ซูเปอร์เอิร์ธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดแสดงซูเปอร์เอิร์ธตามสมมุติฐาน 2 ดวง แต่ละดวงมีความหนาแน่นเฉลี่ยมากกว่าโลก แต่ทั้งสองดวงก็จัดว่าเป็น "ซูเปอร์เอิร์ธ" เพราะมีมวลมากกว่ามวลของโลก

ซูเปอร์เอิร์ธ (อังกฤษ: super-Earth) หรือ ซูเปอร์โลก[1] หมายถึง ดาวเคราะห์คล้ายโลกที่มีมวลมากกว่าโลก แต่มีมวลน้อยกว่าดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ คำนี้จะใช้ในความหมายทางด้านมวลของดาวเคราะห์เท่านั้น ไม่มีความหมายในแง่เงื่อนไขด้านพื้นผิวของดาวหรือความสามารถในการอยู่อาศัยของดาวนั้นๆ กล่าวคือมันมิได้มีความหมายว่าดาวเคราะห์นั้นจะมีอุณหภูมิหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโลกแต่อย่างใด หากกล่าวตาม Valencia et al. (2007) ให้คำนิยามไว้ว่า ซูเปอร์เอิร์ธคือดาวเคราะห์คล้ายโลกที่มีมวลระหว่าง 1 ถึง 10 เท่าของมวลโลก[2] ขณะที่ Fortney et al. (2007) นิยามไว้ที่มวลขนาด 5 ถึง 10 เท่าของมวลโลก[3] โดยมีคำจำกัดความอื่นๆ ในสื่อซึ่งเป็นที่นิยม[4][5][6] มีการค้นพบซูเปอร์เอิร์ธมากมายนับตั้งแต่การค้นพบ Gliese 876 d เมื่อ ค.ศ. 2005 โดยคณะนักวิทยาศาสตร์นำโดย ยูจีนีโอ ริเวรา ไม่มีตัวอย่างของดาวประเภทซูเปอร์เอิร์ธนี้ในระบบสุริยะของเรา เพราะดาวเคราะห์คล้ายโลกขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ก็คือโลก ส่วนดาวเคราะห์อื่นที่ใหญ่กว่าโลกก็มีมวลมากกว่า 14 เท่าของมวลโลกขึ้นไปทั้งสิ้น ปัจจุบันนี้ เทคนิคที่ดีที่สุดในการค้นหาดาวซูเปอร์เอิร์ธ คือวิธีไมโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วง[7]

การค้นพบ[แก้]

ปัจจุบันนักดาราศาสตร์มีการยืนยันว่าค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบมากกว่า 3,500 ดวง และส่วนใหญ่ดาวเหล่านี้ถูกค้นพบโดยการใช้วิธีวัดการเคลื่อนผ่านหน้า (Transit M

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1229292

คุณลักษณะ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พจนานุกรมดาราศาสตร์ - สมาคมดาราศาสตร์ไทย
  2. Valencia, Diana; Dimitar D. Sasselov; Richard J. O'Connell (2007). "Radius and structure models of the first super-earth planet". The Astrophysical Journal. 656 (1): 545–551. doi:10.1086/509800.
  3. Fortney; และคณะ (2007). "Planetary Radii across Five Orders of Magnitude in Mass and Stellar Insolation: Application to Transits". The Astrophysical Journal. 659 (2): 1661–1672. doi:10.1086/512120.
  4. Peter N. Spotts. Canada's orbiting telescope tracks mystery 'super Earth' เก็บถาวร 2009-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Hamilton Spectator, 2007-04-28
  5. "Life could survive longer on a super-Earth - space - 11 November 2007 - New Scientist Space". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-11. สืบค้นเมื่อ 2009-10-10.
  6. "ICE - News Detail". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-01. สืบค้นเมื่อ 2009-10-10.
  7. Looking for Extraterrestrial Life in All the Right Places Newswise, เก็บข้อมูลเมื่อ 15 ธันวาคม 2008.