จักรพรรดิถั่ญ ท้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย
จักรพรรดิแห่งเวียดนาม
ครองราชย์28 มกราคม ค.ศ. 1889 – ค.ศ. 1907
ก่อนหน้าสมเด็จพระจักรพรรดิด่ง คั้ญ
ถัดไปสมเด็จพระจักรพรรดิซวี เติน
พระราชบุตรเจ้าชายเหงียน ฟุก วิญ ซัน
พระราชโอรส 18 พระองค์ พระราชธิดา 26 พระองค์
พระนามเต็ม
เจ้าชายเหงียน ฟุก บื๋ว เลิน
เจ้าชายเหงียน ฟุก จิ่ว
ราชวงศ์เหงียน
พระราชบิดาสมเด็จพระจักรพรรดิสุก ดึ๊ก
พระราชมารดาสมเด็จพระจักรพรรดินีตือ มิญ
ประสูติ14 มีนาคม ค.ศ. 1879(1879-03-14)
สวรรคต24 มีนาคม ค.ศ. 1954(1954-03-24) (75 ปี)

สมเด็จพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย (เวียดนาม: Thành Thái, 成泰; 14 มีนาคม ค.ศ. 1879 – 24 มีนาคม ค.ศ. 1954) แห่งราชวงศ์เหงียน พระนามเดิม เจ้าชายเหงียน ฟุก บื๋ว เลิน (Nguyễn Phúc Bửu Lân, 阮福寶嶙) พระราชโอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิสุก ดึ๊ก[1][2] และสมเด็จพระจักรพรรดินีตือ มิญ ครองราชย์ตั้งแต่ยังมีพระชนมายุ 10 พรรษา และทรงครองราชย์แต่ปี ค.ศ. 1889 – ค.ศ. 1907

พระราชประวัติ[แก้]

เมื่อจักรพรรดิด่ง คั้ญขึ้นเถลิงราชสมบัติ เจ้าชายบืว เลินกับพระมารดาของพระองค์ถูกกักบริเวณไว้อยู่ในพระตำหนักจากการที่ได้มีการติดต่อกับผู้ที่ต่อต้านพระองค์ เมื่อจักรพรรดิด่ง คั้ญทรงเสด็จสวรรรคต เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสและเสนาบดีอำมาตย์ขุนนาง ตกลงปลงใจให้เจ้าชายบืว เลินเป็นผู้เหมาะสมต่อการสืบราชสมบัติ ด้วยความหลังอันเจ็บปวดพระทัยที่ได้สูญเสียพระสวามีไปจากการที่ถูกลอบปลงพระชนม์นั้น ผู้เป็นพระราชชนนีของพระองค์ได้ทรงกันแสงเมื่อพระราชโอรสของพระองค์ได้ถูกเชิญออกจากพระตำหนัก ด้วยความเกรงกลัวว่าพระองค์จะต้องพบกับชะตากรรมอย่างเดียวกับพระราชชนก หลังจากนั้นแล้ว พระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระจักรพรรดิแห่งเวียดนาม ประกาศใช้รัชศกว่า ถั่ญ ท้าย

ด้วยพระชนมายุเพียง 10 พรรษา พระองค์เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วว่าพระองค์ทรงมีความฉลาดเฉลียวมาก ขณะที่จักรพรรดิด่ง คั้ญ มีท่าทีที่เป็นมิตรของฝรั่งเศสนั้น จักรพรรดิถั่ญ ท้าย กลับทรงพยายามต่อต้านฝรั่งเศสอย่างลับๆ แม้ว่าพระองค์จะไม่ได้ก่อกบฏโดยทันที (ซึ่งเหมือนกับการปลงพระชนม์พระองค์เองในทางการเมือง) พระองค์จึงไม่ได้แสดงความคิดนั้นของพระองค์โดยตรง แต่ทรงพยายามแสดงท่าทีและพระดำรัสที่ค่อนข้างแอบกระแทกกระทั้นอยู่เสมอ เพื่อให้เห็นว่าพระองค์นั้นเป็นมิตรกับตะวันตก พระองค์ยังถือว่าพระองค์เป็นคนของประชาชน และเป็นจักรพรรดิผู้ปกป้องแผ่นดินอย่างถึงแก่น พระองค์มักจะเสด็จออกจากพระราชวังและสวมฉลองพระองค์อย่างสามัญชนและไต่ถามประชาชนเกี่ยวกับการปกครองอยู่เสมอ

พระองค์ยังเป็นพระจักรพรรดิพระองค์แรกของเวียดนามที่ทรงตัดพระเกศาเป็นแบบฝรั่งเศสและทรงเรียนรู้การขับรถ พระองค์ยังสนับสนุนการศึกษาแบบฝรั่งเศส แต่ยังทรงเก็บความรู้สึกอันขมขื่นต่อการปกครองของฝรั่งเศสในแผ่นดินของพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ยังสนับสนุนโครงการการก่อสร้างเป็นอันมากและยังทรงสนพระทัยต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของราษฎรด้วย เมื่อพระองค์ทรงเสด็จพบกับกลุ่มประชาชน พระองค์จะทำในสิ่งที่ประชาชนอเมริกาเรียกว่า "การประชุมเมือง" (Town Hall meetings) ซึ่งพระองค์จะประทับบนเสื่อกับบรรดาราษฎรที่เข้าเฝ้าพระองค์ที่ร่ายล้อมอยู่รอบพระองค์ เพื่อที่พระองค์จะปรึกษาหารือรับฟังความเห็นของราษฏรอยู่ต่อเนื่องทุกวัน

จากนั้น พระจักรพรรดิทรงเริ่มรู้ถึงการที่มีสายของฝรั่งเศสเข้ามาแฝงอยู่ในพระราชวังของพระองค์ พระองค์จึงแกล้งเสียพระสติเพื่อที่จะไม่ให้มีการตรวจสอบพระองค์ได้ กับบรรดาผู้จับตาของพระองค์เชื่อว่าพระองค์เสียพระสติอย่างไม่น่าจะเป็นอันตรายอะไรนัก พระองค์จึงสามารถดำเนินพระราชกรณียกิจได้มากขึ้นเพื่อความเป็นเอกราชของเวียดนามขณะที่พระองค์เริ่มรอวันที่จะโค่นล้มอำนาจอาณานิคมนี้ออกไป พระองค์ได้พยายามเข้าร่วมกับขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสแต่ถูกฝรั่งเศสจับได้และประกาศว่าพระองค์เสียพระสติและบังคับพระองค์ให้สละราชสมบัติ

ปี ค.ศ. 1907 พระราชโอรสของพระองค์ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิซวี เติน พระองค์ถูกเนรเทศไปยังเมืองหวุงเต่าในเวียดนามใต้ และเมือพระราชโอรสพยายามก่อกบฏอีก ทั้งสองพระองค์จึงถูกเนรเทศไปยังเกาะเรอูนียง ในปี ค.ศ. 1916

พระองค์ยังไม่เคยยอมแพ้ต่อการพยายามปลดปล่อยแผ่นดินจนกระทั่งปี ค.ศ. 1945 พระองค์ได้รับอนุญาตให้เสด็จกลับเวียดนามแต่ยังทรงถูกกักบริเวณในเมืองหวุงเต่า พระองค์เสด็จสวรรคตที่เมืองไซง่อน ในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1954

พระเกียรติยศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]