ชัชวาลย์ โคตรสงคราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชัชวาลย์ โคตรสงคราม เป็นนักเขียนผู้เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ปี พ.ศ. 2552 จากนวนิยายเรื่อง ทะเลน้ำนม

ครอบครัว[แก้]

ชัชวาลย์ โคตรสงคราม เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2511 ที่ห้องแถวริมบึงหนองพอก อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ในครอบครัวชาวนา-ค้าขาย

  • บิดาชื่อ นายบุญเพ็ง โคตรสงคราม เกิดที่บ้านหนองขาม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็นบุตรย่าเต้ (แสนสุพรรณ) บิดาและมารดาพาอพยพจากบ้านหนองคู อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี และ นายสม โคตรสงคราม (พื้นเพอ้นดงแดง อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด)
  • มารดาชื่อ นางจอม (ปุนปอง)บุตรีนายเสน ปุนปอง ชาวบ้านหนองนกเขียน อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร และนางเผิ่ง นามสกุลเดิมคือ (บุญลักษณ์) เป็นผู้ไทเชื้อสายจากเมืองพิน เมืองเซโปน ประเทศลาว

มีพี่น้อง 5 คน ชัชวาลย์เป็นลูกคนที่ 3 มีพี่สาว 2 คน น้องสาว 1 คน และน้องชาย 1 คน

กิจกรรมทางสังคม[แก้]

  • หัวหน้าพรรคนักศึกษาชนบทสอนลอน ปี 2533-2534
  • ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารนักศึกษา วิทยาลัยครูมหาสารคาม ปี 2533
  • เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาครูภาคอีสาน (องค์การนักศึกษาวิทยาลัยครูในภาคอีสาน องค์การนักศึกษา มศ.ว. มหาสารคาม และองค์การนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) ปี 2533 (สาระสำคัญเตรียมเสนอในที่ประชุมขณะนั้นคือ 1)การนำวิทยาลัยครูเข้าสู่ระบบเอ็นทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยทั่วประเทศ 2)การเสนอเปลี่ยนชื่อจากวิทยาลัยครู เป็น มหาวิทยาลัยครุศาสตร์ แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการต่อได้)
  • พนักงานพิสูจน์อักษรหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ถนนราชดำเนิน ปี 2534
  • วิทยากรค่ายส่งเสริมการอ่านและการเขียนเยาวชน กลุ่มวรรณกรรมร่มพอกภูดิน โรงเรียนมัธยมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2533-ปัจจุบัน

การศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2525 จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเสลภูมิ (หลังแดง) อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
  • พ.ศ. 2529 จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม (หลังเขียว) อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
  • พ.ศ. 2534 ปริญญาตรีครุศาสตร์บัณฑิต (ค.บ.) สาขาภาษาไทย วิทยาลัยครูมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)
  • พ.ศ. 2550 ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยานิพนธ์เรื่อง "สุนทรียภาพในวรรณคดีลาวเรื่องสังข์ศิลป์ชัยและมหาเวสสันดรชาดก" (ฉบับภาษาลาว)

กิจกรรมสาธารณะและการงานประจำ

  • พ.ศ. 2533 นายกองค์การบริหารนักศึกษา

วิทยาลัยครูมหาสารคาม

  • พ.ศ. 2534 พนักงานพิสูจน์อักษร

หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน กรุงเทพฯ

  • พ.ศ. 2535 ครูภาษาไทย
  • พ.ศ. 2552-56 อาจารย์พิเศษ วิชาการเขียนบันเทิงคดี สาขาวิชาภาษาเพื่อการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พ.ศ. 2535-56 วิทยากรการอ่านและเขียน ระดับมัธยมและอุดมศึกษา
  • พ.ศ. 2552-56 บรรณาธิการสำนักพิมพ์หนังสือแม่น้ำโขง
  • พ.ศ. 2555 บรรณาธิการนิตยสาร อีสานไรเตอร์ ฉบับที่ 34 สโมสรนักเขียนภาคอีสาน
  • พ.ศ. 2556 อาจารย์พิเศษวิชา ร้อยแก้วร้อยกรอง

สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.

