ทางด่วนเค็นโอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เค็งโอ Expressway sign
ทางด่วนเค็งโอ
C4 E66
圏央道
แผนที่
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว300 กิโลเมตร (190 ไมล์)
ประวัติเปิดให้บริการตั้งแต่ 1996
Component
highways
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 / ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 / ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 468
ทางแยกที่สำคัญ
ถนนวงแหวนรอบโตเกียว
ปลายทางทิศตะวันตก ทางเลี่ยงเมืองชินโชนัน
ที่ ชุมทางต่างระดับชิงาซากิ
ปลายทางทิศตะวันออก ทางด่วนทาเตยามะ
ที่ ชุมทางต่างระดับคิซาราซุ
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศญี่ปุ่น
เมืองสำคัญชิงาซากิ จ.คานางาวะ
อัตสึงิ จ.คานางาวะ
ซางามิฮาระ จ.คานางาวะ
ฮาจิโอจิ โตเกียว
โอเมะ โตเกียว
คาวาโงเอะ จ.ไซตามะ
สึกูบะ จ.อิบารากิ
นาริตะ จ.ชิบะ
อิจิฮาระ จ.ชิบะ
คิซาราซุ จ.ชิบะ
ระบบทางหลวง
ทางหลวงในประเทศญี่ปุ่น
ทางด่วนในประเทศญี่ปุ่น
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 467 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 469

ทางด่วนเค็งโอ (ญี่ปุ่น: 圏央道โรมาจิKen-Ō Dō) หรือ ทางด่วนระหว่างเมืองนครหลวง (ญี่ปุ่น: 首都圏中央連絡自動車道โรมาจิShuto-ken Chūō Renraku Jidōsha-dō)[1] เป็นทางด่วนที่เก็บค่าผ่านทางระบบตั๋ว เป็นเจ้าของและดำเนินการโดยบริษัททางด่วนญี่ปุ่นกลางและบริษัททางด่วนญี่ปุ่นตะวันออก หากนับรวมกับทางด่วนอะควาไลน์อ่าวโตเกียว และทางด่วนชูโต สายเลียบอ่าว ทางด่วนสายนี้จะเป็นถนนวงแหวนรอบนอกโตเกียวเต็มวง ทางด่วนเค็งโอได้รับการกำหนดให้เป็น ทางหลวงหมายเลข 468 และ C4 ภายใต้ "ข้อเสนอการกำหนดหมายเลขทางด่วน ค.ศ. 2016"[2]

ส่วนของทางด่วนที่เป็นของบริษัททางด่วนญี่ปุ่นกลางนั้นเริ่มต้นจากปลายทิศตะวันออกของทางเลี่ยงเมืองชินโชนัน วิ่งไปทางตะวันตกไปตามทางเลี่ยงเมือง และขึ้นไปทางทิศเหนือสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับอากิรูโนะ ส่วนที่เหลือของทางด่วนเป็นของบริษัททางด่วนญี่ปุ่นตะวันออก

รายละเอียดของเส้นทาง[แก้]

ทางด่วนเค็งโอและทางด่วนชูโอตัดกันที่ชุมทางต่างระดับฮาชิโอจิ

ทางด่วนเริ่มต้นที่ปลายด้านตะวันตกของทางเลี่ยงเมืองฟูจิซาวะ (ส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 1) ในฟูจิซาวะ จังหวัดคานางาวะ โดยจากจุดนี้ทางด่วนจะซ้อนทับกับทางเลี่ยงเมืองชินโชนัน ซึ่งต่อมาจะแยกออกจากทางด่วนเค็งโอไปทางทิศใต้มุ่งหน้าไปยังชิงาซากิ

จากนั้นทางด่วนเค็งโอจะมุ่งหน้าไปทางเหนือตัดข้ามทางด่วนโทเมและทางด่วนชูโอ ต่อขึ้นไปทางเหนือและเลี้ยวไปทางตะวันออก ตัดกับทางด่วนคังเอ็ตสึ ทางด่วนโทโฮกุ และทางด่วนโจบัง จากนั้นเลี้ยวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สิ้นสุดที่ทางด่วนฮิงาชิคันโต ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของสนามบินนาริตะ ต่อจากนี้เป็นช่วงที่ขาดหายไปซึ่งมีแผนที่จะก่อสร้างในอนาคต และเริ่มต้นอีกครั้งที่ถนนโชชุเร็นรากุในโทงาเนะ ผ่านทางแยกต่างระดับที่ปลายด้านตะวันออกของถนนชิบะ-โทงาเนะ จากนั้นทางด่วนเค็งโอวิ่งต่อไปทางทิศใต้เลี้ยวไปทางตะวันตก และไปสิ้นสุดที่ชุมทางต่างระดับของทางด่วนอะควาไลน์อ่าวโตเกียวกับทางด่วนทาเตยามะ

ประวัติ[แก้]

ทางด่วนเค็งโอเชื่อมต่อกับทางด่วนชินโทเมเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2018[3]

ทางแยกต่างระดับอัจฉริยะ (smart interchange) ในโออามิชิราซาโตะ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2019[4]

โครงการในอนาคต[แก้]

บางส่วนของทางด่วนโยโกฮามะ-โยโกซุกะ, ทางเลี่ยงเมืองชินโชนัน และถนนชิบะ-โทงาเนะ และโครงการทางด่วนวงแหวนโยโกฮามะ จะถูกรวมเข้ากับทางด่วนเค็งโอในอนาคต[5] ในจังหวัดชิบะ ช่วงที่ขาดหายไประยะทาง 18 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการเวนคืนที่ดิน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2024[6]

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ[แก้]

นอกเหนือจากทางหลวงญี่ปุ่นหมายเลข 16 แล้ว ทางด่วนเค็งโอจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อเขตมหานครเทคโนโลยีขั้นสูง (Technology Advanced Metropolitan Area หรือ TAMA) ซึ่งเป็นภูมิภาคอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่ 3,000 ตารางกิโลเมตร มีทั้งหมด 74 เทศบาล และเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนกว่า 10 ล้านคน ในปี 1998 สินค้าที่จัดส่งจากเขต TAMA มีมูลค่าการจัดส่งเป็นสองเท่าของซิลิคอนแวลลีย์[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-14. สืบค้นเมื่อ 2014-11-23.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. "Japan's Expressway Numbering System". www.mlit.go.jp.
  3. "Information on sections to be opened". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-23. สืบค้นเมื่อ 2020-02-15.
  4. "首都圏中央連絡自動車道『大網白里スマートインターチェンジ』 が平成31年3月24日(日)15時に開通します" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). 12 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-12. สืบค้นเมื่อ 23 June 2019.
  5. http://www.e-nexco.co.jp/pressroom/press_release/kanto/h27/0424/pdfs/pdf.pdf
  6. https://www.nikkei.com/article/DGXMZO2412181030112017EE8000/
  7. Chandra, Pankaj. "Networks of Small Producers for Technological Innovations: Some Models" (PDF). IIM Ahmedabad Working Paper No. 2006-03-02, March 2006. IIM Ahmedabad. สืบค้นเมื่อ 10 March 2012.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]