ข้ามไปเนื้อหา

ซีกโลกพื้นดิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลกเมื่อมองจากกึ่งกลางของซีกโลกพื้นดิน

ซีกโลกพื้นดิน (เยอรมัน: Landhemisphäre) คือซีกโลกที่แบ่งด้วยวงกลมใหญ่ที่มีสัดส่วนของแผ่นดิน มากที่สุดบนผิวโลก[1] โดยซีกโลกตรงข้ามเรียกว่า ซีกโลกพื้นน้ำ[1] ชื่อเรียกนี้ได้คิดค้นขึ้นโดยอัลเบร็คท์ เพ็งค์ นักภูมิศาสตร์ ชาวเยอรมัน[2][1]

ศูนย์กลางของซีกโลกพื้นดินปัจจุบันอยู่ใกล้ เมืองน็องต์ ประเทศฝรั่งเศส (ละติจูด 47 องศา 13 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 1 องศา 32 ลิปดาตะวันตก)[1]

ภาพรวม

[แก้]

ซีกโลกภาคพื้นดินประกอบด้วย 88% ของผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลก[1] ประกอบไปด้วยบางส่วนของทวีปยูเรเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้[2] พื้นที่ส่วนใหญ่ของส่วนที่มหาสมุทรคือ มหาสมุทรแอตแลนติก

แม้ในซีกโลกพื้นดิน อัตราส่วนของผืนแผ่นดินต่อผืนทะเล ก็ยังเป็นแค่ 49:51 นั่นคือยังมีทะเลมากกว่าแผ่นดิน (ในขณะที่ 88.7% ของซีกโลกพื้นน้ำคือมหาสมุทร) เนื่องจากผืนแผ่นดินจะเคลื่อนตัวด้วยความเร็วหลายเซนติเมตรต่อปีเนื่องจากการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค จุดศูนย์กลางของซีกโลกพื้นดินเองก็เคลื่อนตัวไปตามเวลาทางธรณีวิทยา

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 浮田ほか 2004.
  2. 2.0 2.1 日本地誌研究所 1989.