ตำบลยาบี
ตำบลยาบี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Yabi |
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปัตตานี |
อำเภอ | หนองจิก |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 18.00 ตร.กม. (6.95 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 4,051 คน |
• ความหนาแน่น | 225.05 คน/ตร.กม. (582.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 94170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 940311 |
องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี | |
---|---|
พิกัด: 6°46′21.3″N 101°14′42.9″E / 6.772583°N 101.245250°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปัตตานี |
อำเภอ | หนองจิก |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 18.00 ตร.กม. (6.95 ตร.ไมล์) |
ประชากร (เดือนมีนาคม 2567) | |
• ทั้งหมด | 4,051 คน |
• ความหนาแน่น | 225.05 คน/ตร.กม. (582.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06940308 |
ที่อยู่ที่ทำการ | หมู่ที่ 4 ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 94170 |
เว็บไซต์ | www |
ยาบี เป็นตำบลของอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีพื้นที่ 18.00 ตารางกิโลเมตร (คิดเป็น 11,250.1 ไร่) และมีเขตการปกครองทั้งหมด 6 หมู่บ้าน
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลยาบีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลลิปะสะโงและตำบลประจัน (อำเภอยะรัง)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลประจันและตำบลยะรัง (อำเภอยะรัง)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลคลองใหม่ (อำเภอยะรัง) และตำบลคอลอตันหยง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลลิปะสะโง
ประวัติ
[แก้]ในอดีตแต่เดิมนั้นประชาชนในท้องที่บริเวณตำบลยาบี อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำปัตตานี มีการปลูกบ้านเรือนตามริมแม่น้ำลำคลอง ซึ่งมีน้ำไหลผ่าน ใช้ในการคมนาคมขนส่งทางน้ำ และใช้อุปโภคบริโภค แม่น้ำปัตตานี ที่ไหลผ่านบ้านยาบี แยกเป็น 2 สาย คือ สายที่ 1 ไหลลงคลองตุยง ลงสู่ทะเลที่ปากอ่าวบางตาวา สายที่ 2 ไหลลงแม่น้ำปัตตานี ลงสู่ทะเลที่ปากอ่าวปัตตานี ซึ่งเล่ากันว่าเป็นสายที่เจ้าเมืองปัตตานีขุดขึ้นเพื่อให้ทางน้ำไหลไปยังเมืองปัตตานีในสมัยก่อน
ยาบีหรือเดิม จาบี เป็นภาษาชวา มาจากคำว่า จัมบี หมายถึง ต้นหมาก ซึ่งในสมัยก่อนหมู่บ้านยาบีที่อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำปัตตานีนั้น ปลูกต้นหมากรากไม้เป็นจำนวนมาก และทำนาเป็นส่วนใหญ่ มีการคมนาคมทางน้ำ ใช้เรือ หรือเรือน้ำเป็นพาหนะ เป็นท่าเรือที่สำคัญ มีทั้งพ่อค้าจากในประเทศและต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น ได้สัญจรไปมาหรือมาค้าขายที่นี่ พบเห็นต้นหมากมากมายในพื้นที่แห่งนี้ จึงเรียกกันว่า จัมบี และเพี้ยนมาเป็นคำว่า จาบี และกลายเป็นคำว่า "ยาบี"[3] ในปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลยาบีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 | บ้านยาบีใต้ | (Ban Yabi Tai) | ||||
หมู่ 2 | บ้านคลองช้าง | (Ban Khlong Chang) | ||||
หมู่ 3 | บ้านยาบีเหนือ | (Ban Yabi Nuea) | ||||
หมู่ 4 | บ้านใหม่ | (Ban Mai) | ||||
หมู่ 5 | บ้านคู | (Ban Khu) | ||||
หมู่ 6 | บ้านหนองปู | (Ban Nong Pu) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่ตำบลยาบีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลยาบี ซึ่งเดิมเป็นสภาตำบลยาบีที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[4]
ใน พ.ศ. 2538 สภาตำบลยาบีมี 6 หมู่บ้าน พื้นที่ 18.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 3,938 คน และ 653 ครัวเรือน[5] ใน พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยพิจารณาให้สภาตำบลยาบีอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ สภาตำบลยาบีจึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลยาบีใน พ.ศ. 2540[6]
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลยาบีประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,051 คน แบ่งเป็นชาย 1,975 คน หญิง 2,076 คน (เดือนธันวาคม 2566)[7] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นลำดับที่ 8 ในอำเภอหนองจิก
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2566[8] | พ.ศ. 2565[9] | พ.ศ. 2564[10] | พ.ศ. 2563[11] | พ.ศ. 2562[12] | พ.ศ. 2561[13] | พ.ศ. 2560[14] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ใหม่ | 1,031 | 995 | 992 | 980 | 984 | 955 | 941 |
คลองช้าง | 740 | 735 | 729 | 722 | 715 | 705 | 702 |
ยาบีเหนือ | 693 | 690 | 681 | 683 | 678 | 676 | 678 |
หนองปู | 667 | 662 | 663 | 656 | 656 | 645 | 651 |
ยาบีใต้ | 526 | 526 | 538 | 547 | 542 | 539 | 544 |
คู | 394 | 396 | 401 | 415 | 417 | 421 | 432 |
รวม | 4,051 | 4,004 | 4,004 | 4,003 | 3,992 | 3,941 | 3,948 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 77 ง): 73–109. วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2540
- ↑ ฐานข้อมูลการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้ ข้อมูลตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี (ประวัติความเป็นมา) เก็บถาวร 2024-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.