  • พ.ศ. 2554 อนุกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิเครือข่ายศิลปินเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักนายกรัฐมนตรี

ผลงานวรรณกรรม[แก้]

  • เขียนเรื่องสั้นเรื่องแรกเมื่อปี 2528 ขณะเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม เรื่อง "ความหวังของคำคอง" แต่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ โดยได้รับคำแนะนำจากบรรณาธิการวารสารหนามคอม ปรีดา ลำมะนา และครูภาษาไทยชื่อ พวงทอง แสนเยีย
  • เรื่องสั้นเรื่องที่สอง ชื่อ "ผู้มาใหม่" ปี 2530 ขณะเรียนชั้นปีที่ 1 ปริญญาตรีที่วิทยาลัยครูมหาสารคาม
  • เรื่องสั้น "ผู้มาใหม่" ได้รับรางวัลชมเชย ปี2 2530 จากการประกวดเรื่องสั้นในสัปดาห์ซีไรต์ ของภาควิชาภาษาไทย วิทยาลัยครูมหาสารคาม
  • เรื่องสั้น "หนุ่มคนป่วย" ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารแพรวรายปักษ์ ฉบับเดือนกันยายน (ปี 2533)
  • เรื่องสั้น "ถนนถ่าน" ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารสตรีสาร ฉบับเดือนสิงหาคม( ปี 2534)

บทกวี เรื่องสั้น และวาระการตีพิมพ์ (บางส่วน)

  • บทกวี ลุ่มลำน้ำเซตระการ พิมพ์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม บรรณาธิการ สุจิตต์ วงษ์เทศ (พ.ศ. 2533)
  • เรื่องสั้น "หนุ่มคนป่วย"

พิมพ์ในนิตยสารแพรวรายปักษ์ ฉบับเดือนกันยายน บรรณาธิการ สุภาวดี โกมารทัต (พ.ศ. 2534)

  • เรื่องสั้น "ถนนถ่าน" ตีพิมพ์ในนิตยสารสตรีสาร บรรณาธิการ คุณหญิงนิลวรรณ ปิ่นทอง (พ.ศ. 2534)
  • เรื่องสั้น "เป็ดบึง" พิมพ์ในนิตยสารดอกเบี้ยรายสัปดาห์ได้รับรางวัลชมเชยวรรณกรรมทอง
  • เรื่องสั้น "เงาในน้ำ" พิมพ์ในนิตยสารช่อการะเกด (พ.ศ. 2537)
  • เรื่องสั้น "ระยะสุดสายตา"
  • "เธอร่ายรำบนผนังห้อง"
  • "ลายดอกสะแบง"

พิมพ์ในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ เรื่องสั้น "เต้นรำบนโลก" พิมพ์ในไรเตอร์แม็กกาซีน บรรณาธิการ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์(พ.ศ. 2538)

  • เรื่องสั้น "ทางกลับ" พิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์

(พ.ศ. 2539)

  • เรื่องสั้น "ในประเทศของเขา" พิมพ์ในเนชั่นสุดสัปดาห์ (พ.ศ. 2543)
  • เรื่องสั้น "คุณลุงของพระเจ้า"

พิมพ์ในจุดประกายวรรณกรรม หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ(พ.ศ. 2546)

  • เรื่องสั้น "โคม" พิมพ์นิตยสารไทบ้าน(พ.ศ. 2552)
  • เรื่องสั้น "นิวาสถานมวลปีศาจกวี"

พิมพ์ในจุดประกายวรรณกรรม หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (พ.ศ. 2553)

  • เรื่องสั้นชายผู้กลายร่างเป็นนกยูง
  • เด็กสาววัยอ่อนน้อยผู้มายืนนิ่งอยู่หน้าโบสถ์"

ในรวมเรื่องสั้น "ร่างกลางห่ากระสุน" (หลายคนเขียน- สำนักพิมพ์อ่าน) (พ.ศ. 2554)

