman, P.W.; “Avian longevities and their interpretation under evolutionary theories of senescence” in Journal of Zoology 2 November 2009
  2. Skutch; Alexander Frank (author) and Gardner, Dana (illustrator) Helpers at birds' nests : a worldwide survey of cooperative breeding and related behavior pp. 69-71. Published 1987 by University of Iowa Press. ISBN 0877451508
  3. Kinnaird Margaret F. and O‘Brien< Timothy G.; The Ecology and Conservation of Asian Hornbills: Farmers of the Forest; pp. 20-23. ISBN 0226437124.
  4. Lesson, René (1830). Traité d'Ornithologie, ou Tableau Méthodique (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. 1. Paris: F.G. Levrault. p. 256 (livre 4).
  5. Peters, James Lee, บ.ก. (1945). Check-list of Birds of the World. Vol. 5. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. p. 272.
  6. Jobling, James A. (2010). The Helm Dictionary of Scientific Bird Names. London: Christopher Helm. p. 80. ISBN 978-1-4081-2501-4.
  7. Gonzalez, J.-C.T.; Sheldon, B.C.; Collar, N.J.; Tobias, J.A. (2013). "A comprehensive molecular phylogeny for the hornbills (Aves: Bucerotidae)". Molecular Phylogenetics and Evolution. 67 (2): 468–483. doi:10.1016/j.ympev.2013.02.012. PMID 23438388.
  8. Feduccia, Alan (1999). The Origin and Evolution of Birds. Yale University Press. p. 329. ISBN 0300078617.
  9. Kinnaird, Margaret F; O'brein, Timothy G (2008). The Ecology and Conservation of Asian Hornbills: Farmers of the Forest. University of Chicago Press;. p. 19. ISBN 0226437124.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]