ธงชาติโซมาลีแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธงชาติสาธารณรัฐโซาลีแลนด์
Flag of Somaliland.svg
การใช้ 111000 Reverse side is congruent with obverse side Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง 1:2
ประกาศใช้ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1996
ลักษณะ แถบสามสีแนวนอน ประกอบด้ายสีเขียว, ขาว และแดง กับชะฮาดะฮ์บนแถบสีเขียว และดาวดำ 5 แฉกบนแถบสีขาว
Flag of the President of Somaliland.svg
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ ธงของประมุขแห่งรัฐ Reverse side is congruent with obverse side Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง 1:2
ลักษณะ ธงแบบเดียวกัน เพียงเพิ่มตราแผ่นดินโซมาลีแลนด์สีเดียวที่มุมธง

ธงชาติโซมาลีแลนด์ ที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มใช้อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยการรับรองจากการลงประชามติในประเทศ หลังจากที่มีการตั้งรัฐบาลปกครองตนเองในดินแดนของประเทศโซมาเลียตั้งแต่ พ.ศ. 2534 โดยที่นานาประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ มิได้ให้การรับรองฐานะความเป็นประเทศของโซมาลิแลนด์[1][2]

ลักษณะของธงดังกล่าวเป็นธงแถบแนวนอนพื้นสีแดง-ขาว-เชียว โดยได้รับอิทธิพลจากสีกลุ่มพันธมิตรอาหรับ ที่แถบสีเขียวมีรูปอักษรที่เรียกว่า "ชาฮาดาห์" อย่างเดียวกับในธงชาติซาอุดิอาระเบีย

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโซมาลิแลนด์ ฉบับที่มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ระบุข้อความเกี่ยวกับธงชาติไว้ดังนี้:

มาตราที่ 7: ว่าด้วยธงชาติ ตราแผ่นดิน และเพลงชาติ
1. ธงชาติสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ประกอบด้วยแถบแนวนอนสามแถบความกว้างเท่ากัน แถบบนสุดเป็นพื้นสีเขียว กลางแถบมีอักษรอาหรับสีขาวจารึกข้อความ "ลา อิลาหะ อิลลัลลอหฺ มุฮัมมะดุร รอซูลุลลอหฺ" (أشهد أن لا إله إلاَّ الله و أشهد أن محمد رسول الله, "ข้าพเจ้านับถือว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากอัลลอหฺ และศาสดามุฮัมมัดคือ​ศาสนทูตแห่งอัลลอหฺ") แถบกลางเป็นพื้นสีขาว กลางแถบมีรูปดาวห้าแฉกสีดำ และแถบล่างสุดเป็นพื้นสีแดง

ความหมาย[แก้]

ระเบียบเกี่ยวกับธงชาติ[แก้]

รัฐบาลโซมาลีแลนด์ได้ตรากฎหมายเกี่ยวกับข้อปฏิบัติต่อธงชาติ โดยธงดังกล่าวนั้นจะต้องได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพและด้วยความระมัดระวัดอย่างยิ่ง เพราะในธงชาตินั้นได้บรรจุรูปอักษรชาฮาดาห์ ซึ่งมีนัยความหมายสำคัญอย่างยิ่งในศาสนาอิสลามไว้ด้วย

การลดธงครึ่งเสา[แก้]

การลดธงชาติโซมาลีแลนด์เพียงครึ่งเสาถือเป็นสิ่งที่ห้ามปฏิบัติ เนื่องจากในธงนั้นได้บรรจุรูปอักษรชาฮาดาห์ อันเป็นข้อความสรรเสริญพระเจ้าในศาสนาอิสลาม (อัลลอหฺ) ว่า "ข้าพเจ้านับถือว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากอัลลอหฺ และศาสดามุฮัมมัดคือ​ศาสนทูตแห่งอัลลอหฺ" การลดธงครึ่งเสานั้นจึงถือเป็นการปฏิบัติอย่างไม่เป็นอิสลามและถือว่าเป็นการแสดงความไม่เคารพต่อธงชาติ แม้ว่าจะมีกรณีที่ประธานาธิบดีหรือผู้นำระดับสูงในรัฐบาลโซมาลีแลนด์ถึงแก่กรรมก็ตาย ก็มิได้มีการลดธงครึ่งเสาแต่อย่างใด ดังเช่มเมื่อคราวที่นายมูฮัมหมัด หัจญี อิบราฮิม อีกัล (Muhammad Haji Ibrahim Egal) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ ถึงแก่กรรม ทางรัฐบาลได้จัดพิธีศพอย่างเป็นทางการให้แก่ผู้วายชนม์ และมีประชาชนชาวโซมาลีนับพันคนเข้าร่วมในพิธีศพ แต่ธงชาตินั้นคงชักอยู่บนยอดเสา ไม่ได้ลดลงครึ่งเสาตามธรรมเนียมสากล เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น หากผู้ใดกระทำการลดธงชาติครึ่งเสา จะถูกจำคุกหรือฟ้องร้องต่อศาลในฐานความผิดทางอาญาด้วย

