ซีกโลก
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ในภูมิศาสตร์และวิชาการทำแผนที่ ซีกโลก คือการกล่าวถึงส่วนของโลกที่ถูกแบ่งเป็นสองซีก (ซีก หรือ Hemispheres มาจากภาษากรีกโบราณ ἡμισφαίριον hēmisphairion อันมีความหมายว่า "ครึ่งทรงกลม")
การแบ่งซีกโลกส่วนมากจะใช้เส้นละติจูดและลองจิจูด[1]:
- เหนือ–ใต้
- ซีกโลกเหนือ คือบริเวณครึ่งหนึ่งของโลกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปถึงขั่วโลกเหนือ
- ซีกโลกใต้ คือบริเวณครึ่งหนึ่งของโลกที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรลงไปถึงขั่วโลกใต้
- ตะวันออก–ตะวันตก
- ซีกโลกตะวันออก คือบริเวณครึ่งหนึ่งของโลกที่อยู่ทางตะวันออกของเส้นเมริเดียนแรกไปจนถึงเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา
- ซีกโลกตะวันตก คือบริเวณครึ่งหนึ่งของโลกที่อยู่ทางตะวันตกของเส้นเมริเดียนแรกไปจนถึงเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา
การแบ่งซีกโลกตะวันออกและซีกโลกตะวันตกยังมีความสำคัญในแง่ของวัฒนธรรมเพราะแสดงให้ถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่าง 2 ซีกโลก
อย่างไรก็ตามยังมีการพยายามที่จะแบ่งดาวเคราะห์ออกเป็นสองซีกโดยใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ์ เช่น:
- แผ่นดิน–น้ำ [2]
- ซีกโลกแผ่นดิน คือซีกของโลกที่มีพื้นดินมากที่สุดเท่าที่จะมากได้
- ซีกโลกสมุทร คือซีกของโลกที่มีน้ำมากที่สุด
นอกจากนี้การฉายแสงของดางอาทิตย์ก็สามารถแบ่งโลกเป็น 2 ซีกคือกลางวันและกลางคืนได้
อ้างอิง[แก้]
ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ซีกโลก