คุยเรื่องวิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ธันวาคม 2554/เลือกผู้สมัคร

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสียง 20[แก้]

ถ้าไม่ได้เสียงสนับสนุน "เท่ากับหรือมากกว่า" 20 เสียง จะทำอย่างไรครับ ดูแล้วส่วนใหญ่อาจได้ไม่ถึง

อาจเพราะผู้มีสิทธิเลือกตั้ง/ผู้มาใช้สิทธิน้อย?

หรือเพราะพวกเราตั้งเสียงสนับสนุนไว้มากเกินไป? ทั้งมีนโยบายฯ ว่า ตุลาการไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น สมมุติว่า ปีนี้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 30 คน ได้รับเลือกไปเป็นตุลาการ 5 คน, เมื่อมีการเลือกตั้งปีหน้า ถ้า 5 คนนั้นยังอยู่ในตำแหน่ง ก็จะมีผู้มีสิทธิลดลง 5 คน, และถ้าปีนั้น มีได้รับเลือกเพิ่มมาอีก 5 คน โดยที่ทั้ง 10 คนนั้นยังอยู่ในตำแหน่งเมื่อเลือกตั้งปีต่อไป ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็จะลดลงเรื่อย ๆ ๆ ๆ เป็นต้นครับ

หรือเพราะเราไม่ควรกำหนดเสียงสนับสนุนอยู่แล้ว? ในการเลือกตั้งในโลกจริง เขามีบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และบัญชีผู้มีสิทธิที่มาลงคะแนนด้วย เขาจึงกำหนดว่า ได้รับเลือก เมื่อได้เสียงข้างมาจากผู้มีสิทธิที่มาลงคะแนน (แต่คงเพราะของเราไม่ได้ทำระบบแบบนั้น จึงทำเกณฑ์เสียงสนับสนุนขั้นต่ำแทน)

ถ้าจะทำแบบการเลือกตั้งในโลกจริง จะทำได้หรือเปล่านะ? ผมก็สงสัยอยู่ เพราะจะรู้ได้ไงว่า ใครมีสิทธิบ้าง (เป็นผู้ใช้ที่ regularly active, ปัจจุบันต้องให้ กกต. วินิจฉัยเป็นหัว ๆ ไป)

ก็คงมีบ้างที่ผู้ใช้บางคนอาจไม่แน่ใจว่า "เอ๊ะ ตูมีสิทธิหรือยังนะ" หรือบางคนเห็นว่า "ตูเพิ่งมาใหม่ เขาคงไม่นับตู ก็อย่าเพิ่งไปร่วมเลย" ในโลกจริง แก้ปัญหาแบบนี้ด้วยการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ก่อนแล้ว คนก็มั่นใจว่าตัวมีสิทธิ ส่วนเรื่องผู้มีสิทธิในวิกิพีเดียจะมาใช้สิทธิหรือจะนอนหลับทับสิทธิ ในอนาคตอันใกล้ก็ไม่น่าห่วงเท่าไรครับ เพราะดูการเลือกตั้งปัจจุบัน ผู้ใช้ขาประจำ (ที่มีสิทธิ) ก็มาใช้สิทธิกันพอสมควร

หรือผมอาจคิดมากไป เพราะกว่าจะปิดหีบก็อีกนาน ถึงวันนั้นอาจมีเสียงสนับสนุน "เท่ากับหรือมากกว่า" 20 ก็เป็นได้ ถึงอย่างไรก็ขอมาแสดงความห่วงใยไว้ตรงนี้สักนิดน่ะนะ เผื่อปีหน้าฟ้าใหม่จะได้มีระบบการเลือกตั้งที่ "ชัวร์ ๆ" และ "ชัวร์ขึ้น" ครับ

--Aristitleism 23:59, 18 ธันวาคม 2554 (ICT)

