วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/เสนอชื่อผู้รับเลือกตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาศัยความตามนโยบาย

  1. วิกิพีเดีย:การอนุญาโตตุลาการ
  2. วิกิพีเดีย:การอนุญาโตตุลาการ/นโยบาย

จึงขอประกาศเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมกันเสนอชื่อ "อนุญาโตตุลาการแห่งวิกิพีเดียภาษาไทย" ผู้ถูกเสนอชื่อจะต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในเอกสารข้างต้นและข้อกำหนดของมูลนิธิวิกิมีเดีย (บรรลุนิติภาวะ ภายใน 90 วันหลังเริ่มปฏิบัติหน้าที่ ยินดีส่งเอกสารแสดงตนให้แก่มูลนิธิฯ ฯลฯ) คุณอาจเสนอชื่อตัวเองหรือเสนอชื่อผู้อื่นก็ได้ หากเสนอชื่อผู้อื่นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าตัวเป็นลายลักษณ์อักษรในหน้าพูดคุยวิกิพีเดียก่อน

จะมีการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการต่อไปในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554 โดยเปิดให้ลงคะแนนตลอดเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ผู้ถูกเสนอชื่ออาจแสดงนโยบายหรือตอบคำถามของชุมชนในหน้าการเลือกตั้งได้ตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป โดยผู้ดูแลระบบที่ไม่ได้ลงรับเลือกตั้งครั้งนี้มีสิทธิ์เป็นกรรมการพิจารณาชี้ขาดหากมีข้อขัดแย้งใดๆ (ตามนโยบายให้ อนุญาโตตุลาการที่มีอยู่ก่อนจัดการ แต่ขณะนี้ยังไม่มี จึงอนุโลมให้ผู้ดูแลระบบทำหน้าที่แทนไปก่อน) อย่างไรก็ดี สมาชิกชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยทุกท่านสามารถร่วมแสดงความคิดเห็น และส่งข้อเสนอแนะไปยังกรรมการได้ตลอดเวลา เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยโปร่งใส ยุติธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุด ท่านอาจลงชื่อแสดงความสนใจเป็นผู้สังเกตการณ์/อาสาสมัครได้ด้านล่าง การเลือกตั้งเช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนในชุมชนของเรา และจะสำเร็จผ่านไปได้ด้วยดีหากทุกท่านใส่ใจและร่วมมือร่วมใจกัน

สมาชิก auto-confirmed ของวิกิพีเดียภาษาไทยทุกคนมีเสียงเท่ากันหนึ่งเสียง และลงชื่อสนันสนุนได้ไม่เกินจำนวนอนุญาโตตุลาการที่จะได้รับเลือกในปีนี้ หากมีข้อพิรุธสงสัยด้วยการลงคะแนนจากผู้ใช้แปลกหน้า (หรือผู้ใช้ที่ลงทะเบียนหลังประกาศนี้ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554) อาจมีการส่งให้เมต้าตรวจสอบบัญชีผู้ใช้ก่อนนับคะแนน โดยเมต้าและกรรมการเลือกตั้งจะพิจารณาชี้ขาด การลงคะแนนปิดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554เวลา 24.00 น. UTC+7.00 (เวลาประเทศไทย)

อนุญาโตตุลาการจะถือว่าเริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อได้รับการรับรองจากกรรมการเลือกตั้งและแต่งตั้งโดยเมต้า

--taweethaも 20:46, 30 ตุลาคม 2554 (ICT)

เสนอให้ประกาศใน Sitenotince ตามคุณ G(x) ครับ --Horus | พูดคุย 19:34, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)

สงสัยเรื่องชื่อนิดนึงครับ (ไม่ทราบว่าจะยังทันรึเปล่าเพราะเห็นว่าตกลงรับร่างนโยบายไปแล้ว) คำว่า อนุญาโตตุลาการ เนี่ยเท่าที่ผมเข้าใจเป็น กลุ่มคน (arbitrator) เป็นคำนามใช่ไหมครับ นโยบายนี้คือ arbitration ไม่น่าจะใช้ว่า "การอนุญาโตตุลาการ" ครับเพราะการเติมคำว่า "การ" เพื่อทำให้เป็นคำนาม ไม่น่าจะเอาไปเติมหน้าคำนาม แต่น่าจะเอาไปเติมหน้าคำกริยาเพื่อทำเป็นคำนามมากกว่า น่าจะเป็นคำว่า "การตัดสินโดย(คณะ)อนุญาโตตุลาการ" (อีกทั้งน่าจะทำให้อ่านเข้าใจความหมายของนโยบายมากขึ้น) แต่อย่างไรก็ตามผมเองไม่มีความเชี่ยวชาญทางกฎหมายมากคงต้องรบกวนคุณ ผู้ใช้:Aristitleism หรือผู้เชี่ยวชาญหน่อยครับ --· Dr.Garden · คุยกันได้! · 22:13, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)

