จิ่วซี (เครื่องราชเกียรติยศทั้ง 9)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เครื่องราชเกียรติยศทั้ง 9 หรือ จิ่วซี (จีนตัวย่อ: 九錫; จีนตัวเต็ม: 九锡; พินอิน: Jiǔ xī) เป็นเครื่องยศที่สมเด็จพระจักรพรรดิจีน จะทรงพระราชทานให้กับพระบรมราชวงศ์ และขุนนางชั้นสูงที่มีความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษ เพื่อแสดงถึงการยกย่องสูงสุด [1]

พระราชธรรมเนียมนี้เริ่มมีขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว[2] แต่ก็มิได้มีบันทึกอย่างเป็นทางการ ว่ามีผู้ใดได้รับพระราชทาน จนถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นได้มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยผู้ได้รับพระราชทานคนแรกคือหวัง หมั่ง[3] ตั้งแต่นั้น "จิ่วซี" จึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของเหล่าขุนนางชั้นสูงที่มีอำนาจปกครองเบื้องหลังจักรพรรดิ ว่าตนได้ควบคุมจักรพรรดิไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จแล้ว และอาจจะแย่งชิงเอาราชบัลลังก์ไปเมื่อไรก็ได้ จะเห็นได้ว่าในประวัติศาสตร์ของประเทศจีนที่ผ่านมาตลอดหลายพันปี ไม่เคยมีการชิงราชบัลลังก์ใดๆ ที่ไม่ได้จัดตั้งให้ตนได้รับพระราชทาน "จิ่วซี" ก่อน และก็ไม่เคยมีผู้ที่ได้รับพระราชทาน "จิ่วซี" แล้วจะไม่ทำการช่วงชิงราชบัลลังก์ในเวลาต่อมา ยกเว้นแต่ตอนที่โจผี พระราชทานจิ่วซีให้ซุนกวนในปี พ.ศ.763 (ค.ศ.220) เมื่อครั้งที่ซุนกวนยอมขึ้นต่อวุยก๊กช่วงสั้นๆ

เครื่องราชเกียรติยศทั้ง 9 มีดังนี้[แก้]

ตามที่กล่าวไว้ใน คัมภีร์หลี่จี้ (礼记) เล่มที่ 8 สิ่งของเหล่านี้มีเพียงโอรสสวรรค์เท่านั้นที่ได้ใช้ และพระบรมราชวงศ์ ขุนนางผู้มีคุณธรรมเท่านั้น จึงจะได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ ซึ่งสิทธิพิเศษนี้เทียบเท่ากับของจักรพรรดิผู้เป็นโอรสแห่งสวรรค์[4]

1. เชอหม่า (จีนตัวย่อ: 车马; จีนตัวเต็ม: 車馬; พินอิน: Chē Mǎ) หมายถึง พระอัศวราชรถ(รถม้า) สีทอง พร้อมด้วยม้าพระราชทาน ซึ่งอาจเป็นม้าสีดำ หรือม้าสีขาว และมีจำนวนตั้งแต่ 2 - 8 ตัว ทรงพระราชทานเมื่อขุนนางประพฤติปฏิบัติอย่างเรียบง่ายถ่อมตัว มีกิริยาการเดินเหินที่ถูกต้องเหมาะสมดีแล้ว จึงสมควรไม่ต้องเดินเท้าอีกต่อไป

2. อีฝู่ (จีน: 衣服; พินอิน: Yīfú) หมายถึง ฉลองพระองค์ของจักรพรรดิ ซึ่งได้แก่ กุ่นเหมี่ยน (衮冕) ฉลองพระองค์ชั้นรอง และชื้อชี้ (赤舄) ฉลองพระบาทสีแดงคู่ ทรงพระราชทานเมื่อขุนนางเขียนฎีกาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามจารีตประเพณีแล้ว จึงสมควรได้รับเพื่อเป็นการสวมใส่แสดงให้เห็นถึงการกระทำดีที่นำพาสันติสุขมาสู่ราษฎร

3. เล่อเจ๋อ (จีนตัวย่อ: 乐则; จีนตัวเต็ม: 樂則; พินอิน: Lè Zé) หมายถึง บทเพลงพระราชทาน เครื่องดนตรี หรือวงมโหรีพร้อมด้วยนักระบำหกแถว ทรงพระราชทานเมื่อขุนนางมีความรักในหัวใจ จึงสมควรได้รับเพื่อถ่ายทอดต่อไปให้กับราษฎร

4. จูฮู่ (จีนตัวย่อ: 朱户; จีนตัวเต็ม: 朱戶; พินอิน: Zhū Hù) หมายถึง ประตูสีชาด (มีเพียงตระกูลที่ฐานะมั่งคั่งในสมัยโบราณเท่านั้นที่มี) ทรงพระราชทานเมื่อขุนนางได้ดำรงรักษาและดูแลครอบครัวของตนไว้เป็นอย่างดีแล้ว จึงสมควรได้รับเพื่อแสดงให้เห็นว่าบ้านนั้นมีความแตกต่าง

