ฆัชคาร์

ฆัชคาร์ (อาร์มีเนีย: խաչքար, ออกเสียง [χɑtʃʰˈkʰɑɾ]) หรือ ศิลากางเขนอาร์มีเนีย (อังกฤษ: Armenian cross-stone)[1] หมายถึงศิลาที่แกะสลักไว้เป็นอนุสรณ์ โดยแกะเป็นภาพไม้กางเขน และบ่อยครั้งมีลายโรเซต, ลายไขว้ และลายพรรณพฤกษาประกอบด้วย[2] ฆัชคาร์เป็นลักษณะเด่นของศิลปะอาร์มีเนียคริสต์ในสมัยกลาง[1][3] นับตั้งแต่ปี 2010 ฆัชคาร์ทั้งในแง่สัญลักษณ์และในแง่งานหัตถกรรมได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของยูเนสโก[4]
ฆัชคาร์ในยุคแรก ๆ ตั้งขึ้นเพื่อช่วยให้วิญญาณของทั้งผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้พ้นจากบาป (salvation) รวมถึงยังพบว่าตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงชัยชนะทางทหาร การก่อสร้างโบสถ์ หรือตั้งขึ้นเป็นรูปแบบหนึ่งของการป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติ[5] ฆัชคาร์แท้จริงค้นพบเก่าแก่ที่สุดในสมัยศตวรรษที่ 9[1]
หมู่ฆัชคาร์จำนวนมากที่สุดที่ยังเหลือถึงปัจจุบันในอาร์มีเนียอยู่ที่สุสานใหญ่นอราตุสริมชายฝั่งทะเลสาบเซวาน สุสานนี้เป็นสุสานเก่าแก่ที่มีฆัชคาร์ราว 900 ชิ้น จากยุคสมัยและรูปแบบที่แตกต่างกัน ในอดีตนั้น จำนวนของหมู่ฆัชคาร์ที่มากที่สุดอยู่ในสุสานอาร์มีเนียในจุลฟา สาธารณรัฐปกครองตนเองนาคีชีวัน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ซึ่งมีรายงานในปี 1648 ว่ามีฆัชคาร์มากถึงราว 10,000 ชิ้น[6] หลังการทำลายจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะจากการทำลายโดยจงใจของทหารอาเซอร์ไบจาน ในรายงานปี 1998 เหลือฆัชคาร์ในจุลฟาเพียง 2,700 ชิ้นเท่านั้น[7] ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาลอาเซอร์ไบจานในการทำลายสุสานสมัยกลางทั้งหมดให้สิ้นไปอย่างเป็นระบบในปี 1998 ถึง 2005[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 The Grove Encyclopedia of Medieval Art and Architecture. — Oxford University Press, 2012. — Vol. 2. — P. 222."'Khatck'ar' [Armen.:'cross-stone'] Typical Armenian stone monument, comprising an upright slab (h. c. 1—3 m) carved with a cross design, usually set on a plinth or rectangular base. "
- ↑ Thierry, cover sleeve.Thierry 1989
- ↑ Gough M., The Origins of Christian Art, London, 1973
- ↑ "Armenian cross-stones art. Symbolism and craftsmanship of Khachkars". UNESCO Culture Sector. สืบค้นเมื่อ 2010-11-20.
- ↑ "Armenian Khatchkars" (Editions Erebuni, 1978)
- ↑ Aivazian, Argam (1983). "Ջուղայի գերեզմանատուն (The Cemetery of Jugha)". Armenian Soviet Encyclopedia Volume IX. Yerevan: Armenian Academy of Sciences. p. 550.
- ↑ "Armenian intellectuals blast 'barbaric' destruction of Nakhchivan monuments." BBC News in BBC Monitoring Central Asia. February 13, 2003. Retrieved April 16, 2007
- ↑ "Tragedy on the Araxes". Archaeology. 2006-06-30. สืบค้นเมื่อ 2006-06-30.