ผมเห็นว่าประเด็นที่สำคัญอยู่อย่างหนึ่งของเสียง 20 เสียง (ซึ่งผมเองก็เกรงว่าอย่างไรเสียมันก็ไม่น่าจะได้ถึงอยู่แล้ว แต่ทีนี้ดูจากการอภิปรายคร่าว ๆ ก่อนการเลือกตั้งแล้วมันถึง แม้จะผ่าน 20 มาแค่นิดเดียว) คือการที่ผู้ใช้หลาย ๆ คนแม้จะ Regularly active แต่ก็ไม่ใช้สิทธิ์ของตนเพื่อกำหนดอนาคตของวิกิพีเดียไทยก้าวสำคัญ (ว่าไปนั่น ยังกะนักการเมืองซะแล้ว) สักเท่าไรครับ กับอีกประเด็นหนึ่งคือ ผู้ใช้จะแก้ก็แก้อย่างเดียวจริง ๆ ไม่คิดจะใช้สิทธิ์ลงคะแนนในสิ่งที่ดูจะไม่เกี่ยวกับตัวตั้งแต่แรกแล้ว (ซึ่งจริง ๆ แล้วผมว่ามีความสำคัญค่อนข้างมากเพราะ ArbCom นอกจากจะพิจารณาข้อพิพาทยังจะเป็นผู้ให้สัตยาบันในการคัดผู้ตรวจสอบผู้ใช้หรือ CheckUser เพื่อใช้ในการอันเหมาะสม มีเยอะครับ แต่ขอละไว้ในฐานที่เข้าใจ)
เมื่อพิจารณาจากปัจจัยดังกล่าวนี้ ผมเองอยากให้มีการส่งเสริมการอภิปรายในศาลาชุมชนให้มากขึ้นครับ (แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเอาทุกเรื่องเข้าศาลา คนเบื่อตายกันพอดีเพราะเดี๋ยวเรื่องนู้นก็เข้าเรื่องนี้ก็เข้า) เพราะว่าลักษณะ Community ของเราไม่ได้ใหญ่แบบใน ENWP ที่ผู้ใช้ส่วนมากจะรับผิดชอบในส่วนใครส่วนมัน (หรือเปล่า อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ) หรือทำวิธีการอื่นให้ชุมชนตระหนักรู้กันให้มากกว่านี้เกี่ยวกับศาลาชุมชน ซึ่งวิธีการที่ดีวิธีหนึ่งคือรื้อ Signpost ขึ้นมาให้เป็นกิจจะลักษณะกว่าเดิม เน้นเชิงลึกไปทาง THWP มากกว่าข่าวแปล หรือหากมีประเด็นอื่น ๆ ที่ผู้ใช้อื่นจะเสนอก็แล้วแต่สะดวกครับ
ดูเหมือนว่าผมจะพล่ามมากไปหน่อย ขอตอบคำถามสั้น ๆ ก่อนแล้วกันนะครับ เพิ่งกลับมาจากการไปต่างจังหวัดเลยเขียนยาวไม่ได้เท่าใดนัก
  1. เราวางตำแหน่งอนุญาโตตุลาการกันไว้สองปี (เข้าใจว่าจะไม่มีการเลือกกลางคัน แต่การเลือกกลางคันอาจหยิบมาพิจารณาอีกได้เพื่อให้ตำแหน่งมีความต่อเนื่อง เช่น ปีนี้ได้ 5 คน ทำหน้าที่สองปี x คน ทำหน้าที่สองปีแล้วเลือกออก 5-x คน ได้รับเลือกมา 5-x คน พอครบสองปีจากเลือกครั้งแรก x คนที่เหลือก็ต้องออก) แล้วอนุญาโตตุลาการจะออกหมด ประเด็นเรื่องผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น่าจะมีปัญหาครับ เพราะอย่างไรก็ดีทันทีที่ Term expired แล้ว อตก. ก็น่าจะได้สิทธิ์เลือกตั้งกลับมาเหมือนเดิม (ตามที่ผมเข้าใจนะครับ ไม่ถูกต้องทักท้วงได้ครับ)
  2. ใจจริงอย่างที่ผมพูดสองย่อหน้าไปแล้วว่า Lack of activity เป็นปัญหาสำคัญ ถ้าเราไม่สามารถดึงคนให้เข้ามามีส่วนร่วมได้ (อาจทดลองใช้วิธีการอื่นเช่น Message ที่จะ Deliver ไปหา Active user) เราก็อาจต้องลดจำนวน 20 ลงโดยพิจารณาจาก Activity ของ WP ในขณะนั้นครับ หรือไม่ก็ยกเลิกไปเลยแล้วใช้วิธีคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ของผู้สนับสนุนต่อผู้สนับสนุนและคัดค้าน (Abstain ไม่คิด) สำหรับบัญชีรายชื่อคาดว่าจัดทำลำบากครับ เพราะต้องพิจารณาข้อกำหนดเรื่องจำนวนการแก้ไขและการ Active ในช่วง Recent before election อีก ผมจึงใช้วิธีว่าเปิดให้ลงโดยเสรีไปก่อน ใครไม่ผ่านก็ไปตัดเอาทีหลังครับ
จริง ๆ ก็ยอมรับเหมือนกันครับว่ามันค่อนข้างจะขลุกขลักพอสมควร แต่คิดว่าพอเวลาผ่านไปอะไร ๆ น่าจะเข้าที่เข้าทางมากขึ้นครับ เราก็ต้องเรียนรู้การเลือกตั้งจากครั้งนี้ไปแล้วครั้งต่อไปก็ทำให้ดีกว่าเดิมครับ --∫G′(∞)dx 00:38, 19 ธันวาคม 2554 (ICT)

