นกกระจอกเทศเอเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นกกระจอกเทศเอเชีย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 3.6–0.008Ma
Early Pliocene to Early Holocene
โครงกระดูกของนกกระจอกเทศเอเชีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
ชั้นฐาน: Palaeognathae
อันดับ: Struthioniformes
วงศ์: Struthionidae
สกุล: Struthio
Milne-Edwards, 1871[1]
สปีชีส์: Struthio asiaticus
ชื่อทวินาม
Struthio asiaticus
Milne-Edwards, 1871[1]
ชื่อพ้อง
  • Struthio indicus Bidwell, 1910
  • Struthio palaeindicus Falconer 1868 nomen nudum
  • Megaloscelornis sivalensis Lydekker 1879

นกกระจอกเทศเอเชีย (อังกฤษ: Asian ostrich หรือ Asiatic ostrich; ชื่อวิทยาศาสตร์: Struthio asiaticus) เป็นสปีชีส์หนึ่งที่สูญพันธุ์แล้วของนกกระจอกเทศ ซึ่งมีถิ่นอาศัยตั้งแต่โมร็อกโก, ตะวันออกกลางจนถึงจีน, และมองโกเลีย ซากดึกดำบรรพ์บ่งบอกว่านกชนิดนี้อยู่ในสมัยไพลโอซีนไปจนถึงช่วงต้นสมัยโฮโลซีน (3.6 MYA[2] - 8,000 cal yr BP[3]) ลูกปัดทำจากเปลือกไข่ที่เจอในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีในอินเดีย ซึ่งมีอายุมากกว่า 25,000 ปี พบว่ามีร่องรอยของดีเอ็นเอนกกระจอกเทศ และเมื่อวิเคราะห์ลำดับเบส พบว่านกสปีชีส์นี้จัดอยู่ในสกุล Struthio[4]

เปลือกไข่ของนกกระจอกเทศเอเชีย

นกกระจอกเทศเอเชียเคยมีอยู่อย่างแพร่หลายในเอเชีย นอกจากนี้ยังเคยอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของอนุทวีปอินเดียและทางใต้ของไซบีเรีย สำหรับในจีน เป็นที่ทราบว่านกกระจอกเทศเอเชียสูญพันธุ์ที่จุดสิ้นสุดหรือไม่นานนักหลังสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Sharpe, R. Bowdler (1899)
  2. Paleobiology Database (2012)
  3. "Ostrich Eggshell from the Far Eastern Steppe: Stable Isotopic Exploration of Range, Commodification, and Extirpation - ProQuest". www.proquest.com (ภาษาอังกฤษ). ProQuest 2456446032. สืบค้นเมื่อ 2020-11-24.
  4. Jain, Sonal; Rai, Niraj; Kumar, Giriraj; Pruthi, Parul Aggarwal; Thangaraj, Kumarasamy; Bajpai, Sunil; Pruthi, Vikas (2017). "Ancient DNA Reveals Late Pleistocene Existence of Ostriches in Indian Sub-Continent". PLOS ONE. 12 (3): e0164823. Bibcode:2017PLoSO..1264823J. doi:10.1371/journal.pone.0164823. PMC 5342186. PMID 28273082.

ผลงานที่อ้างถึง[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Paleobiology Database (2012). "Struthio asiaticus". Paleobiology Database. Paleobiology Database. สืบค้นเมื่อ 14 Jun 2012.
  • Routledge, Jennifer (2020). "Ostrich Eggshell from the Far Eastern Steppe: Stable Isotopic Exploration of Range, Commodification, and Extirpation". ProQuest Dissertations Publishing, 2020