จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก
โดย ยัน ฟัน ไอก์ หอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน) | |
ของเนเธอร์แลนด์และฟลานเดอส์ | |
เนเธอร์แลนด์เริ่มแรก (ค.ศ. 1400-1500) | |
เรอแนซ็องส์แบบดัตช์และเฟลมิช (ค.ศ. 1500-84) | |
ยุคทองของเนเธอร์แลนด์ (ค.ศ. 1584-1702) | |
บาโรกแบบเฟลมิช (ค.ศ. 1585-1700) | |
จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก (อังกฤษ: Early Netherlandish painting) เป็นงานจิตรกรรมของจิตรกรในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือโดยเฉพาะในบริเวณเมืองบรูชและเกนต์ ที่เริ่มในช่วงเวลาเดียวกับที่ยัน ฟัน ไอก์ เริ่มอาชีพเป็นจิตรกร ฟัน ไอก์มีชื่อเสียงจนกระทั่งได้รับชื่อว่าเป็นจิตรกรอะเพลลีสคนใหม่ของยุโรปตอนเหนือ เรื่อยมาจนถึงภาพเขียนโดยกาเริล ฟัน มันเดอร์ (Karel van Mander) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาจบลงด้วยเคราร์ด ดาฟิด ราว ค.ศ. 1520
ยุคนี้เป็นช่วงเวลาไล่เลี่ยกับสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีตอนต้นและตอนสูง แต่เป็นขบวนการศิลปะที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่ต่างจากลัทธิมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ที่รุ่งเรืองในเวลาเดียวกันในตอนกลางของอิตาลี[1] เพราะจิตรกรสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกรวมศิลปะจากยุคกลางของทางเหนือของยุโรปและความคิดของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา จึงทำให้ศิลปะที่สร้างขึ้นจากการผสานระหว่างจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้นกับศิลปะกอทิกนานาชาติหรือยุคปลายกอทิก
ภาพเขียนจากยุคนี้มีความก้าวหน้าทางการใช้การลวงตาที่เห็นได้จากรายละเอียดของงานของยัน ฟัน ไอก์ซึ่งมักจะใช้รูปสัญลักษณ์ที่สลับซับซ้อน หัวข้อทีวาดส่วนใหญ่จะเป็นรูปสัญลักษณ์ทางคริสต์ศาสนาหรือภาพเหมือนขนาดเล็ก และการเขียนภาพแบบเล่าเรื่องหรือภาพตำนานเทพปรัมปรามีน้อยเมื่อเทียบกับอิตาลี
ที่มาของชื่อสมัย
[แก้]จิตรกรรมและจิตรกรของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกเป็นที่รู้จักกันในหลายชื่อเช่น "สมัยปลายกอทิก" หรือ "สมัยดั้งเดิมของฟลานเดอส์" (Flemish Primitives) นักประวัติศาสตร์ศิลปะบางคนใช้คำว่า "ศิลปะใหม่" (Ars nova) ที่เป็นคำที่มาจากประวัติศาสตร์การดนตรี ที่มาของคำที่ใช้หรือนัยยะก็ต่างกันไป คำว่า "ปลายกอทิก" เป็นต้นเน้นความต่อเนื่องของยุคนี้จากศิลปะจากยุคกลาง[1] ส่วนคำว่า "ดั้งเดิมของฟลานเดอส์" เป็นคำที่ใช้เรียกจากมุมมองทางประวัติศาสตร์ทั่วไปที่มานิยมกันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ยังใช้กันในบางภาษาเช่นในภาษาดัทช์, ภาษาสเปน และภาษาฝรั่งเศส (ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษ) "ดั้งเดิม" ในกรณีนี้มิได้หมายถึงความขาดความซับซ้อนแต่เป็นการบ่งถึงลักษณะศิลปะของจิตรกรผู้เป็นต้นตำรับในการเขียนตระกูลนี้ เช่นเป็นจิตรกรรมที่ใช้สีน้ำมันแทนที่จะเป็นสีฝุ่นเป็นต้น โดยการนำของ แม็กซ์ ยาคอป ฟรีดเลนเดอร์ (Max Jakob Friedländer), เออร์วิน พานอฟสกี (Erwin Panofsky), ออตโต เพคต์ (Otto Pächt) และนักวิชาการชาวเยอรมันอื่น ๆ แต่นักประวัติศาสตร์ศิลปะที่พูดภาษาอังกฤษโดยทั่วไปมักจะเรียกงานศิลปะในยุคนี้ว่า "จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก"
