ดาบิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาบิก

دابق
เมือง
ดาบิกตั้งอยู่ในประเทศซีเรีย
ดาบิก
ดาบิก
ที่ตั้งในประเทศซีเรีย
พิกัด: 36°32′14″N 37°16′05″E / 36.5372°N 37.2681°E / 36.5372; 37.2681
ประเทศ ซีเรีย
เขตผู้ว่าการอะเลปโป
อำเภออะอ์ซาซ
ตำบลอัคตะรีน
ควบคุมโดยธงของประเทศตุรกี ตุรกี
ฝ่ายค้านซีเรีย รัฐบาลเฉพาะกาลซีเรีย
ความสูง449.18 เมตร (1,473.69 ฟุต)
ประชากร
 (2004)[1]
3,364 คน
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก)
รหัสภูมิศาสตร์C1597

ดาบิก (อาหรับ: دابق) เป็นเมืองในซีเรียตอนเหนือ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือจากอะเลปโปประมาณ 40 กิโลเมตร (25 ไมล์) และห่างจากชายแดนซีเรีย-ตุรกีทางใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร (6.2 ไมล์) ตัวเมืองอยู่ในตำบลอัคตะรีน อำเภออะอ์ซาซ เขตผู้ว่าการอะเลปโป จากสำมะโน ค.ศ. 2004 ดาบิกมีประชากร 3,364 คน[1] เมืองนี้เป็นที่ตั้งของยุทธการที่มัรจญ์ดาบิกใน ค.ศ. 1516 ที่จักรวรรดิออตโตมันเอาชนะรัฐสุลต่านมัมลูก[2]

ในอวสานวิทยาอิสลาม เชื่อกันว่าดาบิกเป็นหนึ่งในสองสถานที่มีความเป็นไปได้ (อีกแห่งคืออะอ์มาก) ที่จะเกิดสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวคริสต์ผู้รุกรานกับชาวมุสลิมผู้ปกป้อง และท้ายที่สุกมุสลิมจะเป็นฝ่ายชนะและถือเป็นจุดเริ่มต้นของวาระสุดท้าย รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ กลุ่มก่อการร้ายอิสลาม เชื่อว่าดาบิกเป็นสถานที่ที่จะเกิดสงครามใหญ่ต่อกองทัพคริสเตียนจากตะวันตก และตั้งชื่อนิตยสารออนไลน์ตามชื่อหมู่บ้านนี้[2] หลังกองทัพตุรกีและกบฏซีเรียขับไอซิสออกจากดาบิกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2016 ทางกลุ่มแทนที่สื่อนี้ด้วย รูมียะฮ์

ในอวสานวิทยาอิสลาม[แก้]

ฮะดีษที่กล่าวถึงอวสานวิทยาอิสลามมีการกล่าวถึงดาบิกเป็นสถานที่ที่จะเกิดเหตุการณ์บางอย่างในมะลาฮิมของมุสลิม (เทียบเท่ากับ apocalypse หรืออารมาเกดโดนของคริสต์)[3] อะบูฮุร็อยเราะฮ์รายงานในฮะดีษที่ศาสดามุฮัมมัดพูดไว้ว่า:

วาระสุดท้ายจะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าชาวโรมันจะมาถึงอัลอะอ์มากหรือที่ดาบิก กองทัพที่ประกอบด้วยผู้คน (ทหาร) ที่เก่งที่สุดในโลกในเวลานั้นจะมาจากมะดีนะฮ์ (เพื่อต่อต้านพวกเขา)[4]

นักวิชาการและผู้อธิบายฮะดีษเสนอแนะว่าคำว่า ชาวโรมัน สื่อถึงชาวคริสต์[5] ฮะดีษที่เกี่ยวข้องกับชัยชนะของชาวมุสลิมยังกล่าวถึงเหตุการณ์หลังจากนั้นว่า หลังจากนั้นจะมีการยึดครองคอนสแตนติโนเปิลอย่างสันติด้วยการตักบีรและตัสบีห์ และท้ายที่สุดคือความพ่ายแพ้ของอัลมะซีฮุดดัจญ์ญาลหลังการกลับมาและลงมาของพระเยซูคริสต์[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "2004 Census Data for Nahiya Akhtarin" (ภาษาอาหรับ). Syrian Central Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-09-05. Also available in English: UN OCHA. "2004 Census Data". Humanitarian Data Exchange.
  2. 2.0 2.1 McCants, William (3 October 2014). "ISIS fantasies of an apocalyptic showdown in northern Syria". Markaz. Washington, D.C.: Brookings Institution. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2016. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  3. Giles Fraser (10 October 2014). "To Islamic State, Dabiq is important – but it's not the end of the world". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 16 November 2014.
  4. Sahih-Muslim Hadith, Vol. 41, Chap. 9, Hadith 6924, per Abu Huraira from Quran/Hadith study site: The Only Quran. Retrieved 16 November 2014
  5. Farzana Hassan (15 Jan 2008). Prophecy and the Fundamentalist Quest: An Integrative Study of Christian and Muslim Apocalyptic Religion (illustrated ed.). McFarland. p. 41. ISBN 9780786480791.
  6. Farzana Hassan (15 Jan 2008). Prophecy and the Fundamentalist Quest: An Integrative Study of Christian and Muslim Apocalyptic Religion (illustrated ed.). McFarland. pp. 41–2. ISBN 9780786480791.
  7. Muhammad Saed Abdul-Rahman (2009). The Meaning and Explanation of the Glorious Qur'an (Vol 2) (2 ed.). MSA Publication Limited. pp. 311–12. ISBN 9781861797667.

บรรณานุกรม[แก้]