ฉากประดับแท่นบูชาบารอนชี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
<font=110%>ทูตสวรรค์ (ชิ้นส่วนของแท่นบูชาบารอนชี)
ศิลปินราฟาเอล
ปีค.ศ. 1500 - ค.ศ. 1501
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนไม้
สถานที่พิพิธภัณฑ์ซิวิคา โทซิโอ มาร์ติเน็นยา, เบรสเชีย
ทูตสวรรค์ (ชิ้นส่วนของแท่นบูชาบารอนชี) (ชิ้นส่วน)
ศิลปินราฟาเอล
ปีค.ศ. 1501
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนไม้
สถานที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ฉากประดับแท่นบูชาบารอนชี (อังกฤษ: Baronci altarpiece) เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันที่เขียนโดยราฟาเอลจิตรกรคนสำคัญชาวอิตาลีสมัยเรอเนซองส์ ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ซิวิคา โทซิโอ มาร์ติเน็นยาที่เบรสเชียในประเทศอิตาลี

ราฟาเอลเขียนภาพ “ฉากประดับแท่นบูชาบารอนชี” ระหว่างปี ค.ศ. 1501 ถึงปี ค.ศ. 1501 เป็นงานชิ้นแรกที่มีหลักฐานการจ้างสำหรับเป็นฉากประดับแท่นบูชาในโบสถ์น้อยบารอนชี ในโบสถ์ซานอากอสติโน ที่ซิตาดิคาสเตลโลใกล้เมืองอูร์บีโน ฉากประดับแท่นบูชาได้รับความเสียหายอย่างหนักระหว่างแผ่นดินไหวในปี ค.ศ. 1789 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1849 ส่วนต่างที่ยังคงหลงเหลืออยู่ก็ถูกแบ่งแยกกันไปเป็นของเจ้าของหลายคน

ประวัติศาสตร์[แก้]

เมื่อวันที่10 ธันวาคม ค.ศ. 1500 ราฟาเอลและเอวันเจลิสตา ดา เปียน ดี เมเลโต (Evangelista da Pian di Meleto) ช่างเขียนสูงอายุจากเวิร์คช็อพของโจวันนี ซันตี (Giovanni Santi) บิดาของราฟาเอลได้รับค่าจ้างให้เขียนภาพใหญ่สำหรับเป็นฉากแท่นบูชาที่อุทิศให้แก่นักบุญนิโคลัสแห่งโตเลนตีโน (Nicholas of Tolentino) สำหรับโบสถ์น้อยบารอนชิ สัญญาจ้างระบุถึงราฟาเอลว่าเป็น “magister” หรือ “มาสเตอร์” ราฟาเอล เขียนเสร็จเมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1501

กลางภาพเป็นนิโคลัสแห่งโตเลนตีโนยืนกลางซุ้มโค้งโดยมีปีศาจอยู่ที่เท้า ข้าง ๆ เป็นทูตสวรรค์สามองค์ เหนือนักบุญเป็นพระเจ้าพระบิดา (God the Father) ที่ถือมงกุฏในมือล้อมรอบไปด้วยหัวเทวดา ทางด้านซ้ายเป็นพระนางมารีย์พรหมจารีและนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป

ระหว่างแผ่นดินไหวในปี ค.ศ. 1789 ฉากแท่นบูชาได้รับความเสียหายอย่างหนักจนต้องเลื่อยออกเป็นชิ้นๆ และตั้งแสดงแต่ชิ้นส่วนที่ไม่ได้รับความเสียหาย ในปีเดียวกัน สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 6 ทรงซื้อชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมของวังวาติกัน ชิ้นส่วนจึงอยู่ในวังวาติกันมาจนมาถึงปี ค.ศ. 1849 แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีหลักฐานว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับชิ้นส่วนเหล่านั้น หลายปีหลังจากนั้นนักวิชาการก็สืบหาจนพบหกชิ้น สี่ชิ้นเป็นส่วนหนึ่งของภาพเขียนเอก อีกสองชิ้นเป็นส่วนหนึ่งของฐานแท่นบูชา (predella)

ภาพที่เป็นภาพที่จินตนาการว่าเป็นภาพทั้งชิ้นเขียนแทนรูปเดิมเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 สำหรับซิตตา ดิ คาสเตลโล ส่วนภาพร่างที่ราฟาเอลเขียนสำหรับงานเดิมอยู่ที่หอวิจิตรศิลป์แห่งลิลล์และที่พิพิธภัณฑ์แอชโมเลียน (Ashmolean Museum) ที่อ็อกฟอร์ด จากภาพที่หลงเหลือทำให้สรุปได้ว่าการออกแบบทั้งหมดของแท่นบูชาทำโดยราฟาเอลแต่การเขียนภาพราฟาเอลเขียนร่วมกับเอวันเจลิสตา ดา เปียน ดี เมเลโต โดยราฟาเอลอาจจะเป็นผู้เขียนตัวฉากแท่นบูชาและเมเลโตเขียนฐานแท่นบูชา

ชิ้ส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ข้อมูลจากวิกิเยอรมันที่อ้าง:

  • Hertig, Louis (1967). Klassiker der Kunst – Raffael. Vienna: Kunstkreis Luzern – Freudenstadt. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  • Ferino Pagden, Sylvia (1989). Raffaello : catalogo completo dei dipinti. Florence: Cantini. ISBN 88-8030-146-2. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]