ดับเบิลดรากอน 3: เดอะโรเซตตาสโตน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดับเบิลดรากอน 3: เดอะโรเซตตาสโตน
ดับเบิลดรากอน 3: เดอะโรเซตตาสโตน
โบรชัวร์ญี่ปุ่นจากเวอร์ชันอาร์เคด พร้อมภาพประกอบโดยคาซูมิ คากิซากิ
ผู้พัฒนาอีสต์เทคโนโลยี
ผู้จัดจำหน่ายเทคนอสเจแปน
ออกแบบเค. อิชิกาวะ
ที. อิริซาวะ
ที. ชิดะ
เจ. ฮาเซพิน
เอช. นาโงชิ
ยู. โฮชิโนะ
โปรแกรมเมอร์เอ็น. ทากิโอกะ
อี. โองูระ
วาย. คัตสึมาตะ
แต่งเพลงอากิระ อิโนอูเอะ
ทากาโระ โนซากิ
ชุดดับเบิลดรากอน
เครื่องเล่นอาร์เคด, แอมสตรัด ซีพีซี, อามิกา, อาตาริ เอสที, คอมโมดอร์ 64, แซดเอกซ์ สเปกตรัม, ดอส, เกมบอย, เมกาไดรฟ์, ไอโอเอส, แอนดรอยด์
วางจำหน่าย
แนวบีตเอ็มอัป
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

ดับเบิลดรากอน 3: เดอะโรเซตตาสโตน[a] (อังกฤษ: Double Dragon 3: The Rosetta Stone) เป็นเกมแนวบีตเอ็มอัปแบบฉายด้านข้างที่ผลิตโดยบริษัทเทคนอสเจแปน ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในฐานะเกมอาร์เคด ค.ศ. 1990 นับเป็นเกมอาร์เคดภาคสามในซีรีส์ดับเบิลดรากอน

รูปแบบการเล่น[แก้]

ฉากสายพานเลื่อนในเวอร์ชันอาร์เคดซึ่งแสดงตัวละครผู้เล่นสามคนที่ต่อสู้กับศัตรู

ดับเบิลดรากอน 3 สามารถตั้งค่าให้เล่นพร้อมกันได้สูงสุดสองคนหรือสามคน ซึ่งคล้ายกับเกมเดอะคอมบาไทรส์ ผู้เล่นสองคนแรกจะบังคับเป็นวีรบุรุษผู้กลับมา ได้แก่ บิลลี และจิมมี ลี ตามลำดับ ในขณะที่ผู้เล่นคนที่สามจะควบคุมตัวละครใหม่ชื่อซอนนี (ชุดเหลืองของพี่น้องตระกูลลี) การควบคุมประกอบด้วยก้านควบคุมแปดทิศทางและปุ่มสามปุ่มอีกครั้ง แต่ระบบการต่อสู้ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมากจากเกมภาคก่อน เกมภาคนี้จะละทิ้งปุ่มโจมตีทิศทางจากดับเบิลดรากอน II: เดอะรีเวนจ์ และกลับไปใช้รูปแบบต่อยและเตะของดับเบิลดรากอน ดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหว เช่น การตีศอกและการจับผมได้ถูกเอาออกไปและมีการเพิ่มความสามารถใหม่เข้ามาแทนที่ ในภาคนี้ผู้เล่นสามารถวิ่งได้โดยการดันก้านควบคุมไปทางซ้ายหรือขวาสองครั้งและทำการเคลื่อนไหวโดยใช้ผู้เล่นคนที่สอง เช่น ลูกเตะเฮอริเคนแบบหันหลังชนกันเมื่อยืนใกล้กัน และกระโดดเตะสามเหลี่ยมเมื่อผู้เล่นคนหนึ่งกระโดดเข้าหาอีกฝ่าย ส่วนการเคลื่อนไหวใหม่อื่น ๆ ได้แก่ การวิ่งเฮดบัตต์, ท่าทุ่มหลังเอว และการกระโดดทิ้งเข่า

ในช่วงเริ่มต้นของบางด่าน ผู้เล่นจะสามารถเข้าถึงร้านขายไอเทมที่พวกเขาสามารถซื้อการเพิ่มพลังในเกม เช่น ความเร็วในการโจมตีที่เร็วขึ้น หรือการเคลื่อนไหวใหม่โดยใช้เงินจริง การเลือกไอเทมจะแตกต่างกันไปในแต่ละด่าน และแต่ละด่านจะใช้เครดิตเดียว ที่ร้านค้าในเกมเหล่านี้ ผู้เล่นต้องยอดเหรียญลงในเครื่องอาร์เคดเพื่อซื้อการอัปเกรด, พาวเวอร์-อัป, พลังชีวิต, อาวุธ, การเคลื่อนไหวพิเศษ และตัวละครของผู้เล่น[1]

