ตำบลประจัน
ตำบลประจัน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Prachan |
![]() สะพานข้ามแม่น้ำปัตตานี | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปัตตานี |
อำเภอ | ยะรัง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.50 ตร.กม. (4.83 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 8,714 คน |
• ความหนาแน่น | 697.12 คน/ตร.กม. (1,805.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 94160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 941003 |
![]() |
องค์การบริหารส่วนตำบลประจัน | |
---|---|
พิกัด: 6°48′21.3″N 101°18′44.2″E / 6.805917°N 101.312278°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | ปัตตานี |
อำเภอ | ยะรัง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.50 ตร.กม. (4.83 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 8,714 คน |
• ความหนาแน่น | 697.12 คน/ตร.กม. (1,805.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06941008 |
ที่อยู่ที่ทำการ | หมู่ที่ 7 ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 94160 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
ประจัน เป็นตำบลของอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ 12.5 ตารางกิโลเมตร (คิดเป็น 7,812.5 ไร่) และมีเขตการปกครองทั้งหมด 9 หมู่บ้าน
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลประจันมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลปุยุด (อำเภอเมืองปัตตานี) และตำบลสะดาวา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลสะนอ
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลยะรัง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลยาบีและตำบลลิปะสะโง (อำเภอหนองจิก)
ประวัติ
[แก้]ประจัน เป็นคำทับศัพท์แทนภาษามลายู คือ ปรือแจ หรือ ปรือแจแม คือ "สถานที่ที่เราต้องจำไว้"[3] ตามตำนานเล่าว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2256 ได้มีกองคาราวานติดตามช้างเผือกกลุ่มหนึ่งซึ่งมาจากจังหวัดยะลา ได้เดินทางด้วยเท้าและถึงบ้านประจันเป็นเวลาตอนเย็น พอถึงเวลากลางคืนเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ท้องฟ้ามืดมัว การเดินทางไม่สะดวกจึงหลงทางเดินวนไปวกมาอยู่กับที่ ไม่รู้จะไปทางทิศไหนดี บังเอิญกองคาราวานนั้นได้เห็นแสงไฟตะเกียงจากบ้านหลังหนึ่งของชาวบ้านในละแวกนั้น กองคาราวานกลุ่มนั้นจึงนึกขึ้นได้ว่าน่าจะเป็นแสงไฟตะเกียงจากบ้าน ที่เราได้เดินทางผ่านมาเมื่อตอนเย็น จึงรอดจากการหลงทาง กองคาราวานจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านปรือแจ" หรือ "บ้านประจัน"
คนกลุ่มแรกที่เริ่มก่อตั้งบ้านประจัน ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นใคร แต่ชาวบ้านได้เล่าว่า คนกลุ่มแรกที่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านนี้น่าจะเป็นโตะแย จากหลักฐานที่ได้ค้นพบว่าในหมู่บ้านนี้มีกูโบร์โตะแย (กูโบร์ หมายถึง สุสาน) และโตะแยเป็นคนแรกที่ได้ฝังศพที่กูโบร์ประจัน ลักษณะของโตะแย ตามที่เล่าขานกันว่ามีลักษณะเป็นเพศชาย ตัวเล็ก เพดานปากสีดำและผมหยิก ชาวบ้านในสมัยนั้นเชื่อว่าโตะแยน่าจะเป็นคนที่ศักดิ์สิทธิ์ และกูโบร์โตะแย จึงเป็นที่เคารพมาจนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลประจันแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 | บ้านบราโอ | (Ban Bra-o) | ||||
หมู่ 2 | บ้านประจัน | (Ban Prachan) | ||||
หมู่ 3 | บ้านบือแนกือบง | (Ban Buenae Kuebong) | ||||
หมู่ 4 | บ้านกอและ | (Ban Kolae) | ||||
หมู่ 5 | บ้านบูโกะ | (Ban Buko) | ||||
หมู่ 6 | บ้านกูแบปูตะ | (Ban Kubae Puta) | ||||
หมู่ 7 | บ้านบือแนปีแน | (Ban Buenae Pinae) | ||||
หมู่ 8 | บ้านกูนิง | (Ban Kuning) | ||||
หมู่ 9 | บ้านบือแน | (Ban Buenae) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่ตำบลประจัน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลประจัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประจันทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลประจัน ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2517[4]
ในปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลประจันมี 9 หมู่บ้าน พื้นที่ 12.50 ตารางกิโลเมตร ประชากร 6,773 คน และ 1,086 ครัวเรือน[5] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลประจันอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลประจันในปี พ.ศ. 2540[6]
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลประจันประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 9 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 8,714 คน แบ่งเป็นชาย 4,321 คน หญิง 4,393 คน (เดือนธันวาคม 2566)[7] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 4 ในอำเภอยะรัง
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2566[8] | พ.ศ. 2565[9] | พ.ศ. 2564[10] | พ.ศ. 2563[11] | พ.ศ. 2562[12] | พ.ศ. 2561[13] | พ.ศ. 2560[14] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ประจัน | 1,642 | 1,617 | 1,601 | 1,584 | 1,588 | 1,577 | 1,568 |
บือแนปีแน | 1,281 | 1,240 | 1,221 | 1,204 | 1,189 | 1,167 | 1,170 |
บือแนกือบง | 1,265 | 1,239 | 1,237 | 1,239 | 1,213 | 1,206 | 1,182 |
บูโกะ | 925 | 891 | 884 | 872 | 859 | 844 | 838 |
กอและ | 892 | 880 | 863 | 850 | 829 | 812 | 812 |
บราโอ | 797 | 791 | 783 | 780 | 781 | 765 | 756 |
บือแน | 781 | 778 | 767 | 745 | 726 | 710 | 711 |
กูแบปูตะ | 735 | 733 | 722 | 720 | 720 | 719 | 725 |
กูนิง | 396 | 387 | 391 | 382 | 378 | 365 | 360 |
รวม | 8,714 | 8,556 | 8,469 | 8,376 | 8,283 | 8,165 | 8,122 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 23 ง): 65–93. วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2542
- ↑ ฐานข้อมูลการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ ข้อมูลตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี (ประวัติความเป็นมา) เก็บถาวร 2024-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.