ตูอีโตงา
- สำหรับ จักรวรรดิดูที่ จักรวรรดิตูอีโตงา
พระราชอิสริยยศ | ตูอีโตงาแห่งจักรวรรดิตูอีโตงา |
---|---|
ปกครอง | จักรวรรดิตูอีโตงา |
เชื้อชาติ | ตองงา และ ซามัว |
สาขา | กาลานีอูวาลู |
จำนวนพระมหากษัตริย์ | 39 พระองค์ |
ประมุขพระองค์แรก | สมเด็จพระเจ้าอะโฮเออิตู |
ประมุขพระองค์สุดท้าย | สมเด็จพระเจ้าเลาฟิลิตองงา |
ช่วงระยะเวลา | ค.ศ. 950–1826 |
สถาปนา | ค.ศ. 950 |
สิ้นสุด | ค.ศ. 1826 |
ล่มสลาย | ค.ศ. 1865 |
ราชวงศ์ถัดไป | ราชวงศ์ตูโปอู ราชอาณาจักรตองงา |
ตูอีโตงา (ตองงา: Tuʻi Tonga) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิตูอีโตงา โดยตำนานกล่าวถึงการที่เทพเจ้าตากาโลอาพระเจ้าของชาวตองงามีพระโอรสกับหญิงมนุษย์โลก แล้วให้กำเนิดออกมาเป็นพระเจ้าอะโฮเออิตู ซึ่งพระเจ้าอะโฮเออิตูนี้เป็นต้นราชวงศ์ตูอีโตงา โดยสถาปนาราชวงศ์นี้ในประมาณ ค.ศ. 950[1] ราชวงศ์ตูอีโตงาเจริญถึงขีดสุดในช่วงเวลาประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในรัชสมัยของพระเจ้าโมโม พระเจ้าตูอิตาตูอิและพระเจ้าตาลาตามา ซึ่งสามารถขยายอาณาเขตได้กว้างไกล จนกระทั่งประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 ราชวงศ์ตูอีโตงาเริ่มเสื่อมอำนาจลงจากการโอนอำนาจส่วนใหญ่ให้ตูอิฮาอะตากาลาอัว จนกระทั่งหมดอำนาจไปใน ค.ศ. 1826 และเสื่อมสลายไปใน ค.ศ. 1865 สำหรับกฎการสืบราชสมบัติของราชวงศ์นี้จะสืบจากพระบิดาสู่พระโอรสเท่านั้น ปัจจุบันเชื้อสายของราชวงศ์นี้ยังอยู่ในสายกาลานีอูวาลู
การก่อตั้งราชวงศ์และการขยายอำนาจ
[แก้]ราชวงศ์ตูอีโตงาก่อตั้งโดยพระเจ้าะโฮเออิตู ซึ่งตามตำนานเชื่อว่าเป็นพระราชโอรสของเทพเจ้าพื้นเมือง เมื่อสิ้นรัชกาลของพระเจ้าอะโฮเออิตูนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานใดๆเกี่ยวกับบทบาทของราชวงศ์ นอกจากรายพระนามพระมหากษัตริย์[2] จนกระทั่งถึงในรัชสมัยพระเจ้าโมโม พระเจ้าตูอิตาตูอิและพระเจ้าตาลาตามา ราชวงศ์มีบทบาทสำคัญในการขยายอำนาจของจักรวรรดิได้ตั้งแต่นีวเวถึงติโกเปีย[3] หลังจากรัชกาลพระเจ้าตาลาตามาเกิดวิกฤตการณ์สืบราชสมบัติเพราะพระเจ้าตาลาตามาไม่มีพระโอรส จึงตั้งท่อนไม้ขึ้นเป็นตูอีโตงาพระนามว่าพระเจ้าตูอีโตงานุย โอเอตามาตู เพื่อให้เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าตาลาอิฮาอะเปเปซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าตาลาตามา[1]
ยุคเสื่อมของราชวงศ์
[แก้]นับตั้งแต่พระเจ้าฮาเวอาที่ 1 ตูอีโตงาพระองค์ที่ 19 จนถึงรัชสมัยของพระเจ้าตากาลาอัว ตูอีโตงาพระองค์ที่ 23 มีเหตุการณ์ลอบสังหารบ่อยครั้ง พระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาที่ 1 จึงตั้งราชวงศ์ตูอิฮาอะตากาลาอัวขึ้น เพื่อช่วยตูอีโตงาปกครอง อย่างไรก็ตามหลังจากสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาที่ 1 ตูอิฮาอะตากาลาอัวได้เนรเทศตูอีโตงาไปอยู่ที่ซามัว จนกระทั่งตูอีโตงาอ่อนแอลง จึงเชิญตูอีโตงากลับมาปกครอง แต่ไม่มีพระราชอำนาจใดๆมากนัก เป็นเพียงแต่ผู้นำทางจิตวิญญาณเท่านั้น
การสิ้นสุดราชวงศ์
[แก้]ราชวงศ์ตูอีโตงาสิ้นสุดลง เมื่อเตาฟาอาเฮาได้รับชัยชนะเหนือพระเจ้าเลาฟิลิตองงาใน ค.ศ. 1826 ทำให้พระราชอำนาจทุกอย่างของตูอีโตงาหมดลง คงเหลือเพียงแต่ตำแหน่งในนามจนพระเจ้าเลาฟิลิตองงาสวรรคตใน ค.ศ. 1865 ก็มิได้ตั้งใครขึ้นมาดำรงตำแหน่งตูอีโตงาอีก จึงถือว่าราชวงศ์ตูอีโตงาสิ้นสุดลง โดยมีพระมหากษัตริย์ที่มาจากราชวงศ์นี้รวมทั้งสิ้น 39 พระองค์
มรดกของราชวงศ์
[แก้]การปกครองภายใต้ราชวงศ์นี้ มีการก่อสร้างลางีสำหรับฝังพระบรมศพของตูอีโตงาโดยเฉพาะ ซึ่งอยู่บริเวณเมืองมูอา และเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศตองงา
รายพระนามตูอีโตงา
[แก้]รัชกาลที่ | พระปรมาภิไธย | ขึ้นครองราชย์/สละราชสมบัติ | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าอะโฮเออิตู | ค.ศ. 950 – ?? | ||||||