ไอเทมอย่าง "เอกซ์ตราไกส์" (Extra Guys) ช่วยให้ผู้เล่นสามารถควบคุมตัวละครใหม่หนึ่งในสามตระกูลนอกเหนือจากพี่น้องตระกูลลี (リー兄弟) ตัวละครเหล่านี้มาจากทีมพี่น้องนักต่อสู้อื่น ๆ เช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้เล่นแต่ละคนสามารถควบคุมสมาชิกคนอื่นของกลุ่มดังกล่าวได้ เมื่อนักสู้คนปัจจุบันของผู้เล่นถูกสังหาร คนใหม่จะมาแทนที่ โดยพื้นฐานแล้วจะแทนที่ระบบชีวิตพิเศษจากเกมภาคก่อน นักสู้ใหม่เหล่านี้ประกอบด้วยพี่น้องตระกูลเออร์คิวเดซ (ユキーデ兄弟) (แชมป์ศิลปะการต่อสู้แบบผสม), พี่น้องตระกูลเฉิน (陳兄弟) (ผู้เชี่ยวชาญด้านไท่เก๊ก) และพี่น้องตระกูลโอยามะ (大山兄弟) (ปรมาจารย์คาราเต้) ผู้เล่นแต่ละคนสามารถบรรจุนักสู้สำรองได้สูงสุดสามคน และความพร้อมใช้งานของสายพันธุ์นักสู้จะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับด่าน

ดับเบิลดรากอน 3 เวอร์ชันญี่ปุ่นได้รับการสร้างขึ้นหลังจากที่เกมได้วางจำหน่ายแล้วในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ที่โดดเด่นที่สุดคือร้านค้าไอเทมถูกลบออกจากเกม และตอนนี้ผู้เล่นสามารถเลือกตัวละครที่จะควบคุมได้ในตอนเริ่มเกม ทำให้สามารถเริ่มเกมในฐานะนักสู้ใหม่สามรูปแบบ (เออร์คิวเดซ, เฉิน และโอยามะ) นอกจากพี่น้องตระกูลลี ผู้เล่นสามารถเข้าถึงการเคลื่อนไหวทั้งหมดของตัวละคร แม้ว่าการป้อนคำสั่งสำหรับลูกเตะเฮอริเคนจะต้องใช้เวลาที่แม่นยำกว่าในเวอร์ชันญี่ปุ่น เนื่องจากอาวุธไม่ใช่ไอเทมที่หาซื้อได้อีกต่อไป จึงสามารถพบได้ในบางด่าน ซึ่งรอให้ผู้เล่นหยิบขึ้นหากเขาควบคุมพี่น้องตระกูลลีคนใดคนหนึ่ง เกมเวอร์ชันนี้ยังได้รับการทำให้ง่ายกว่า โดยศัตรูสร้างความเสียหายน้อยกว่าเวอร์ชันที่ได้รับการเปิดตัวในต่างประเทศถึง 1 ใน 3

โครงเรื่อง[แก้]

หลังจากกลับบ้านจากภารกิจฝึกฝนสองปี บิลลี และจิมมี ลี ได้พบกับหมอดูชื่อฮิรูโกะ เธอบอกพี่น้องตระกูลลีว่าเพื่อที่จะท้าทายศัตรูที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก พวกเขาต้องค้นหาศิลาโรเซตตาทั้งสามที่กระจัดกระจายไปทั่วโลก

เกมดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในสหรัฐ ซึ่งพี่น้องตระกูลลีต้องเอาชนะแก๊งแบล็กวอร์ริเออส์ที่เหลือจากภาคก่อน ก่อนที่พวกเขาจะออกเดินทางเพื่อค้นหาศิลา หลังจากนั้น เหล่าฮีโรจะต้องเดินทางไปประเทศจีน, ญี่ปุ่น และอิตาลี โดยศิลาแต่ละก้อนได้รับการคุ้มกันโดยนักสู้ที่น่าเกรงขามซึ่งมีลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศ (เช่น นักดาบในญี่ปุ่น และนักธนูในอิตาลี) พวกเขาปฏิเสธที่จะยอมแพ้โดยไม่มีการต่อสู้ เมื่อจัดหาศิลาโรเซตตาทั้งสามก้อนแล้ว การเดินทางของพี่น้องตระกูลลีก็มาถึงจุดหมายปลายทางสุดท้ายในอียิปต์ ซึ่งพวกเขาต้องเผชิญกับสิ่งมีชีวิตเหนือธรรมชาติทุกประเภทเมื่อพวกเขาเข้าไปในสุสานของคลีโอพัตราเพื่อเปิดเผยความลึกลับที่มีอยู่รอบศิลา

