ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทะเลสาบภูเขาไฟ)
"Crater Lake" ในรัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา ตั้งชื่อตามศัพท์ทางธรณี
ภาพถ่ายทะเลสาบโทบาจากดาวเทียม Landsat เป็นทะเลสาบแคลดีราที่ใหญ่ที่สุดในโลก
Heaven Lake (Chonji / Tianchi), เกาหลีเหนือ / จีน
Cuicocha, เอกวาดอร์
Mount Katmai, อลาสกา, สหรัฐอเมริกา
ทะเลสาบในปล่อง Mount Wenchi, เอธิโอเปีย
Nemrut, ตุรกี
Volcán Irazú, คอสตาริกา

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ (อังกฤษ: Crater lake) เป็นทะเลสาบที่เกิดขึ้นภายในปล่องภูเขาไฟ อย่างเช่น Maar หรือแคลดีรา บางครั้งอาจเรียกว่า ทะเลสาบแคลดีรา แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่เรียกเช่นนั้น ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่อยู่ในปล่องของภูเขาไฟมีพลังอาจเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Volcanic lakes และน้ำในทะเลสาบลักษณะนี้มักจะมีสภาพเป็นกรด เต็มไปด้วยแก๊สภูเขาไฟ และมีสีเขียวเข้ม ขณะที่ทะเลสาบที่ตั้งอยู่ในปล่องภูเขาไฟสงบหรือภูเขาไฟดับสนิทมักจะมีน้ำที่ใส และจะยิ่งใสมากเป็นพิเศษถ้าไม่มีธารน้ำและตะกอนไหลเข้ามา

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟเกิดขึ้นเมื่อหยาดน้ำฟ้าตกลงมาในแอ่ง ความลึกจะเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งเกิดสมดุลระหว่างอัตราของน้ำที่เข้ามาและอัตราของน้ำที่เสียไปซึ่งอาจเกิดจากการระเหย การซึมลงใต้ดิน และอาจรวมถึงการไหลออกบนผิวดินหากระดับน้ำในทะเลสาบสูงถึงจุดที่ต่ำที่สุดของขอบแอ่ง ซึ่งการไหลออกบนผิวดินนี้อาจกัดเซาะสิ่งทับถมที่กั้นทะเลสาบไว้ และถ้าสิ่งทับถมนี้ถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้เกิด Lake breakout ขึ้นได้

ตัวอย่างของทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงคือ Crater Lake ซึ่งมีชื่อเดียวกับศัพท์ทางธรณีวิทยา ตั้งอยู่ในแคลดีราของ Mount Mazama (ดังนั้นชื่อ "Crater Lake" จึงเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นอย่างไม่ถูกต้อง) ในรัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา จัดเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีความลึก 594 เมตร น้ำใน Crater Lake มาจากฝนและหิมะเท่านั้น โดยไม่มีการไหลเข้าและออกที่ระดับผิวดิน ดังนั้นจึงเป็นทะเลสาบที่มีความใสมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก[1]

ภูเขาไฟที่สูงที่สุดในโลกคือ Ojos del Salado ซึ่งมีความสูง 6,893 เมตร มีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100 เมตร อยู่ที่ระดับความสูง 6,390 เมตรทางด้านตะวันออกของภูเขาไฟ[2] อาจถือได้ว่าเป็นทะเลสาบที่อยู่ที่ระดับความสูงมากที่สุดในโลก

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟบางแห่งจะคงตัวอยู่เป็นพักๆเท่านั้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ผันแปร ขณะที่ทะเลสาบแคลดีราสามารถคงตัวอยู่ได้นานมาก ตัวอย่างเช่น ทะเลสาบโทบาที่เกิดขึ้นเมื่อหลังจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณ 70,000 ปีก่อน และมีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตร

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟหลายแห่งอาจมีความงดงามดั่งวาด แต่ก็มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นแก๊สที่ปล่อยออกจาก Lake Nyos ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจราว 800 คนเมื่อ พ.ศ. 2520

ทะเลสาบอาจเกิดขึ้นจากหลุมตกกระทบได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น Manicouagan ใน Quebec, Lake Bosumtwi ในกานา และ Siljan ในสวีเดน

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่มีชื่อเสียง[แก้]

ชื่อต่าง ๆ ทับศัพท์ตามภาษาทางการของประเทศหรือภูมิภาคนั้น เช่นกัวเตมาลาใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ จึงทับศัพท์ด้วยภาษาสเปน