  • บทกวีสิลป์ชัย-ปัญญาอุษาคเนย์

พิมพ์ในหนังสือ ภาพกวีอีสาน อัตลักษณ์และสีสันท้องถิ่นแผ่นดินอีสาน บรรณาธิการ สมคิด สิงสง และ สุมาลี สุวรรณกร (เมษายน 2555)

บทความ

  • วรรณคดีลาว อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์
  • สุนทรียภาพเหนือเส้นพรมแดน

พิมพ์ในหนังสือ "ร่องรอยกาลเวลา"

  • โขงสายนทีแห่งชีวิต เครือญาติ ชาติพันธุ์วรรณา บรรณาธิการ ทองแถม นาถจำนง เดือนมิถุนายน (พ.ศ. 2553)
  • พลังสร้างสรรค์ในวรรณคดีลาวล้านช้าง

พิมพ์ในหนังสือ ร่องรอยกาลเวลาร่วมรู้พื้นถิ่น สุวรรณภูมิ 450 ปีเวียงจัน สายสัมพันธ์บ่กั้นขวาง ไทย สยาม ลาว วรรณกรรมสองฝั่งโขง มกราคม (พ.ศ. 2554)

  • แม่น้ำโขงหรือแม่ของผมกันแน่ที่เป็นกวี
  • แต่แม่คือผู้หญิงธรรมดาผู้เป็นแรงบันดาลใจยิ่งใหญ่

พิมพ์ในหนังสือ บทนำชีวิต รวมมุมมองและอารมณ์ความรู้สึกจากนักคิดนักเขียน 60 ชีวิต สำนักพิมพ์แม่คำผาง บรรณาธิการบริหาร ปรีดา ข้าวบ่อ (ตุลาคม พ.ศ. 2554 )

  • ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แม่น้ำสายนั้น

ชื่อสุนทรียรส พิมพ์ใน นิตยสาร ไทอีศาน ฉบับ e-books เดือนเมษายน

เรื่องสั้นแปลและวาระการตีพิมพ์

  • ค้างคืนในป่าลึก
  • จันที
  • เดือนสะหวัน

นักเขียนซีไรต์ พิมพ์ในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ พฤษภาคม (พ.ศ. 2545)

รวมเรื่องสั้น

  • เหมือนรถไฟจะมา แพรวสำนักพิมพ์ (พ.ศ. 2537)
  • ชาวนาผู้ประสบภัย แพรวสำนักพิมพ์ (พ.ศ. 2542)
  • เสียงกลองน้ำ สำนักพิมพ์หนังสือแม่น้ำโขง

(พ.ศ. 2557)

  • กาเต้นก้อน สำนักพิมพ์ทางหอมและหนังสือแม่น้ำโขง (พ.ศ. 2559)

นวนิยาย

  • พรุ่งนี้ แพรวสำนักพิมพ์ (พ.ศ. 2545)
  • ทะเลน้ำนม นวนิยายเข้ารอบสุดท้าย

รางวัลซีไรต์ (พ.ศ. 2552)

  • นกสีส้ม สำนักพิมพ์ทางหอมและหนังสือแม่น้ำโขง(พ.ศ. 2559 )

กวีนิพนธ์

  • ลุ่มลำน้ำเซตระกา พิมพ์ดีดอัดสำเนา

องค์การบริหารนักศึกษา วิทยาลัยครูมหาสารคาม (พ.ศ. 2534)

  • เสียงดีดฝ้าย สำนักพิมพ์หนังสือแม่น้ำโขง(พ.ศ. 2556)
  • ระฆังอาณานิคม สำนักพิมพ์ทางหอมและหนังสือแม่น้ำโขง (พ.ศ. 2559)

เอกสารประกอบการสอน

  • การเขียนบันเทิงคดีภาคปฏิบัติ สำนักพิมพ์หนังสือแม่น้ำโขง (พ.ศ. 2552)

ปัจจุบัน (2557) ชัชวาลย์ โคตรสงคราม พำนักอยู่จังหวัดยโสธร