ชานจาแผ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชานจาแผ่น
山楂餠
บรรจุภัณฑ์ชานจาแผ่น ห่อเป็นแท่ง ที่พบทั่วไป
ชื่ออื่นเซียงจา, ชานจาปิ่ง, haw flakes
ประเภทขนมหวาน, อาหารว่าง
แหล่งกำเนิดประเทศจีน
ส่วนผสมหลักผลชานจา, น้ำตาล
ชานจาแผ่น
อักษรจีนตัวเต็ม山楂
อักษรจีนตัวย่อ山楂
บรรจุภัณฑ์แบบอื่น
ชานจาแบบแผ่นใหญ่

ชานจาแผ่น หรือ เซียงจา (จีน: 山楂餠; พินอิน: shān zhā bǐng; ชานจาปิ่ง; อังกฤษ: haw flakes) เป็นขนมจีนที่ทำจากผลชานจาของจีน เป็นแท่งและตัดเป็นแผ่น ๆ สีน้ำตาลอ่อนอมชมพูอ่อน หรือน้ำตาลแดง หนา 2 มิลลิเมตร และบรรจุในหลอดกระดาษทรงกระบอกในแบบดั้งเดิมสีแดง โดยปกติแล้วใช้กินเป็นของว่างรสหวานอมเปรี้ยวพร้อมกับชาหรือเป็นของว่างสำหรับเด็ก บางคนกินเพื่อลดรสขมของยาสมุนไพรจีน[1]

การจัดจำหน่าย[แก้]

ชานจาแผ่น (เซียงจา) มีจำหน่ายทั่วไปในประเทศจีน ตลาดย่านคนเชื้อสายจีนทั้งในเอเชียและประเทศทางตะวันตก มีขนาดที่หลากหลายโดยทั่วไปที่ขายในประเทศไทยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 มิลลิเมตร ในขณะที่บางยี่ห้อมีขนาด 35–40 มิลลิเมตร ความหนาโดยทั่วไป 2 มิลลิเมตร

ปัจจุบันชานจาแผ่นเพิ่มประเภทน้ำตาลต่ำและไร้สารเติมแต่งซึ่งมักมีสีที่ซีดอ่อนกว่าแบบธรรมดา เพื่อมุ่งเป้าไปที่ผู้ใส่ใจสุขภาพ สามารถซื้อได้ในประเทศจีน แต่มีปริมาณไม่มากในต่างประเทศ

รูปแบบอื่นที่พบได้แก่ แบบตัดเป็นแท่งหรือเป็นก้อนทรงลูกบาศก์ ซึ่งเป็นชั้นคล้ายขนมชั้น

ในประเทศไทย[แก้]

มักเรียก "ชานจาแผ่น" ในชื่อ "เซียงจา" บางครั้งยังเรียก "เซียงจาบ๊วยแผ่น" หรือ "บ๊วยแผ่นเซียงจา"[2] ซึ่งเป็นเพียงการอ้างอิงขนมที่มีรสเปรี้ยวแบบบ๊วย[3] ทั้งที่ไม่มีส่วนประกอบของบ๊วย ต่างจาก"บ๊วยแผ่น" ที่ทำจากบ๊วยโดยตรงและมักผลิตเป็นแผ่นยาวบาง[4]

รวมทั้งบางครั้งมีการเข้าใจผิดว่า ชานจา คือพุทราจีนชนิดหนึ่งด้วย[3]

ระเบียบข้อบังคับด้านสุขภาพ[แก้]

สีผสมอาหาร[แก้]

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) ได้ตรวจยึดชานจาแผ่นหลายครั้ง เนื่องจากตรวจพบ Ponceau 4R (E124, Acid Red 18) ซึ่งเป็นสีผสมอาหารที่ไม่ผ่านการอนุมัติ[5][6] Ponceau 4R ยังอนุญาตใช้ในยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย แต่ไม่ผ่านการรับรองจาก US FDA ในปี พ.ศ. 2549 คณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศจีนได้ประกาศอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานซึ่งรวมชานจาแผ่นจาก 3 บริษัทมีการผสมสารเพิ่มสีแดงที่เป็นสารก่อมะเร็งผสมอยู่[3][7] เมื่อปี พ.ศ. 2557 ในประเทศไทยคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ระบุว่ามีการขึ้นทะเบียนการนำเข้าชานจาแผ่น จาก 8–9 บริษัทแต่ยังไม่พบว่าเป็น 3 บริษัทดังกล่าว[8]

ปัจจุบัน ชานจาแผ่นบางยี่ห้อมีสีผสมอาหาร Allura Red AC (FD& C #40) (สีแดง) ซึ่งในยุโรปเป็นสีผสมอาหารที่ไม่แนะนำให้เด็กบริโภค และมีระเบียบข้อบังคับการห้ามใช้สีผสมอาหารในเดนมาร์ก เบลเยียม ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์

น้ำตาล[แก้]

โดยทั่วไปผลชานจาสด อาจช่วยในการควบคุมและรักษาสมดุลภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) ให้ดีขึ้น[9]และการไหลเวียนของเลือด[10] อย่างไรก็ตามชานจาแผ่นแบบทั่วไปทำขึ้นการเติมน้ำตาลจำนวนมาก ทำให้ไม่มีผลที่ดีในทางสุขภาพ

อ้างอิง[แก้]

  1. RTHK.org. "RTHK.org[ลิงก์เสีย]." Bitter but healing. Retrieved on 2009-05-31.
  2. "เห็นแล้วอ๋อควรพิจารณาอายุ..? ชวนย้อนวันวาน 10 ความอร่อยขนมวัยเยาว์". www.thairath.co.th. 2015-01-09.
  3. 3.0 3.1 3.2 "จีนห้ามขาย "เซียงจา" เหตุมีสารก่อมะเร็ง". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2014-01-23.
  4. "การพัฒนาบ๊วยแผ่นจากบ๊วยดอง". kukr2.lib.ku.ac.th.
  5. "Enforcement Report for August 29, 2001". FDA Enforcement Report. United States Food and Drug Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-13. สืบค้นเมื่อ 2007-07-02.
  6. "Enforcement Report for August 16, 2000". FDA Enforcement Report. United States Food and Drug Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-11. สืบค้นเมื่อ 2007-07-02.
  7. "[Nonsense] ขนม เชียงจา ที่ทุกคนต่างชอบกินมีสารก่อมะเร็งนะรู้ยัง!". www.blockdit.com.
  8. "อย. ยืนยัน'ขนมเซียงจาหรือซันจา' ไทยไม่นำเข้า". www.thairath.co.th.
  9. Dehghani, Shahrzad; Mehri, Soghra; Hosseinzadeh, Hossein. "The effects of Crataegus pinnatifida (Chinese hawthorn) on metabolic syndrome: A review". Iranian Journal of Basic Medical Sciences. 22 (5). doi:10.22038/ijbms.2019.31964.7678. PMC 6556496. PMID 31217924.{{cite journal}}: CS1 maint: PMC format (ลิงก์)
  10. 山楂葉 Shanzhaye. Hong Kong Babtist University, School of Chinese Medicine. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2564.