จับยี่กี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จับยี่กี เป็นชื่อการพนันประเภทหนึ่งในประเทศไทยมีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศจีน จัดเป็นการพนันลำดับที่ 6 ในบัญชี ก ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "การเล่นพนันของจีนชนิดหนึ่ง มีไพ่ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 12 แผ่น"

อุปกรณ์การเล่น ประกอบด้วย ไพ่จีนมีสิบสองใบ หรือจะใช้กระดาษเขียนตัวเลขไว้สิบสองใบก็ได้ ในหมู่คนจีน ไพ่แต่ละใบจะเรียกชื่อว่า อั๊งตี่, โอตี่, อั๊งกือ, โอกือ, อั๊งสือ, โอสือ, อั๊งเผ่า, โอเผ่า, อั๊งเฉีย, โอเฉีย, อั๊งเบ๊ และโอเบ๊ ตามลำดับ นอกจากนี้ ในการเล่นยังมีกล่องทึบไว้สำหรับหย่อนไพ่ด้วย

วิธีเล่น เจ้ามือเลือกไพ่มาใบหนึ่งแล้วหย่อนลงกล่อง โดยที่ตนเองรู้ว่าไพ่นั้นออกอะไร แล้วให้ผู้เล่นแทงว่าจะออกอะไร เจ้ามือจึงจะบอกคำตอบก่อนหยิบไพ่ขึ้นชู ปรกติแล้วผู้เล่นมีวิธีเก็งโดยหลอกล่อทำเป็นแทงไพ่ตัวนั้นตัวนี้เพื่อหยั่งดูสีหน้าเจ้ามือ วิธีนี้เรียก "เต๊าะ"

ปัจจุบันจับยี่กี มักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "หวยปิงปอง"[1]

อ้างอิง[แก้]

  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2551). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2009-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 30 มกราคม 2553).
  • รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์. (2519, พฤษภาคม). "การพนัน". วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (ฉบับที่ 2). หน้า 75-93.
  • ลิสูตร ธนชัยย์. (2523). คู่มือการพนัน กรุงเทพฯ : สูตรไพศาล.
  • สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2552, 9 เมษายน). พระราชบัญญัติไพ่ พุทธศักราช 2486. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2022-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 1 มกราคม 2556).
  • สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2549). คู่มือการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.
  • สุชาติ นพวรรณ. (ม.ป.ป.). ข้อพิจารณาและแนวทางเกี่ยวกับการพนันในประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก>. (เข้าถึงเมื่อ: 30 มกราคม 2553).
  • หลวงสุทธิมนต์นฤนาท. (ม.ป.ป.). คำอธิบายในการอบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา รุ่นที่ 10 เรื่อง การพนันชนิดต่าง ๆ ที่ขึ้นสู่ศาล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 30 มกราคม 2553).
  • อธิคม อินทภูติ. (2524). "กฎหมายเกี่ยวกับการพนันในประเทศไทย : รายงานวิชาอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา 2." วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, (ปีที่ 12, ฉบับที่ 2).


  1. "หวยหุ้น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-18. สืบค้นเมื่อ 2020-03-18.