ตำบลหนองแปน (อำเภอกมลาไสย)

พิกัด: 16°17′53.8″N 103°29′34.8″E / 16.298278°N 103.493000°E / 16.298278; 103.493000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลหนองแปน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Nong Paen
พระธาตุยาคู ภายในพื้นที่หมู่ 7 บ้านเสมา
พระธาตุยาคู ภายในพื้นที่หมู่ 7 บ้านเสมา
ประเทศไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
อำเภอกมลาไสย
พื้นที่
 • ทั้งหมด31.05 ตร.กม. (11.99 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด6,749 คน
 • ความหนาแน่น217.35 คน/ตร.กม. (562.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 46130
รหัสภูมิศาสตร์460308
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลหนองแปน
ทต.หนองแปนตั้งอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์
ทต.หนองแปน
ทต.หนองแปน
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลหนองแปน
พิกัด: 16°17′53.8″N 103°29′34.8″E / 16.298278°N 103.493000°E / 16.298278; 103.493000
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
อำเภอกมลาไสย
จัดตั้ง • 30 กันยายน 2535 (สุขาภิบาลหนองแปน)
 • 25 พฤษภาคม 2542 (เทศบาลตำบลหนองแปน)
พื้นที่
 • ทั้งหมด31.05 ตร.กม. (11.99 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด6,749 คน
 • ความหนาแน่น217.35 คน/ตร.กม. (562.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05500403
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 397 หมู่ที่ 2 ถนนมหาสารคาม–กมลาไสย ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ 46130
เว็บไซต์nongpaen.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

หนองแปน เป็นตำบลในอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นที่ตั้งของพระธาตุยาคูและเมืองฟ้าแดดสงยาง ปัจจุบันเหลือแต่ซากอิฐปนดิน มีคูเมืองสองชั้น มีลักษณะเป็นท้องน้ำ นอกจากนี้ยังมี พระธาตุยาคู ผังเมืองรูปไข่แบบทวาราวดี แต่มีตัวเมืองสองชั้น เชื่อว่าเกิดจากการขยายตัวเมือง มีการขุดพบใบเสมาหินทรายที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมศิลปากร 130 แผ่น

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลหนองแปนมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลโนนศิลาเลิง (อำเภอฆ้องชัย)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลฆ้องชัยพัฒนา และตำบลกุดฆ้องชัย (อำเภอฆ้องชัย)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลกมลาไสย และตำบลธัญญา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลโคกสะอาด (อำเภอฆ้องชัย)

ประวัติ[แก้]

หนองแปนเป็นตำบลเก่าแก่ในมณฑลร้อยเอ็ด ตั้งขึ้นเป็นตำบลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2453[2] ซึ่งพื้นที่ตำบลหนองแปนเดิมครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของอำเภอฆ้องชัยด้วย

ตำบลหนองแปนมีพื้นที่ขนาดกว้างขวางมาก จึงมีการแบ่งหมู่บ้านออกเป็นตำบลต่าง ๆ คือ

  • วันที่ 12 ธันวาคม 2493 ได้แยกพื้นที่หมู่ 3, 5, 9, 18–19, 21–22, 24, 26–31, 33, 35–39 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองแปน ตั้งเป็น ตำบลกุดฆ้องชัย[3] โดยมีเขตการปกครองรวม 20 หมู่บ้าน
  • วันที่ 5 ตุลาคม 2514 ได้แยกพื้นที่หมู่ 3, 4, 6–7, 12–13, 15, 17, 19 (ในขณะนั้น) ของตำบลกุดฆ้องชัย ตั้งเป็น ตำบลลำชี[4] โดยมีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน ซึ่งเดิมเป็นหมู่บ้านในตำบลหนองแปนทั้งหมด
  • วันที่ 17 มิถุนายน 2518 ได้แยกพื้นที่หมู่ 3, 6, 7, 9, 10–12, 20, 22 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองแปน ตั้งเป็น ตำบลโคกสะอาด[5] โดยมีเขตการปกครองรวม 9 หมู่บ้าน
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ได้แยกพื้นที่หมู่ 3, 6–7, 9, 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองแปน ตั้งเป็น ตำบลโนนศิลา (ตำบลโนนศิลาเลิง)[6] โดยมีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 ได้แยกพื้นที่หมู่ 7 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองแปน กับพื้นที่หมู่ 1, 3, 10, 12 (ในขณะนั้น) ของตำบลลำชี ไปรวมกับพื้นที่หมู่ 2, 4, 11–12, 14 (ในขณะนั้น) ของตำบลกุดฆ้องชัย ตั้งเป็น ตำบลฆ้องชัยพัฒนา[7] โดยมีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน ซึ่งเดิมเป็นหมู่บ้านในตำบลหนองแปนทั้งหมด