การพัฒนา[แก้]

เกมดังกล่าวไม่ได้รับการพัฒนาภายในโดยเทคนอสเจแปน ซึ่งยุ่งอยู่กับการทำงานในโครงการอื่น ๆ ในเวลานั้น เช่น ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟซูเปอร์สตาส์ และเดอะคอมบาไทรส์ โดยได้รับการแทนที่จากบริษัทที่ชื่ออีสต์เทคโนโลยี ซึ่งมีผลงานก่อนหน้านี้เป็นเกมอาร์เคดแนวชูตเอ็มอัปใน ค.ศ. 1989 อย่างไจแกนเดส โดยได้รับสัญญาให้พัฒนาเกมภาคสามในซีรีส์ ส่งผลให้เกิดภาคต่อที่มีรูปแบบการเล่นและกราฟิกที่แตกต่างกันอย่างมากจากภาคก่อน ๆ เกมดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงกันในการเปิดตัวเนื่องจากมีการเพิ่มร้านค้าไอเทมที่ผู้เล่นได้รับการเพิ่มพลังโดยการใส่เงินจริงลงในตู้ ซึ่งถูกลบออกจากการเปิดตัวในญี่ปุ่นในภายหลังหลังจากการตอบรับเชิงลบจากผู้เล่น[2]

ดนตรี[แก้]

เพลงแต่งโดยอากิระ อิโนอูเอะ และทากาโระ โนซากิ แทนที่นักแต่งเพลงดับเบิลดรากอนดั้งเดิม คาซูนากะ ยามาเนะ ซึ่งยุ่งอยู่กับการแต่งเพลงให้กับเดอะคอมบาไทรส์ในเวลานั้น (หลังจากนั้น ยามาเนะได้กลับมาสำหรับซูเปอร์ดับเบิลดรากอน) อิโนอูเอะแต่งเพลงประกอบสำหรับด่านในสหรัฐ, อิตาลี และอียิปต์ (รวมถึงธีมการต่อสู้ของบอส) ในขณะที่โนซากิทำงานในส่วนที่เหลือ ซาวด์แทร็กได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1991 โดยโพนีแคนยอนที่ประเทศญี่ปุ่นในรูปแบบซีดีอัลบัมร่วมที่รวมซาวด์แทร็กของเดอะคอมบาไทรส์ โดยมีหมายเลขแคตตาล็อกคือพีซีซีบี-00065 ครึ่งแรกของอัลบัม (แทร็ก 1 ถึง 12) ครอบคลุมส่วนของดับเบิลดรากอน 3 ซึ่งรวมถึงธีมไตเติลในเวอร์ชันที่จัดไว้ อัลบัมนี้ไม่มีธีมร้านค้าที่มีอยู่ในเกมเวอร์ชันส่งออก

แทร็กของอิโนอูเอะเวอร์ชันเดโมในภายหลังได้รับการอัปโหลดลงในช่องยูทูบส่วนตัวและช่องนิโกะนิโกะใน ค.ศ. 2014 พวกมันได้รับการบันทึกไว้ในเครื่องสังเคราะห์เสียงคอร์ก ที3[3][4]

การตลาด[แก้]

เวอร์ชันสำหรับแฟมิคอมที่มีชื่อว่าดับเบิลดรากอน III: เดอะเซคริดสโตนส์ ได้รับการเปิดตัวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 ซึ่งเป็นไม่กี่เดือนหลังจากการเปิดตัวเกมอาร์เคด เวอร์ชันนี้ไม่ใช่พอร์ต แต่เป็นโปรเจกต์คู่ขนานที่พัฒนาขึ้นพร้อม ๆ กับการเปิดตัวอาร์เคด[5] แม้ว่าโครงเรื่องของทั้งสองเวอร์ชันจะคล้ายกัน แต่กราฟิก, ระบบรูปแบบการเล่น และตัวละครในเวอร์ชันแฟมิคอมนั้นแตกต่างกันมากเมื่อเทียบกับเวอร์ชันอาร์เคด

ดับเบิลดรากอน 3 ได้รับการย้ายไปยังแพลตฟอร์มต่าง ๆ ภายใต้ใบอนุญาตจากเทรดเวสต์ โดยมีการเปิดตัวเวอร์ชันสำหรับแซดเอกซ์ สเปกตรัม, แอมสตรัด ซีพีซี, คอมโมดอร์ 64, อามิกา และอาตาริ เอสที ในปลาย ค.ศ. 1991 ตามด้วยไอบีเอ็มพีซี, เมกาไดรฟ์ และเกมบอยใน ค.ศ. 1992 เกมเวอร์ชันเหล่านี้ได้รับการพัฒนาโดยเดอะเซลส์เคิร์ฟ ยกเว้นเวอร์ชันเมกาไดรฟ์ (ซึ่งจัดการโดยซอฟต์แวร์ครีเอชันส์) เวอร์ชันเกมบอยและเมกาไดรฟ์ได้รับการเผยแพร่โดยแอ็กเคลมภายใต้ชื่อดับเบิลดรากอน 3: เดอะอาร์เคดเกม ซึ่งแตกต่างจากแฟมิคอมรุ่นก่อนหน้านี้[6]