การอนุญาโตตุลาการ = arbitration ครับ ใช้กันทั่วไปครับ เช่น ในกฎหมาย, ในสารานุกรมราชบัณฑิตฯ, เป็นศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตฯ, และในตำรับตำรา (ผมไม่ได้ติดมือมาสักเล่มเลยครับ หนีน้ำมาภาคเหนือ:) ขออภัยด้วยครับ) คำว่า "การอนุญาโตตุลาการ" นี้ใช้มาตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ (สมัยพระเจ้าอู่ทอง) ด้วยครับ หลายปีก่อนตอนผมเจอคำนี้ (ในสารานุกรมราชบัณฑิตฯ) ผมก็สงสัยเหมือนคุณ Dr.Garden เลยครับ ไปถามใคร ใครก็ตอบไม่ได้ว่าทำไม "การ" ไปอยู่หน้า "คน" ได้ (ปรกติมักอยู่หน้าคำกริยาอะไรทำนองนั้น) นอกจากบอกว่า "มันใช้กันมานมนานแล้ว" --Aristitleism 22:52, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
ผมเข้าใจแล้วล่ะครับ เมื่อได้เปิดพจนานุกรมฯ ดู "การ...ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง..." --Aristitleism 23:16, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
ขอบคุณครับ :D · Dr.Garden · คุยกันได้! · 23:49, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)

ขอให้พิจารณาเพิ่มเติม เรื่อง วาระการดำรงตำแหน่งของอนุญาโตตุลาการ (ซึ่งไม่มีใครมาตกลงกันเมื่อคราวบอกรับนโยบาย) ครับ --Horus | พูดคุย 23:36, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

นโยบายส่วนมากกำหนดไว้ 1 ปี อาจมีเพิ่มได้มากสุดที่ 2 ปี อย่างไรก็ดีมีคุณ Aristitleism ซึ่งเป็นผู้ยกนโยบายเห็นว่า ดูจากความ Active ของ Community และการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ในการอภิปรายที่เกี่ยวกับส่วนรวม เราอาจต้องกำหนดระยะเวลาให้นานหน่อย หรือไม่ก็ไม่กำหนดเลย (แต่ผมเห็นว่าการไม่กำหนดจะทำให้คดีผูกขาดเกินไป ตัดสินโดยคนเดิม ๆ) --∫G′(∞)dx 23:44, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

ผมเห็นคุณ Aristitleism ยกเรื่องอื่นขึ้นมาอภิปรายด้วย ก็เลยอยากให้พิจารณาพวกจำนวนคนในการเข้าชื่อญัตติแก้ไขนโยบายการอนุญาโตตุลาการด้วยครับ --Horus | พูดคุย 08:17, 5 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

เสนอชื่อ

เสนอชื่อจำนวนกี่คนก็ได้ แต่จำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกขึ้นอยู่กับข้อถัดไป

  1. User:Tmd -- เสนอชื่อโดย taweethaも 21:35, 30 ตุลาคม 2554 (ICT)
  2. User:Pongsak ksm -- เสนอชื่อโดย taweethaも 08:47, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  3. User:Octahedron80 -- เสนอชื่อตัวเอง 17:58, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
    • User:Octahedron81 -- บัญชีอีกชื่อหนึ่งของ Octahedron80 ใช้เป็นบอตเก็บกวาดเฉพาะกิจ --octahedron80 22:00, 19 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  4. User:Taweetham -- เสนอชื่อตนเอง (นับแต่วันนี้ผมจะไม่ยุ่งกับหน้ากระบวนการเลือกตั้ง เป็นหน้าที่ของกรรมการและผู้สังเกตการณ์ที่จะดูแลกันต่อไป) 19:19, 1 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
    • User:Taweethaも และ User:Taweethaモ -- บัญชีบอตที่ดำเนินการโดย Taweetham ใช้ดำเนินการเฉพาะกิจ เก็บกวาดบทความ ลบ/ย้ายบทความ ฯลฯ --octahedron80 22:00, 19 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  5. User:B20180 -- เสนอโดย Nakare† 04:30, 13 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  6. User:Robosorne -- เสนอชื่อโดย taweethaも 08:55, 21 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

เสนอจำนวนอนุญาโตตุลาการที่จะได้รับเลือกในปีนี้

ไม่เกิน 2 คน
ไม่เกิน 3 คน
  1. เห็นด้วย มีผู้ใช้ (รวมถึงผู้ดูแล) หลายท่านที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ในปัจจุบัน (ยังเป็นผู้เยาว์) แต่ในอนาคตอันใกล้มีโอกาสทำหน้าที่ตรงนี้ได้ จึงอยากให้ค่อยเพิ่มจำนวนไป ปีละเท่าๆ กัน โอกาสได้รับเลือกในแต่ละปีจะได้เท่าๆ กัน
  2. เห็นด้วย --N.M. | พูดคุย 14:18, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  3. เห็นด้วย --Saeng Petchchai 23:13, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
ไม่เกิน 4 คน
ไม่เกิน 5 คน
  1. เห็นด้วย --octahedron80 17:53, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  2. เห็นด้วย --Lerdsuwa 17:57, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  3. เห็นด้วย --∫G′(∞)dx 18:58, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  4. เห็นด้วย --Horus | พูดคุย 19:26, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  5. เห็นด้วย --Pongsak ksm 20:05, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  6. เห็นด้วย · Dr.Garden · คุยกันได้! · 22:38, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  7. เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 22:58, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  8. เห็นด้วย --Tinuviel | พูดคุย 19:03, 1 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  9. เห็นด้วย --Aristitleism 01:04, 2 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  10. เห็นด้วย -- ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 02:26, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  11. เห็นด้วย --Azoma | พูดคุย 15:56, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  12. เห็นด้วย --Ken-Z! Talk I hate Grean & Vandalism on Wikipedia ! 18:55, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  13. เห็นด้วย สามคนน้อยไป---泰和 00:45, 5 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  14. เห็นด้วย ---Pastman 18:27, 8 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  15. เห็นด้วย --Mda 18:37, 8 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  16. เห็นด้วย เผื่อบางคนไม่ว่าง มาเข้าวิกิฯไม่ได้---Dora1999 18:12, 11 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  17. เห็นด้วย --Nakare† 04:30, 13 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  18. เห็นด้วย --Napongkung02 04:13, 19 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