5. น่าปี้ (จีนตัวย่อ: 纳陛; จีนตัวเต็ม: 納陛; พินอิน: Nà Bì) หมายถึง บันไดลาด เพื่อใช้เดินขึ้นแท่นที่ว่าการในจวนที่ยกพื้นสูงขึ้น ทรงพระราชทานเมื่อขุนนางมีการกระทำที่เหมาะสมดีงาม จึงสมควรได้รับเพื่อจะได้เดินขึ้นลงและรักษาความแข็งแกร่ง

6. หู่เปิน (จีนตัวย่อ: 虎贲; จีนตัวเต็ม: 虎賁; พินอิน: Hǔbēn) หมายถึง ทหารองครักษ์ประจำตัว ซึ่งมีจำนวณประมาณ 300 นาย หรือ 100 นาย นอกจากนี้ยังอาจหมายถึง หอกหรือง้าวอีกด้วย ทรงพระราชทานเมื่อขุนนางมีความกล้าหาญ และมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะพูดแต่ความสัตย์ จึงสมควรได้รับการอารักขาคุ้มครอง

7. กงสื่อ (จีน: 宫矢; พินอิน: Gōng Shǐ) หมายถึง คันศรและลูกศร ซึ่งมีสีชาด หรือสีดำ หรือทั้งสองสี และได้รับลูกศรจำนวน 100 - 1000 ดอก ทรงพระราชทานเมื่อขุนนางมีสติสัปชัญญะและมโนธรรม กระทำตามสิ่งที่ถูกต้อง จึงสมควรได้รับเพื่อเป็นผู้แทนของรัฐบาลกลางในการปราบผู้ก่อกบฎ

8. ฟูเยฺว่ (จีน: 鈇鉞; พินอิน: Fū Yuè) หมายถึง ขวานศึกอาญาสิทธิ์ ซึ่งเป็นขวานทอง หรือขวานเงิน ทรงพระราชทานเมื่อขุนนางมีความเข้มแข็ง มีสติปัญญา และมีความจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์ จึงสมควรได้รับเพื่อปราบผู้ประพฤติมิชอบด้วยกฎหมาย และแสดงอำนาจทางการทหาร

9. จู้ช่าง (จีน: 秬鬯; พินอิน: Jù Chàng) หมายถึง นํ้าจัณฑ์หอมซึ่งทำจาก ข้าวฟ่างลูกเดือยดำ (เฮยชู๋:黑黍), ว่านนางคำ (หยู่จิน:郁金)พร้อมทั้งจอกสุรา และจอกหยกสำหรับการบวงสรวงเทพเจ้าและบรรพบุรุษ ทรงพระราชทานเมื่อขุนนางมีความกตัญญูกตเวที จึงสมควรได้รับเพื่อใช้เซ่นไหว้บรรพบุรุษ[5][6][7][8]

เหตุผลที่ใช้อักษร (錫)[แก้]

อักษร ซี (錫) ในสมัยปัจจุบันแปลว่า "ดีบุก" แต่ในสมัยโบราณหมายถึง การมอบให้ ซึ่งสลับกับอักษร ชื้อ (賜) ในสมัยปัจจุบัน ดังนั้น การอ่านในสมัยใหม่ตามความหมายที่ถูกต้องควรเป็น จิ่วชื้อ (九賜) ไม่ใช่ จิ่วซี (九錫)[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. 公羊传·庄公元年》:“锡者何?赐也;命者何?加我服也。”
  2. 《漢書》武帝紀注張晏曰:“九錫,經本無文,周禮以為九命,春秋說有之。”《漢書》王莽傳注張晏曰:“宗臣有勳勞為上公,國所宗者也。周禮‘上公九命’,九命。九賜也。”
  3. 元始五年(5)五月,富平侯张纯为首九百零二名公卿大夫、博士、列侯、议郎等一起向太皇太后上书,称颂王莽功德可比伊尹周公,请加“九锡”
  4. 《白虎通德論 · 卷五 · 考黜》:“禮記九錫:車馬、衣服、樂、朱戶、納陛、虎賁、鈇鉞、弓矢、秬鬯,皆隨其德可行而賜車馬,能安民者賜衣服,能使民和樂者賜以樂,民眾多者賜以朱戶,能進善者賜以納陛,能退惡者賜虎賁,能誅有罪者賜以鈇鉞,能征不義者賜以弓矢,孝道備者賜以秬鬯,以先後與施行之次,自不相逾,相為本末。然安民然後富貴而後樂,樂而後眾乃多賢,賢乃能進善,進善乃能退惡,退惡乃能斷刑。內能正已,外能正人,內外行備,孝道乃生。”
  5. 虎贲,三百人的护卫军
  6. 朱户,朱漆大门
  7. 秬鬯,音炬倡,黑所釀的香酒。
  8. 又《后汉书》章怀注:九锡,一曰车马,二曰衣服,三曰乐器,四曰朱户,五曰纳陛,六曰虎贲,七曰斧钺,八曰弓矢,九曰秬鬯。顺序稍有不同。
  9. For several examples of the usage of 錫 to mean "bestowment" in the received classics, see the Shujing, "Hong Fan" chapter (dating from the late Spring and Autumn or early Warring States period): e.g., 乃禹洪範九疇 and 汝則之福. For this particular meaning, the authoritative Wang Li Character Dictionary of Ancient Chinese (p. 1533) and Dictionary of Commonly Used Characters in Ancient Chinese (p. 369) both give the modern readin