กฎหมายในลักษณะดังกล่าวนี้มีการบังคับใช้ในประเทศซาอุดิอาระเบียเช่นกัน ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกัน

ธงลักษณะอื่นๆ[แก้]

ธงชาติโซมาลีแลนด์ในหลายแห่งมีการใช้แถบสีส้มแทนแถบสีแดง

แม้ว่าในมาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์จะระบุไว้อย่างชัดเจนว่าแถบแนวนอนล่างสุดของธงนั้นเป็นสีแดง แต่ในหลายแล่งของโซมาลีแลนด์กลับพบว่ามีธงที่ใช้แถบล่างสุดเป็นสีส้มแทน นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้ธงที่มีรูปดาวสีดำกลับหัวจากแบบธงของทางราชการอย่างกว้างขวางอีกด้วย

ธงบางแบบยังพบว่าที่แถบสีเขียวนั้น บางแบบก็ไม่มีรูปอักษรชาฮาดาห์ ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ว่าทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงข้อบังคับในการห้ามลดธงครึ่งเสา (แม้ว่าข้อสันนิษฐานดังกล่าวจะยังไม่ชัดเจนก็ตาม) บางแบบก็มีการใช้รูปอักษรชาฮาดาห์ที่ยาวตลอดทั้งแถบสีเขียว

ส่วนมากธงชาติโซมาลีแลนด์ที่พบจะใช้สัดส่วนกว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ซึ่งน่าจะเป็นสัดส่วนมาตรฐานของธงชาติโซมาลีแลนด์ แต่รูปธงทีมีการพบเห็นในอินเทอร์เน็ตนั้น มักแสดงธงเป็นสัดส่วนกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน[3]

ธงสมัยบริติชโซมาลีแลนด์[แก้]

พ.ศ. 2446 - 2493[แก้]

เมื่อสหราชอาณาจักรได้ผนวกและยึดครองดินแดนที่เรียกว่าโซมาลีแลนด์ในปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2446 ก็ได้มีการจัดตั้งการปกครองในรูปแบบรัฐในอารักขาในฐานะส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษ ทางการสหราชอาณาจักรได้กำหนดรูปแบบธงสำหรับดินแดนแห่งนี้ (ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า บริติชโซมาลีแลนด์) โดยธงดังกล่าวมีลักษณะทำนองเดียวกันกับดินแดนอื่นๆ ของสหราชอาณาจักร กล่าวคือ พื้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงิน มีรูปธงชาติสหราชอาณาจักรที่มุมธงบนด้านคันธง ส่วนบนพื้นธงนั้นมีตราประจำดินแดนในวงกลมสีขาวเป็นรูปกวางกูดู ซึ่งเป็นกวางจำพวกแอนติโลปที่พบในพื้นที่โซมาลีแลนด์ ธงดังกล่าวนี้ใช้ชักบนเรือและสถานที่ราชการของรัฐบาลบริติชโซมาลีแลนด์

พ.ศ. 2493 - 2503[แก้]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้เปลี่ยนแปลงแบบตราประจำรัฐในอารักขาบริติชโซมาลีแลนด์ ทำให้ดวงตราในธงของบริติชโซมาลีแลนด์ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ลักษณะของธงในช่วงเวลานี้ยังคงลักษณะของธงเรือรัฐบาลของสหราชอาณาจักรไว้เช่นเดิม แต่ดวงตราซึ่งเดิมเป็นรูปหัวกวางกูดูได้เปลี่ยนรูปตราอาร์มแทน

ตราอาร์มดังกล่าวนั้นเป็นรูปโล่แบ่งสามส่วน ช่องบนพื้นสีเหลืองเป็นรูปหอก 2 เล่มไขว้กันและโล่วงกลมแบบโซมาลี ช่องซ้ายล่างเป็นพื้นสีเขียว มีรูปยอดหอคอยแบบอิสลาม (มินาเรต - Minaret) สีขาว 1 หอ ช่องล่างขาวเป็นพื้นสีฟ้า ตอนบนเป็นรูปเรือโดว (Dhow) หรือเรือใบอาหรับซึ่งใช้ใบเรือรูปสามเหลี่ยม กางใบเต็มที่แล่นบนระลอกคลื่น ตอนล่างของพื้นสีฟ้าเป็นรูปสมอเรือสีทอง เหนือโล่ดังกล่าวเป็นเครื่องยอดรูปกวางกูดูหน้าตรงสวมราชมงกุฎ รองรับด้วยผ้าโพกสีเขียวสลับเหลือง

เมื่อดินแดนบริติซโซมาลีแลนด์ได้รับเอกราชในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2503 และรวมเข้ากับโซมาลีแลนด์ของอิตาลีเป็นประเทศโซมาเลียในวันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ธงดังกล่าวนี้จึงไม่มีการใช้อีกต่อไป

ธงในอดีต[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]