ชัยภูมิ ป่าแส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัยภูมิ ป่าแส
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2543
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
เสียชีวิต17 มีนาคม พ.ศ. 2560 (17 ปี)
ด่านตรวจบ้านรินหลวง ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นจะอุ๊
การศึกษาโรงเรียนเชียงดาววิทยาคม[1]
มีชื่อเสียงจากนักสิทธิส่งเสริมความชอบธรรมของชนกลุ่มน้อย

ชัยภูมิ ป่าแส เป็นนักกิจกรรมเยาวชนสิทธิมนุษยชนชาวลาหู่จากประเทศไทย เพื่อส่งเสริมสิทธิความชอบธรรมของชนกลุ่มน้อยภายในสังคม เขาถูกสังหารที่ด่านตรวจบ้านรินหลวงในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยเจ้าหน้าที่ทหารของกองทัพบกในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560 กองทัพบกแถลงว่าเพื่อเป็นการสกัดชัยภูมิเนื่องจากขนส่งยาเสพติด โดยเจ้าหน้าที่ยังอ้างว่าเขาพยายามโยนระเบิดมาเพื่อประทุษร้ายต่อเจ้าหน้าที่ และหลบหนีการจับกุม เป็นเหตุทำให้เจ้าหน้าที่ทหารสังหารเขาโดยอ้างว่าเพื่อความปลอดภัย แม้ว่าพยานในเหตุการณ์ได้บอกว่าเขาไม่มีอาวุธและยังถูกเจ้าหน้าที่ประทุษร้ายก่อนถูกสังหาร[2][3] การสังหารเขาก่อให้เกิดเป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างวงกว้างภายในประเทศ มีการเรียกร้องจากฮิวแมนไรตส์วอตช์ให้กระทำกระบวนการสืบสวนคดีเป็นไปอย่างโปร่งใส[4] แม้ว่ากองทัพบกกล่าวว่ามีพยานหลักฐานจากวีดิทัศน์ของกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในที่เกิดเหตุ แต่ไม่มีการเปิดเผยวีดิทัศน์มาเผยแพร่อย่างเป็นสาธารณะ[5]

เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2565 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้องเพื่อยืนตามตามศาลชั้นต้นในคดีระหว่างนาปอย ป่าแส มารดาของชัยภูมิ กับกองทัพบก โดยพิเคราะห์ว่า "การกระทำของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นการละเมิด" เนื่องจากชัยภูมิขัดขวางการปฏิบัติงานและพยายามประทุษร้ายต่อเจ้าหน้าที่ตรวจค้น อังคณา นีละไพจิตร ให้ความเห็นไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องดีเอ็นเอที่ระเบิดที่ไม่มีการนำขึ้นพิจารณา โดยศาลรับฟังเพียงคำให้การของพยานบุคคล[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "2 ปีสังหาร 'ชัยภูมิ ป่าแส' ยังไม่สั่งฟ้องคดีวิสามัญฯ ภาพกล้องวงจรปิดหายไปแล้ว". ประชาไท. 18 May 2018. สืบค้นเมื่อ 18 May 2020.
  2. "Soldier fired in 'self-defence' in Lahu death". Bangkok Post. 21 March 2017. สืบค้นเมื่อ 13 February 2018.
  3. Charuvastra, Teeranai (23 March 2017). "Witness Says Soldiers Shot Lahu Activist as He Fled Beating". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 13 February 2018.
  4. "Thailand: Investigate Army Killing of Teenage Activist". Human Rights Watch (Press release). 20 March 2017. สืบค้นเมื่อ 13 February 2018.
  5. "4 ปีรัฐประหาร: ความตายของ ชัยภูมิ ป่าแส สิทธิมนุษยชนยุคทหารที่ยังไร้คำตอบ". บีบีซี. 18 May 2018. สืบค้นเมื่อ 18 May 2020.
  6. ยกฟ้องคดีทหารใช้ M16 ยิง ชัยภูมิ ป่าแส เสียชีวิต - อังคณาชี้ ไม่มีดีเอ็นเอชัยภูมิบนระเบิด – กระปุก
  7. อุทธรณ์ยืนยกฟ้อง “ครอบครัวชัยภูมิป่าแส” ฟ้องแพ่ง กองทัพบก เรียกค่าเสียหาย ลูกชายถูกวิสามัญฆาตกรรม – ผู้จัดการออนไลน์