หนองแปนมีตลาดเป็นที่ประชุมชน มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่เป็นปึกแผ่น มีการคมนาคมและการค้าขายเจริญมาก ยังขาดการบำรุงรักษา ทางราชการจึงได้ตั้ง "สุขาภิบาลหนองแปน"[8] ขึ้นในพื้นที่หมู่ 1–5, 8 และนับเป็นพื้นที่ 1 ใน 3 สุขาภิบาลในอำเภอกมลาไสย ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต เพื่อบำรุงความสุขและความสะดวกของประชาชนให้ยิ่งขึ้น ก่อนที่จะยกขึ้นเป็น "เทศบาลตำบลหนองแปน"[9]

ในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 กระทรวงมหาดไทยให้ยุบสภาตำบลหนองแปนเข้ากับพื้นที่เทศบาลตำบลหนองแปน เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน[10] การแก้ไขเปลี่ยนแปลงแนวเขตเทศบาลตำบลหนองแปน จะทำให้เทศบาลตำบลซึ่งแต่เดิมมีพื้นที่ 9.71 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นเป็น 31.05 ตารางกิโลเมตร และครอบคลุมพื้นที่เต็มทั้งตำบลหนองแปน รวมทั้งสิ้น 9 หมู่บ้าน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

ตำบลหนองแปนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านหนองแปน (Ban Nong Paen)
หมู่ 2 บ้านหนองแปน (Ban Nong Paen)
หมู่ 3 บ้านหนองแปน (Ban Nong Paen)
หมู่ 4 บ้านโนนสูง (Ban Non Sung)
หมู่ 5 บ้านนาเชือก (Ban Na Chueak)
หมู่ 6 บ้านโนนโพธิ์ศรี (Ban Non Pho Si)
หมู่ 7 บ้านเสมา (Ban Sema)
หมู่ 8 บ้านนาปิง (Ban Na Ping)
หมู่ 9 บ้านโนนสูง (Ban Non Sung)

ชื่อหมู่บ้านในตำบลหนองแปนนี้อ้างอิงตามกรมการปกครอง เนื่องจากเป็นชื่อหมู่บ้านที่บัญญัติไว้ทางการในทะเบียนปกครอง

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลหนองแปน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลตำบลหนองแปน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแปนทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลหนองแปนที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[11] และจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2535[8]

ต่อมาในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ได้ยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลตำบลหนองแปน[9] และในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ยุบสภาตำบลหนองแปนเข้ากับพื้นที่เทศบาลตำบลหนองแปน เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน[10]

ประชากร[แก้]

พื้นที่ตำบลหนองแปนประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 9 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 6,749 คน แบ่งเป็นชาย 3,214 คน หญิง 3,535 คน (เดือนธันวาคม 2565)[12] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 8 จาก 9 ตำบลในอำเภอกมลาไสย

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2565[13] พ.ศ. 2564 [14] พ.ศ. 2563[15] พ.ศ. 2562[16] พ.ศ. 2561[17] พ.ศ. 2560[18] พ.ศ. 2559[19]
หนองแปน (หมู่ 2) 1,249 1,246 1,218 1,217 1,221 1,223 1,232
เสมา 883 897 903 901 917 913 923
นาปิง 803 799 810 810 823 828 838
นาเชือก 797 795 798 812 811 813 824
โนนสูง (หมู่ 9) 718 714 711 710 705 707 701
โนนสูง (หมู่ 4) 685 701 706 718 719 724 721
หนองแปน (หมู่ 3) 591 591 603 609 607 616 614
โนนโพธิ์ศรี 586 588 590 593 595 595 599
หนองแปน (หมู่ 1) 437 440 432 452 464 470 469
รวม 6,749 6,771 6,771 6,822 6,862 6,889 6,921

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ [ในท้องที่มณฑลร้อยเอ็ด]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 511–518. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2464
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (67 ง): 6304–6305. วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย และอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (106 ง): 2750–2755. วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2514
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย อำเภอเขาวง และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (112 ง): 1466–1474. วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2518
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย และอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 26–34. วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2531
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสยและอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): (ฉบับพิเศษ) 108–127. วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
  8. 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (126 ง): (ฉบับพิเศษ) 49-51. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2535
  9. 9.0 9.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  10. 10.0 10.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 11–14. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  17. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  18. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  19. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.