ข้ามไปเนื้อหา

ท่าเรือเบรุต

พิกัด: 33°54′10″N 35°31′30″E / 33.90278°N 35.52500°E / 33.90278; 35.52500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าเรือเบรุต
ท่าเรือเบรุตใน พ.ศ. 2546
ที่ตั้ง
ประเทศเลบานอน
ที่ตั้งเบรุต
Coordinates33°54′10″N 35°31′30″E / 33.90278°N 35.52500°E / 33.90278; 35.52500
UN/LOCODELBBEY[1]
รายละเอียด
เปิด1887
บริหารโดยGestion et Exploitation du Port de Beyrouth (GEPB)
เจ้าของรัฐบาลเลบานอน
ชนิดอ่าวประดิษฐ์
ขนาดอ่าว1.002 km2 (0.387 sq mi)
ขนาด1.2 km2 (0.46 sq mi)
จำนวนที่จอดเรือใช้งานได้16
พนักงาน639
ผู้จัดการทั่วไปBassem Al Qaisi
สถิติ
เรือขาเข้า2,395 (2552)
คาร์โกต่อปี (ตัน)5.8 ล้านตัน (2552)
ปริมาตรคอนเทนเนอร์ต่อปี1,229,081 TEU (2562)
การสัญจรของผู้โดยสาร6,699 (2552)
รายได้ต่อปี163,486,146 ดอลลาร์สหรัฐ (2552)
เว็บไซต์
www.portdebeyrouth.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
Beirut Container Terminal Consortium

ท่าเรือเบรุต (อาหรับ: مرفأ بيروت; ฝรั่งเศส: Port de Beyrouth) เป็นท่าเรือหลักของประเทศเลบานอน ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอ่าวเซนต์จอร์จบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตอนเหนือของกรุงเบรุต และอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเบรุต ที่นี่เป็นหนึ่งในท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดและมีการใช้งานมากที่สุดในเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก[2] ท่าเรือเบรุตและสนามบินเบรุต–เราะฟีก อัลฮะรีรี ถือเป็นทางเข้าหลักของเลบานอน

ในวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ได้เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ที่ท่าเรือเบรุตนี้ ซึ่งมีสาเหตุจากการจัดเก็บแอมโมเนียมไนเตรตที่ไม่เหมาะสม ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 221 คน บาดเจ็บมากกว่า 6,000 คน และไร้ที่อยู่อาศัย 300,000 คน[3] พื้นที่ส่วนใหญ่ของท่าเรือและสิ่งก่อสร้างถูกทำลาย[4] รวมถึงที่เก็บเมล็ดพืชสำรองส่วนใหญ่ของเบรุต[5] และความเสียหายทั่วเมืองหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6][7][8] ท่าเรือเบรุตจึงต้องปิดตัวลงเนื่องจากความเสียหายจากระเบิด โดยโกดังสินค้าจะถูกส่งไปยังท่าที่เล็กกว่าอย่างตริโปลีและไทร์[9] ก่อนเหตุระเบิด S&P Global ประมาณการว่าประมาณร้อยละ 60 ของการนำเข้าของเลบานอนมาจากท่าเรือนี้[10]

ข้อมูล

[แก้]

ท่าเรือนี้ดำเนินการและจัดการโดย Gestion et exploitation du port de Beyrouth (GEPB) (ภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "การท่าเรือแห่งเบรุต") ส่วนการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์นั้นเป็นการบริหารและดำเนินการโดย Beirut Private Terminal Consortium (BCTC)

นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมืองเลบานอนในปี 2533 ท่าเรือได้ผ่านโครงการปรับปรุงและขยายที่สำคัญด้วยการฟื้นฟูสถานที่ท่าเรือที่มีอยู่การก่อสร้างอาคารบริหารใหม่และการก่อสร้างท่าสำหรับรับ-ส่งตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นใหม่

ที่นี่ถือเป็นประตูสำคัญสำหรับการขนส่งสินค้าไปยังซีเรีย จอร์แดน อิรัก และรัฐอ่าวเปอร์เซียอื่น ๆ

ท่าเรือเบรุตได้รับเลือกให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งของบริษัทขนส่งคอนเทนเนอร์รายใหญ่อันดับสองและสามของโลก บริษัทขนส่งเมดิเตอร์เรเนียน (MSC) ของสวิตเซอร์แลนด์และ Compagnie Maritime d'Affrètement - Compagnie Générale Maritime (CMA-CGM) ที่ซึ่งสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคมูลค่า 12 ล้านเหรียญตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "UNLOCODE (LB) - LEBANON". service.unece.org. สืบค้นเมื่อ 24 April 2020.
  2. The Economy (Major Sectors of the Economy) เก็บถาวร 8 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Lebanese Embassy of the U.S.
  3. Cabinet declares state of emergency, port officials placed under house arrest เก็บถาวร 2020-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Daily Star (5 August 2020).
  4. Tomas Kristiansen, Lebanon's main port destroyed completely in Beirut explosion, Shipping Watch (5 August 2020).
  5. "After blast, Lebanon has less than a month's grain reserves". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 5 August 2020. สืบค้นเมื่อ 5 August 2020.
  6. Najjar, Ted Regencia, Linah Alsaafin, Farah. "Lebanon to place Beirut port officials under house arrest: Live". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 5 August 2020.
  7. Staff, The New Arab. "Years after civil war's end, half of Beirut damaged in catastrophic blast". alaraby (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2020.
  8. "Explosion at Port of Beirut damages grain silos, terminal: reports". S&P Global Platts. 4 August 2020. สืบค้นเมื่อ 5 August 2020.
  9. "Vessels diverted following devastating Beirut port explosion". Container Management (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 6 August 2020. สืบค้นเมื่อ 6 August 2020.
  10. Austin Ramzy, What We Know and Don't Know About the Beirut Explosions, New York Times (5 August 2020)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]