ชื่อหรือแหล่งที่พบ สถานที่
ทะเลสาบบลู ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย, รัฐเซาท์ออสเตรเลีย
ทะเลสาบอัลบาโน ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
ทะเลสาบเนมี ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
ทะเลสาบอาแวร์นุส ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
ทะเลสาบบอลเซนา ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
ทะเลสาบวีโก ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
ทะเลสาบบรัชชาโน ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
ทะเลสาบอามาติตลัง ธงของประเทศกัวเตมาลา กัวเตมาลา
ทะเลสาบอีปาลา ธงของประเทศกัวเตมาลา กัวเตมาลา
ทะเลสาบอาติตลัง ธงของประเทศกัวเตมาลา กัวเตมาลา
ทะเลสาบไอยาร์ซา ธงของประเทศกัวเตมาลา กัวเตมาลา
ทะเลสาบกัลเดรัส (ปากายา) ธงของประเทศกัวเตมาลา กัวเตมาลา
ทะเลสาบชีกาบัล ธงของประเทศกัวเตมาลา กัวเตมาลา
ทะเลสาบโกอาเตเปเก ธงของประเทศเอลซัลวาดอร์ เอลซัลวาดอร์
ทะเลสาบเบร์เด ธงของประเทศเอลซัลวาดอร์ เอลซัลวาดอร์
ทะเลสาบกวีคา ธงของประเทศเอลซัลวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ / ธงของประเทศกัวเตมาลา กัวเตมาลา
ทะเลสาบอีโลปังโก ธงของประเทศเอลซัลวาดอร์ เอลซัลวาดอร์
ทะเลสาบกุยโกชา ธงของประเทศเอกวาดอร์ เอกวาดอร์
ทะเลสาบชอนจี / ทะเลสาบเทียนฉือ ธงของประเทศเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ / ธงของประเทศจีน จีน
ภูเขาไฟอิเจน ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ทะเลสาบโตบา ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ภูเขาไฟเกลุต ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ทะเลสาบลูนาร ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
ทะเลสาบเอสปีโนส ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก
ภูเขาไฟอีราซู ธงของประเทศคอสตาริกา คอสตาริกา
ยอดเขาแคตไม  สหรัฐ, รัฐอะแลสกา
ทะเลสาบกรีน,[3] Kapoho Crater, Kīlauea  สหรัฐ, รัฐฮาวาย
ทะเลสาบเครเตอร์  สหรัฐ, รัฐออริกอน
Medicine Lake Volcano  สหรัฐ, รัฐแคลิฟอร์เนีย
ภูเขาไฟนิวเบอร์รี  สหรัฐ, รัฐออริกอน
ภูเขาไฟราโนเกา ธงของประเทศชิลี ชิลี, เกาะราปานุย (เกาะอีสเตอร์)
ภูเขาไฟราโนรารากู ธงของประเทศชิลี ชิลี, เกาะราปานุย (เกาะอีสเตอร์)
ทะเลสาบเคริธ ธงของประเทศไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์
ทะเลสาบคูริล ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย (คัมชัตคา)
ทะเลสาบมานีกวากอง ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา
ป่าสนแนซโก ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา
ภูเขาไฟเนมรุต ธงของประเทศตุรกี ตุรกี
ทะเลสาบซานตาอานา / ทะเลสาบเซนต์แอนน์ ธงของประเทศโรมาเนีย โรมาเนีย
Lake Nyos ธงของประเทศแคเมอรูน แคเมอรูน
ทะเลสาบปีนาตูโบ ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
ทะเลสาบตาอัล ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
Mount Ruapehu ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์
Lake Taupo ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์
ทะเลสาบชิคทสึ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ทะเลสาบโทะวะดะ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ทะเลสาบมะชู ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ทะเลสาบทะซะวะ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูเขาไฟซูฟรีแยร์ ธงของประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์, เกาะเซนต์วินเซนต์
Lake Wenchi [4] ธงของประเทศเอธิโอเปีย เอธิโอเปีย
White Deer Lake (Baengnokdam) ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้

อ้างอิง[แก้]

  • Delmelle, Pierre; Bernard, Alain (1999), "Volcanic Lakes", ใน Sigurdsson, Haraldur (บ.ก.), Encyclopedia of Volcanoes, San Diego: Academic Press, pp. 877–895, ISBN 012643140X
  • Varekamp, Johan C.; Rowe, Gary L. , Jr. (2000). "Crater Lakes". Journal of Volcanology and Geothermal Research. 97 (1–4): 1–508.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] (entire volume about crater lakes)
  • Pasternack, G. B.; Varekamp, J. C. (1997). "Volcanic lake systematics I. Physical constraints". Bulletin of Volcanology. 58 (7): 526–538.[ลิงก์เสีย]
  • Kusakabe, Minoru (1994). "Geochemistry of Crater Lakes". Geochemical Journal. 28 (3): 137–306. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-06. (entire issue about chemistry of crater lakes)
  1. "Facts and Figures about Crater Lake". U.S. National Park Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-18. สืบค้นเมื่อ 2009-03-17.
  2. "Andes Website - Information about Ojos del Salado volcano, a high mountain in South America and the World's highest volcano". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-27. สืบค้นเมื่อ 2009-03-24.
  3. Kahumana Sanctuary - Geology
  4. http://www.gtz.de/de/praxis/11695.htm Description of Mount Wenchi crater lake on the website of GTZ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]