ดับเบิลดรากอน 3 ได้รับการเปิดตัวอีกครั้งใน ค.ศ. 2013 ควบคู่ไปกับเกมอาร์เคดสองภาคแรกในชื่อชุด ดับเบิลดรากอนทริลโอจี ที่ผลิตโดยดอตอีมู ซึ่งวางจำหน่ายบนแพลตฟอร์มไอโอเอส, แอนดรอยด์ และสตีม โดยรวมเฉพาะเกมเวอร์ชันต่างประเทศเท่านั้น

ส่วนดับเบิลดรากอน III เวอร์ชันแฟมิคอมได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 สำหรับวียู เวอร์ชวลคอนโซล[7]

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
คอมพิวเตอร์แอนด์วิดีโอเกมส์83 เปอร์เซ็นต์[11]
แครช70 เปอร์เซ็นต์[9]
ซินแคลร์ยูสเซอร์93 เปอร์เซ็นต์[10]
ยัวร์ซินแคลร์88 เปอร์เซ็นต์[8]

ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนได้จัดอันดับดับเบิลดรากอน 3: เดอะโรเซตตาสโตน ในฉบับวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1991 ว่าเป็นหน่วยเกมอาร์เคดบนโต๊ะที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเป็นอันดับสามของปี[12]

จูเลียน ริกนาลล์ เขียนบทความในนิตยสารคอมพิวเตอร์แอนด์วิดีโอเกมส์ โดยตอบสนองในเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลงของเกมไปสู่รูปแบบศิลปะที่สมจริงยิ่งขึ้น และแนะนำเกมให้กับแฟน ๆ ของซีรีส์นี้โดยให้คะแนนที่ 83 เปอร์เซ็นต์[11]

เกมดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องการใช้ไมโครทรานแซ็กชันเพื่อซื้อไอเทมในเวอร์ชันอเมริกาเหนือ ซึ่งต่อมาถูกลบออกจากเกมเวอร์ชันญี่ปุ่น[1][2]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ダブルドラゴン3 ザ・ロゼッタストーン Daburu Doragon 3: Za Rozetta Sutōn

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Derboo, Sam (November 4, 2016). "Double Dragon 3 (Arcade)". Hardcore Gaming 101. สืบค้นเมื่อ 15 May 2020.
  2. 2.0 2.1 "Sakekan interviews Yoshihisa Kishimoto (Part 1)" (ภาษาญี่ปุ่น). Gamer.ne.jp. สืบค้นเมื่อ 2 January 2015.
  3. "Akira Inoue's channel". Youtube.
  4. "イノウエアキラ's user page". niconico (ภาษาญี่ปุ่น).
  5. "Inside stories by Yoshihisa Kishimoto" (ภาษาญี่ปุ่น). Star.ap.teacup.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-22. สืบค้นเมื่อ 2 January 2015.
  6. Double Dragon 3: The Arcade Game is a trademark of Technōs Japan Corporation. © 1990 Technōs Japan Corp. Licensed exclusively to Tradewest, Inc. Programmed by Software Creations, Ltd. Sublicensed to Acclaim Entertainment, Inc. Sega and Genesis are trademarks of Sega Enterprises Ltd. Flying Edge is a trademark of Acclaim Entertainment, Inc. © 1992 Acclaim Entertainment, Inc. All rights reserved. -- From the back box of the Genesis version
  7. https://www.nintendo.com/games/detail/double-dragon-iii-the-sacred-stones-wii-u
  8. "Double Dragon III". Ysrnry.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2014. สืบค้นเมื่อ 2 January 2015.
  9. "World of Spectrum - Archive - Magazine viewer". Worldofspectrum.org. สืบค้นเมื่อ 2 January 2015.
  10. "World of Spectrum - Archive - Magazine viewer". Worldofspectrum.org. สืบค้นเมื่อ 2 January 2015.
  11. 11.0 11.1 Rignall, Julian (February 1991). "Double Dragon III: The Rosetta Stone". Computer and Video Games.
  12. "Game Machine's Best Hit Games 25 - テーブル型TVゲーム機 (Table Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 395. Amusement Press, Inc. 1 January 1991. p. 37.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]