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เขตแดนประเทศในยุโรปทางตะวันตกเฉียงเหนือเช่นที่เห็นกันในปัจจุบันของประเทศฝรั่งเศส, ประเทศเยอรมนี, ประเทศเบลเยียม และประเทศเนเธอร์แลนด์ ยังไม่เกิดขึ้น ฟลานเดอส์ที่ในปัจจุบันหมายถึงเขตหนึ่งของประเทศเบลเยียมและบริเวณอื่น ๆ ในแถบนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเบอร์กันดีเนเธอร์แลนด์ และต่อมาสหสิบเจ็ดจังหวัด การที่บรูชและเกนต์ (ซึ่งเป็นเมืองในภูมิภาคฟลานเดอส์ทั้งสองเมือง) กลายมาเป็นศูนย์กลางของการธนาคารนานาชาติ การค้า และศิลปะในบริเวณนั้นจึงเป็นการทำให้เป็นบริเวณนี้กลายเป็นที่ชุมนุมของจิตรกรและพ่อค้าที่ไม่แต่เป็นผู้มีที่อยู่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นแต่ยังรวมทั้งผู้ที่มาจากดินแดนอื่น ๆ ด้วย ที่เป็นผลทำให้คำว่า "ฟลานเดอส์" และ "เนเธอร์แลนด์" เป็นคำที่ใช้แทนกันได้ (ที่หมายถึง "จากกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ") ที่มาจากที่ตั้งของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง[2] นอกจากนั้นนักประวัติศาสตร์ศิลปะมักจะรวมศิลปะการเขียนจากโคโลญ และบริเวณโลเวอร์ไรน์ในกลุ่มนี้ด้วย ตัวอย่างเช่นจิตรกรเช่นเกียร์ตเก็น ทท ซิงท์ ยานส์ (Geertgen tot Sint Jans) ที่ทำงานอยู่ทางเหนือของเนเธอร์แลนด์ที่ไม่ใช่ในฟลานเดอส์ ปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่ยังเป็นที่ขัดแย้งกัน และยังเป็นปัญหาในเบลเยียมคือต้นกำเนิดของจิตรกรที่พูดภาษาฝรั่งเศสของจิตรกรหลายคนเช่นโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน[3] จิตรกรเยอรมันฮันส์ เม็มลิง และเอสโตเนีย มิเคล ซิตเตาว์ (Michael Sittow) เป็นตัวอย่างของจิตรกรที่ย้ายมาจากบริเวณอื่นมาทำงานในเนเธอแลนด์และสร้างงานแบบเนเธอแลนด์เต็มที่ การใช้คำว่า "จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก" และคำที่กว้างกว่าเช่น "ศิลปะใหม่" (Ars nova) และคำที่แคบกว่าเช่น "ศิลปะยุคเรอเนสซองซ์เหนือ" ทำให้ความหมายครอบคลุมงานเขียนที่กว้างขึ้นในยุคนั้นกว่าการที่จะใช้คำว่า "ฟลานเดอส์" ที่จำกัดการเขียนในบริเวณที่แคบกว่ามาก นอกจากนั้นเช่นเดียวกับการเรียกสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีการใช้คำว่า "จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก" เป็นการเน้นการกำเนิดของจิตรกรรมยุคใหม่แทนที่จะเป็นการวิวัฒนาการมาจากยุคก่อนหน้านั้น
ความสัมพันธ์กับสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี
[แก้]ลักษณะการเขียนใหม่เกิดขึ้นในฟลานเดอส์เกือบในเวลาเดียวกับการเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี งานของช่างเขียนจากทางเหนือเป็นที่นิยมกันมากในอิตาลีและมีอิทธิพลต่อจิตรกรรมในอิตาลีมากกว่าอิทธิพลของจิตรกรรมอิตาลีที่มีต่อฟลานเดอส์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15[4] ตัวอย่างเช่นงาน "ฉากแท่นบูชาพอร์ตินาริ" ของฮือโค ฟัน เดอร์คุส ที่มีบทบาทสำคัญในการแนะนำให้จิตรกรฟลอเรนซ์ได้เห็นแนวการเขียนจากทางยุโรปตอนเหนือ จิตรกรเช่นอันโตเนลโล ดา เมสสินาอาจจะได้รับอิทธิพลของจิตรกรเนเธอร์แลนด์เมื่อได้ไปทำงานที่ซิซิลี, เนเปิลส์ และต่อมาเวนิส แต่จิตรกรสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกมิได้ไม่มีความกระทบกระเทือนจากความเปลี่ยนแปลงทางศิลปะจากทางใต้ของเทือกเขาแอลป์มากนัก เช่นยัน ฟัน ไอก์ผู้อาจจะเดินทางไปอิตาลีราวปี ค.ศ. 1426 ถึงปี ค.ศ. 1428 การเดินทางที่มีผลต่องานเขียน "ฉากแท่นบูชาเกนต์" และความสำคัญของเมืองทางนานาชาติเช่นบรูชหมายถึงทั้งการเผยแพร่งานจิตรกรรมและการรับอิทธิพลจากต่างประเทศที่ทะลักเข้ามาด้วย[4][5]