สมเด็จพระเจ้าโลโลฟากางาโล | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าฟางาโอเนโอเน | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าลีเฮา | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าโกฟูตู | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้ากาโลอา | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้ามาอูเฮา | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าอาปูอาเนอา | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าอาฟูลูงา | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าโมโม | ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 | ||||||
สมเด็จพระเจ้าตูอิตาตูอิ | ช่วงเวลาประมาณ ค.ศ. 1100 | ||||||
สมเด็จพระเจ้าตาลาตามา | ช่วงเวลาประมาณ ค.ศ. 1150 | ||||||
สมเด็จพระเจ้าตูอีโตงานุย โอเอตามาตู | ครึ่งหลังของ ค.ศ. 1150 (รวม 3 ปี) | ||||||
สมเด็จพระเจ้าตาลาอิฮาอะเปเป | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าตาลากาอีฟาอีกี | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าตาลาฟาปีเต | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าตูอีโตงา มาอะกิโตเอ | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าตูอีโตงา ปุยปุย | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าฮาเวอาที่ 1 | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าตาตาฟูเออีกีเมอีมูอา | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าโลมีอาเอตูปูอา | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าฮาเวอาที่ 2 | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าตากาลาอัว | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาที่ 1 | ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 | ||||||
โอนอำนาจการปกครองส่วนใหญ่ให้แก่ตูอิฮาอะตากาลาอัว ดำรงสถานะเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณสูงสุด | |||||||
สมเด็จพระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาที่ 1 | ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 15 | ||||||
ตูอิฮาอะตากาลาอัวเชิญตูอีโตงาประทับที่ซามัว | |||||||
สมเด็จพระเจ้าวากาฟูฮู | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าปุยปุยฟาตู | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาที่ 2 | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
ตูอีโตงาได้รับอนุญาตให้กลับมาประทับที่มูอา | |||||||
สมเด็จพระเจ้าตาปูโอซี | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าอูลูอาคิมาตาที่ 1 | ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 | ||||||
ตูอิกาโนกูโปลูเริ่มมีอำนาจ | |||||||
สมเด็จพระเจ้าฟาตาเฟฮี | ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 | ||||||
สมเด็จพระเจ้าเกาอูลูโฟนูอาที่ 3 | ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 | ||||||
สมเด็จพระเจ้าอูลูอาคิมาตาที่ 2 | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าตูอิปูโลตูที่ 1 | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าฟากานาอะนาอา | ไม่ทราบปีที่แน่นอน | ||||||
สมเด็จพระเจ้าตูอิปูโลตูที่ 2 | ค.ศ. 17XX–1770 | ||||||
สมเด็จพระเจ้าเปาลาโฮ | ค.ศ. 1770–1784 (รวม 14 ปี) | ||||||
สมเด็จพระเจ้ามาอูลูเปโกโตฟา | ค.ศ. 1784–1795 (รวม 11 ปี) | ||||||
สมเด็จพระเจ้าฟูอานูนูอีอาวา | ค.ศ. 1793–1810 (รวม 17 ปี) | ||||||
สมเด็จพระเจ้าเลาฟิลิโตงา | ค.ศ. 1810–1826 (รวม 16 ปี) | ||||||
พ่ายแพ้ในสงครามกลางเมือง จักรวรรดิล่มสลาย | |||||||
สมเด็จพระเจ้าเลาฟิลิโตงา | ค.ศ. 1827–1865 (รวม 38 ปี) (ครั้งที่ 2 ไม่มีพระราชอำนาจ) |
ดูเพิ่ม
[แก้]รายการอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "The 'Ahoe'itu Dynasty". royalark. สืบค้นเมื่อ 18 January 2014.
- ↑ "BACKGROUND TO TONGAN SOCIETY AT THE TIME OF CAPTAIN COOK'S VISITS" (PDF). The Journal of the Polynesian Society. 18 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-09. สืบค้นเมื่อ 2014-01-18.
- ↑ "Tu'i Tonga". Palace Office2013, Tonga. 18 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-13. สืบค้นเมื่อ 2014-01-18.