ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาวเนปจูนจากยานวอยเอจเจอร์ 2

ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์ (อังกฤษ: ice giant) เป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ที่มีองค์ประกอบหลักเป็นน้ำแข็งซึ่งประกอบด้วยมีเทนและแอมโมเนีย และน้ำในสถานะของเหลว[1][2][3] ในระบบสุริยะ คำนี้ใช้เรียกดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน

คุณสมบัติ[แก้]

ในอดีต ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนเคยถูกจัดประเภทเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ ร่วมกับดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ เนื่องจากขนาดและตำแหน่ง[2] อย่างไรก็ตาม การสังเกตการณ์ของยานวอยเอจเจอร์ 2 ได้เผยให้เห็นว่าดาวทั้งสองนี้มีน้ำและมีเทนอยู่มาก ทำให้มีความแตกต่างไปจากดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ซึ่งมีส่วนประกอบของก๊าซจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียม และมีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ ดังนั้นจึงได้มีการจัดประเภทใหม่ขึ้นมาโดยแยกให้ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนซึ่งมีน้ำและมีเทนอยู่มากแต่มีก๊าซค่อนข้างน้อยนั้นเป็นดาวเคราะห์ประเภทใหม่[1][2]

เนื่องจากองค์ประกอบของมัน ดาวเคราะห์ประเภทใหม่นี้จึงถูกเรียกว่า ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์[4] ในทางกลับกัน ดาวเคราะห์ประเภทดาวพฤหัสบดีซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซจะเรียกว่า ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์[5]

ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์มีสีขาว แดง ส้ม เหลือง และน้ำตาล เนื่องจากสารประกอบอินทรีย์หลายชนิด ในขณะที่ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนเป็นสีน้ำเงินใส ที่เป็นเช่นนี้เชื่อกันว่าเป็นเพราะแสงสีแดงถูกน้ำและมีเทนในชั้นบรรยากาศดูดกลืนไปและมีเพียงแสงสีน้ำเงินเท่านั้นที่สะท้อนออกมาอย่างรุนแรง เนื้อดาวประกอบไปด้วยน้ำและน้ำแข็งมีเทน โดยมีไฮโดรเจนเป็นสัดส่วนต่ำ และเชื่อว่าล้อมรอบแกนหินหรือโลหะซึ่งมีมวลประมาณ 10 เท่าของโลก

ทั้งดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนมีพื้นผิวที่ค่อนข้างร้อนเมื่อเทียบกับระยะที่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก ซึ่งคาดว่าเกิดจากกลไกเคลวิน–เฮ็ล์มฮ็อลทซ์

ดาวเคราะห์นอกระบบ[แก้]

ในบรรดาดาวที่ถูกเรียกว่าดาวพฤหัสบดีร้อนนั้น บางครั้งมีการเรียกดาวที่มีมวลค่อนข้างน้อยว่า ดาวเนปจูนร้อน ดาวเคราะห์ที่มีมวลน้อยกว่าดาวเนปจูนแต่มีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 10 เท่าของมวลโลก (ซูเปอร์เอิร์ธ) ถูกเรียกว่า ดาวมินิเนปจูน เนื่องจากมีสมบัติคล้ายกับดาวเนปจูน นอกจากนี้ ยังมีการเสนอชื่อเรียก ดาวเคราะห์ไฮเชียน สำหรับดาวเคราะห์ที่ปกคลุมด้วยมหาสมุทรและมีความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 日本学術会議物理学委員会IAU分科会及び天文学・宇宙物理学分科会 (2007-06-21). "対外報告 第二報告:新しい太陽系像について-明らかになってきた太陽系の姿-" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2014-12-25.
  2. 2.0 2.1 2.2 小久保英一郎. "惑星系形成論 : 最新 " 太陽系の作り方 "". 理科年表オフィシャルサイト. สืบค้นเมื่อ 2019-04-01.
  3. "太陽系の構成". 宇宙情報センター. 宇宙航空研究開発機構. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-18. สืบค้นเมื่อ 2019-04-01.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. "2万5000光年彼方、天王星のような巨大氷惑星". アストロアーツ. 2014-10-30. สืบค้นเมื่อ 2015-03-16.
  5. "巨大ガス惑星". 天文学辞典. 日本天文学会. 2018-03-15. สืบค้นเมื่อ 2019-04-01.
  6. "大気と海があり生命存在の可能性がある「系外惑星」の新しい分類が登場". Sorae. 2021-09-03. สืบค้นเมื่อ 2021-09-05.