ศิลปะคริสต์ศาสนา—การตกแต่งวัดหรือการเขียนฉากแท่นบูชาสำหรับคริสต์ศาสนสถานหรือสำหรับการสักการะส่วนตัวเป็นต้น—ยังเป็นหัวเรื่องของการเขียนภาพที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทั้งในสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี แต่บทบาทของเรอเนสซองซ์มนุษย์นิยมไม่มีอิทธิพลมากทางยุโรปตอนเหนือเท่ากับในอิตาลี อิทธิพลของภายในท้องถิ่นเช่นเดโวติโอ โมเดอร์นา (Devotio Moderna) มีอิทธิพลที่เห็นได้ชัดกว่าและมีอิทธิพลต่อหัวเรื่องที่วาดและการวางภาพในงานเขียนต่าง ๆ ตัวอย่างเช่นการเน้นความทรมานของพระเยซูซึ่งเป็นหัวเรื่องที่นิยมกันมากกว่า
เช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ที่การธนาคารและการค้านำมาซึ่งการจ้างงานเขียนส่วนตัว พ่อค้าที่มั่งคั่งว่าจ้างงานเขียนทางศาสนาสำหรับการสักการะส่วนตัวที่มักจะรวมภาพของตัวเองและครอบครัวภายในภาพที่เรียกว่าภาพเหมือนผู้อุทิศ และภาพเหมือนตนเองที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา นอกจากนั้นการที่มีราชสำนักเบอร์กันดีของผู้ปกครองเบอร์กันดีเนเธอร์แลนด์อยู่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อาชีพการเป็นช่างเขียนประจำสำนักรุ่งเรืองขึ้น นอกจากนั้นจิตรกรก็ยังรู้ฐานะของตนเองในสังคมว่าเป็นที่นับถือและเริ่มลงชื่อในภาพเขียนบ่อยขึ้น, วาดภาพเหมือนตนเอง และกลายเป็นผู้มีชื่อเสียงด้วยความสามารถที่มาจากการเป็นจิตรกรเท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่ศิลปะทางยุโรปตอนเหนือในยุคนี้ต่างจากในอิตาลีคืออิทธิพลของศิลปะกรีกโรมันที่มีน้อยกว่าจนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จึงได้เข้ามาอย่างเต็มที่ นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงทางสถาปัตยกรรม, ประติมากรรม และปรัชญาในอิตาลีมิได้เกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์ ความเปลี่ยนแปลงในเนเธอร์แลนด์จำกัดอยู่แต่เพียงจิตรกรรม[1] สถาปัตยกรรมกอทิกยังเป็นที่นิยมกันจนตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 16
บรูชลดความสำคัญในการเป็นศูนย์กลางของศิลปะราว ค.ศ. 1500 ขณะที่ความสำคัญแอนต์เวิร์ปเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่จิตรกรเรียกว่าจิตรกรแมนเนอริสต์แอนต์เวิร์ป แม้ว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่ทราบนามและมีบทบาทระหว่างประมาณ ค.ศ. 1500 ถึง ค.ศ. 1530 แต่ก็เป็นกลุ่มที่ทำให้จิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกสิ้นสุดลงและเริ่มศิลปะยุคต่อไป ที่เรียกว่าเป็นนักแมนเนอริสต์แอนต์เวิร์ปก็เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากอิตาลี แม้ว่าจะใช้อิทธิพลอิตาลีในงานเขียนแต่ก็ยังได้ชื่อว่ามีลักษณะกอทิกกระเส็นกระสายตามธรรมเนียมการเขียนในคริสต์ศตวรรษก่อนหน้านั้น[6]
จิตรกร
[แก้]- เคลาส์ สลูเตอร์ (Claus Sluter) (ราว ค.ศ. 1340-หลัง 1405 or 1406)
- เมลคิออร์ โบรเดอแรม (Melchior Broederlam) (ราว ค.ศ. 1350-หลัง 1409)
- ฌอง มาลูเอล (Jean Malouel) (เสียชีวิต 1415)
- พี่น้องลิมบวร์ก (Limbourg Brothers) (1385-1416)
- อูแบร์ต ฟาน เอค (Hubert van Eyck) (ราว ค.ศ. 1366–1426)
- โรเบิร์ต กัมปิน (Robert Campin) (ค.ศ. 1378–1444)
- อองรี เบลเลโชส์ (Henri Bellechose) (เสียชีวิตราว ค.ศ. 1445)
- ยัน ฟัน ไอก์ (Jan van Eyck) (ราว ค.ศ. 1385–1441)
- ดีร์ก เบาตส์ (Dirk Bouts) (ราว ค.ศ. 1400/1415-1475)
- โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน (Rogier van der Weyden) (ราว ค.ศ. 1399/1400-1464)
- เพทรัส คริสตัส (Petrus Christus) (ราว ค.ศ. 1410/1420-1475/1476)
- ยูส ฟาน วาสเซ็นโฮฟ (Joos van Wassenhove) (ราว ค.ศ. 1410-1480)
- ฌาคส์ ดาเรท์ (Jacques Daret) (ราว ค.ศ. 1404-1470)
- บาเธเลมี ฟาน เอค (Barthélemy d'Eyck) (ราว ค.ศ. 1420-1470) ทำงานในฝรั่งเศสตอนใต้
- ซิมง มาร์มิอง (Simon Marmion) (ราว ค.ศ. 1425-1489)
- ฮันส์ แม็มลิง (Hans Memling) (ราว ค.ศ. 1430-1494) เกิดในเยอรมนี
- ฮือโค ฟัน เดอร์คุส (Hugo van der Goes) (ค.ศ. 1440-1482)
- เฮียโรนิมัส บอส (Hieronymus Bosch) (ราว ค.ศ. 1450-1516)
- เคราร์ด ดาฟิด (Gerard David) (ราว ค.ศ. 1460-1523)
- ยาน เยิร์สต์ ฟาน คาลคาร์ (Jan Joest van Calcar) (ราว ค.ศ. 1450-1519)
- อัลแบร์ต ฟาน อูวอเตอร์ (Albert van Ouwater) (1444-1515)
- มิเคล ซิตเตาว์ (Michael Sittow)
- เคว็นแตง มัทซิส (Quentin Matsys)
- ควน เดอ ฟลานด์ส (Juan de Flandes) (ราว ค.ศ. 1460-ราว 1519)
- เกียร์ตเก็น ทท ซิงท์ ยานส์ (Geertgen tot Sint Jans) (ราว ค.ศ. 1460–1490)
- โยอาคิม พาติเนร์ (Joachim Patinir)
- ฌอง เฮย์ (Jean Hey) (มีงานราว ค.ศ. 1480-1500)
- มาสเตอร์แห่งตำนานของนักบุญลูซิ (Master of the Legend of Saint Lucy) (1480-1510)
- มาสเตอร์แห่งใบไม้ตกแต่ง (Master of the Embroidered Foliage) (มีงานราว ค.ศ. 1480-1510)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Janson, H.W. Janson's History of Art: Western Tradition. 7th rev. ed.,New York: Prentice Hall. 2006 ISBN 0-13-193455-4
- ↑ To Giorgio Vasari, for example, all northern painters were "fiamminghi", or "Flemmings".
- ↑ Hans Vlieghe ("Flemish Art, Does It Really Exist?," in Simiolus: Netherlands Quarterly for the History of Art, vol. 26, 1998, pp. 187-200) points to recent instances where institutions in the Wallonia French-speaking parts of Belgium have refused to loan painters to exhibitions labeled "Flemish".
- ↑ 4.0 4.1 The north to south-only direction of influence arose in the scholarship of Max Friedländer and was affirmed by Panofsky; see Lisa Deam, "Flemish versus Netherlandish: A Discourse of Nationalism," in Renaissance Quarterly, vol. 51, no. 1 (Spring, 1998), pp. 1-33. Also noted (pp. 28–29) is the increased interest by art historians in demonstrating the importance of Italian art on Early Netherlandish painters.
- ↑ Penny Howell Jolly, "Jan van Eyck's Italian Pilgrimage: A Miraculous Florentine Annunciation and the Ghent Altarpiece," Zeitschrift für Kunstgeschichte, vol. 61, no. 3 (1998), pp. 369-394.
- ↑ Brink, Peter van den, Kristin Lohse Belkin, and Nico van Hout. ExtravagAnt!: A Forgotten Chapter of Antwerp Painting, 1500-1538: Catalogue. Antwerp: Koninklijk Museum voor Schone Kunsten, 2005: This was the language of Mannerism popularised by Walter Friedlaender in his book Mannerism and anti-mannerism in Italian painting, one of the first attempts to define Mannerism.
ดูเพิ่ม
[แก้]ระเบียงภาพ
[แก้]-
"การชื่นชมของแมไจ"
โรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน