จิมมี ฮอฟฟา
จิมมี ฮอฟฟา | |
---|---|
![]() ฮอฟฟ่าในปี ค.ศ. 1965 | |
เกิด | เจมส์ ริดเดิล ฮอฟฟ่า 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 บราซิล, อินเดียน่า, สหรัฐอเมริกา |
สาบสูญ | กรกฎาคม 30, 1975 (aged 62) บลูมฟิลด์, มิชิแกน, สหรัฐอเมริกา |
สถานะ | ถูกประกาศว่าเสียชีวิต 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1982 (69 ปี) |
อาชีพ | สหภาพแรงงาน |
คู่สมรส | โจเซฟิน ฮอฟฟ่า (เนย์ พอสซีแวก) (สมรส ค.ศ. 1936) |
บุตร |
เจมส์ ริดเดิล ฮอฟฟ่า (เกิด 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913; สูญหาย 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1975, ประกาศว่าเสียชีวิต 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1982) เป็นผู้นำ สหภาพแรงงาน ชาวอเมริกันที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสหภาพ ภราดรภาพผู้ขับรถบรรทุก (IBT) ตั้งแต่ปี 1957 ถึง 1971
ตั้งแต่อายุยังน้อย ฮอฟฟาเป็นนักกิจกรรมและกลายเป็นบุคคลสำคัญระดับท้องถิ่นร่วมกับ IBT ตั้งแต่อายุราว 20 ปี โดยปี ค.ศ. 1952 เขาเป็นรองประธานระดับชาติของ IBT และขึ้นเป็นประธานระหว่าง ค.ศ. 1957 และ 1971 เขาบรรลุข้อตกลงอัตรารายได้ของกลุ่มผู้ขับรถบรรทุกได้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1964 ด้วย ข้อตกลงการขนส่งสินค้าหลักแห่งชาติ เขามีบทบาทสำคัญที่ทำให้สหภาพมีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในสหรัฐอเมริกากว่า 2.3 ล้านคน ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งผู้นำ
ฮอฟฟาเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ อาชญากรรม ในช่วงปีแรกของการทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ขับรถบรรทุกจนกระทั่งเขาหายตัวไปในปี ค.ศ. 1975 เขาถูกตัดสินว่ากระทำผิด โดยคณะลูกขุน ในข้อหาพยายามติดสินบน และ ฉ้อโกง ในปี ค.ศ. 1964 เขาถูกตัดสินให้จำคุกในปี ค.ศ. 1967 เป็นเวลา 13 ปี ในกลางปี ค.ศ. 1971 เขาลาออกจากตำแหน่งประธานสหภาพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงขออภัยโทษ กับ ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน และได้รับการปล่อยตัวในปีให้หลัง แม้จะถูกกีดกันการทำกิจกรรมร่วมกับสหภาพจนปี ค.ศ. 1980 ฮอฟฟาหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนและกลับสู่การเป็นผู้นำของ IBT แต่ก็ไม่สำเร็จ
ฮอฟฟาหายสาบสูญเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1975 และไม่มีการพบเห็นอีกเลย เขาถูกประกาศว่า เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ ในปี ค.ศ. 1982
ชีวิตในวัยเด็กและครอบครัว[แก้]
ฮอฟฟาเกิดใน บราซิล รัฐอินดีแอนา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 ในครอบครัวชาวอินดีแอนา จอห์น และ วิโอล่า (เนย์ ริดเดิ้ล) ฮอฟฟา พ่อของเขาซึ่งเป็นเชื้อสายเยอรมัน ในตอนนี้ถูกเรียกว่าตระกูล เพนซิลเวเนียดัตช์ [1] เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1920 จากโรคปอด เมื่อฮอฟฟาอายุเจ็ดขวบ [2] แม่ของฮอฟฟาที่เป็นชาวไอริชอเมริกันไปพาครอบครัวย้ายไปอยู่ที่ ดีทรอยต์ ในปี ค.ศ. 1924 ซึ่งเป็นที่อยู่ของฮอฟฟาใช้อาศัยตลอดชีวิต ฮอฟฟาออกจากโรงเรียนเมื่ออายุ 14 และเริ่มทำงานด้วยตนเอง เช่น งานทาสีบ้านเพื่อช่วยเหลือครอบครัวของเขา
การปรากฏในสื่อบันเทิง[แก้]
ในปี ค.ศ. 1978 ภาพยนตร์เรื่อง FIST, ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน รับบทตัวละครที่อิงจากฮอฟฟ่า [3]
ในปี ค.ศ. 1983 ในละครทีวี เลือดอาฆาต ฮอฟฟารับบทโดย โรเบิร์ตเบลค
ในปี ค.ศ. 1992 ภาพยนตร์เรื่อง Hoffa รับบทโดย แจ็ค นิโคลสัน
นักเขียน เจมส์ เอลรอย เขียนนวนิยายประวัติศาสตร์สมมุติในชุด Underworld USA Trilogy ฮอฟฟาเป็นตัวละครรองที่มีความสำคัญที่สุดในนิยายเรื่อง อเมริกันแท็บลอยด์ (1995) และ The Cold Six Thousand (2001)
ปี ค.ศ. 2003 ภาพยนตร์คอมเมดี้/ ดราม่า เรื่อง 7 วันนี้ พี่ขอเป็นพระเจ้า ตัวละครตามชื่อเรื่องได้พลังจากพระเจ้าที่ให้ใช้ร่างกายของฮอฟฟากู้คืนอาชีพนักข่าวของเขา
ในปี ค.ศ. 2019 ภาพยนตร์ของ มาร์ติน สกอร์เซซี เรื่อง คนใหญ่ไอริช ฮอฟฟารับบทโดย อัล ปาชิโน
- ↑
{{cite book}}
: Citation ว่างเปล่า (help) - ↑
{{cite book}}
: Citation ว่างเปล่า (help) - ↑ Screen: 'F.I.S.T.,' Drama of Unionism:Stallone Returns, The New York Times, April 26, 1978