คำวินิจฉัยว่าด้วยระยะเวลาการใช้งานและบัญชีผู้ใช้[แก้]

มูลเหตุแห่งการพิจารณาคดี

ผู้ใช้ Sasakubo1717 (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) ได้ยกข้อพิจารณาการออกเสียงของผู้ใช้ Lux2545 (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) ขึ้นพิจารณา (ดูที่ คุยกับผู้ใช้:Lux2545/กรุ 6#รบกวน) ข้อพิจารณาโดยสรุปคือ ผู้ใช้ Lux2545 แม้จะมีการแก้ไขสอดคล้องกับจำนวนการแก้ไขที่ระบุไว้คือ 150 ครั้ง แต่มีบัญชีผู้ใช้วันที่ 08:32, 3 พฤศจิกายน 2554 ซึ่งขัดต่อคุณสมบัติว่าด้วยอายุบัญชีผู้ใช้ซึ่งผู้ลงคะแนนจะต้องมีการแก้ไข 150 ครั้งก่อนวันที่ 30 ตุลาคม 2554 อย่างไรก็ดี ความปรากฏว่าผู้ใช้ดังกล่าวมีบัญชีผู้ใช้ที่สร้างอยู่ก่อนหน้าแล้วคือ แอลยูเอ็กซ์ (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) ซึ่งสร้างเมื่อ 20:55, 3 กันยายน 2554 แต่ไม่สามารถใช้บัญชีผู้ใช้เก่าได้ด้วยเหตุผลบางประการ (ดูที่ คำยอมรับ)

คำวินิจฉัย

การที่ผู้ใช้ Lux2545 ลงคะแนนเสียงโดยสำคัญว่าตนมีสิทธิ์ลงคะแนน เนื่องจากตนมีบัญชีผู้ใช้เก่าอยู่แล้วแต่ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ถือได้ว่าผู้ใช้กระทำการโดยสุจริต ไม่มีเจตนาจะเพิ่มคะแนนเสียงให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่งได้รับการคัดเลือกเพื่อเป็นอนุญาโตตุลาการแต่อย่างใด ทั้งบัญชีผู้ใช้เก่าของผู้ใช้ Lux2545 ก็มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดเลือกตั้งทั้งหมด คือไม่ถูกระงับการใช้งานและมีการแก้ไขตามที่กำหนด ดังนั้นการใช้สิทธิ์จึงเป็นอันสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาเหตุที่ทำให้ผู้ใช้ Lux2545 ไม่สามารถเข้าใช้บัญชีผู้ใช้เก่าได้ จะเห็นว่าการไม่สามารถเข้าใช้บัญชีผู้ใช้เก่าได้มิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัย กล่าวคือ ผู้ใช้ไม่สามารถกลับเข้าใช้บัญชีผู้ใช้เดิมได้เพราะมีสคริปต์ที่จะทำให้ตนเองออกจากระบบเมื่อล็อกอินแล้วอยู่ที่หน้า User:แอลยูเอ็กซ์/common.js ซึ่งเป็นการกระทำเฉพาะบุคคลที่ทำให้ไม่สามารถกลับเข้าใช้บัญชีผู้ใช้เดิมได้ จึงไม่ใช่กรณีการขาดคุณสมบัติลงคะแนนแต่อย่างใด แต่เป็นการปฏิเสธที่จะใช้สิทธิ์ลงคะแนนที่มี นอกจากนี้ แม้สองบัญชีผู้ใช้จะเป็นคนเดียวกันและมิได้มีเจตนาที่จะใช้บัญชีผู้ใช้ในทางสนับสนุนผู้ใช้คนหนึ่งคนใดให้ได้คะแนนเสียงมากขึ้นก็ตาม ก็ไม่อาจนับระยะเวลาระหว่างบัญชีผู้ใช้เข้าด้วยกันได้ เพราะหากยอมให้นับระยะเวลาร่วมกัน อาจทำให้เกิดกรณีอ้างว่าบัญชีผู้ใช้เป็นคนคนเดียวกัน แต่อีกบัญชีหนึ่งขาดคุณสมบัติ อีกบัญชีหนึ่งไม่ขาดคุณสมบัติในภายภาคหน้า

สรุป

กกต. ขอประกาศไม่นับคะแนนของคุณ Lux2545 ซึ่งได้ลงคะแนนไว้ในหน้าลงคะแนนทุกหน้าที่มี แม้จะได้ถอนการลงคะแนนตามคำทักท้วงและความสมัครใจก็ตาม

เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา กกต. จึงลงนามไว้เป็นสำคัญ

--∫G′(∞)dx 16:14, 26 ธันวาคม 2554 (ICT)