เสนอจำนวนเสียงสนับสนุนขั้นต่ำ

15 เสียง
20 เสียง
  1. เห็นด้วย การเลือกตั้งผู้ดูแลในปีนี้ เปิด 14 วัน นับเสียงคนลงคะแนนได้เพียงสิบกว่าเสียง (ตัดก่อกวนออก/ผู้เสนอลงคะแนนออก) เลือกตั้งอนุญาโตตุลาการ เปิด 30 วันนานเป็น 2 เท่าก็จริง แต่คงไม่ถึงกับได้จำนวนคะแนนเป็นสองเท่าง่ายๆ อย่างไรก็ดีตำแหน่งนี้มีความสำคัญ 20 เป็นอย่างน้อยสุดทนที่พอจะยอมรับได้ --taweethaも 18:16, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  2. เห็นด้วย พิจารณาแล้ว และดูจากความ Active ของ community เห็นว่า 20 คะแนนเป็นคะแนนที่พอรับได้ครับ ใจจริงถ้ามีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน (สำหรับการลงคะแนน) ผ่านทาง MediaWiki:Sitenotice น่าจะทำให้มีผู้ลงคะแนนได้มากขึ้น อย่างไรก็ดีต้องคัดการลงคะแนนจาก Single-purpose account (ตัดทิ้ง) ให้ถี่ถ้วนด้วยครับ --∫G′(∞)dx 18:55, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  3. เห็นด้วย ตามความเห็นข้างต้น --Horus | พูดคุย 19:26, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  4. เห็นด้วย ไม่มากไม่น้อยเกินไป · Dr.Garden · คุยกันได้! · 22:38, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  5. เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 22:58, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  6. เห็นด้วย เห็นด้วยครับว่า ไม่มากไม่น้อยไป (สำหรับประชากรในเวลานี้) แต่ลึก ๆ ก็หวั่นเหมือนกันครับว่า จะมีถึงยี่สิบไหมน้า --Aristitleism 22:59, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  7. เห็นด้วย ดูจาก active user ที่เข้ามีส่วนร่วมในการอภิปราย/ลงคะแนนต่างๆ จำนวนนี้น่าจะพอเหมาะ (อนาคตน่าจะเพิ่มมากกว่านี้) --Tinuviel | พูดคุย 19:06, 1 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  8. เห็นด้วย ตามความเห็นข้างต้นที่กล่าวมาและเหมาะสมดีครับ --N.M. | พูดคุย 14:13, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  9. เห็นด้วย --Azoma | พูดคุย 15:57, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  10. เห็นด้วย --Ken-Z! Talk I hate Grean & Vandalism on Wikipedia ! 18:55, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  11. เห็นด้วย -Saeng Petchchai 23:12, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  12. เห็นด้วย มากกว่านี้คงจะไม่ง่ายนัก --Pongsak ksm 23:35, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  13. เห็นด้วย เกินยี่สิบคงใช้เวลานานมากขึ้น --泰和 00:49, 5 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  14. เห็นด้วย กำลังดีครับ --Pastman 18:29, 8 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  15. เห็นด้วย --Mda 18:37, 8 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
25 เสียง
30 เสียง
  1. เห็นด้วย --octahedron80 17:53, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  2. เห็นด้วย --Lerdsuwa 17:57, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)

ผู้ดูแลระบบที่อาสาเป็นกรรมการฯ

  1. ขอทำหน้าที่ไปพลาง จนกว่าจะมีผู้อื่นรับหน้าที่ --Horus | พูดคุย 19:48, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  2. ขออาสาดูแลความเรียบร้อยของกระบวนการเลือกครับ --Lerdsuwa 22:20, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  3. Dr.Garden · คุยกันได้! · 23:49, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)
  4. ขออาสาทำหน้าที่นี้อีกแรงหนึ่งครับ --Ken-Z! Talk I hate Grean & Vandalism on Wikipedia ! 18:55, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  5. ยินดีช่วยครับ --Saeng Petchchai 23:16, 4 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

อาสาสมัคร/ผู้สังเกตการณ์

  1. ลงชื่อเป็น Observer เพื่อสังเกตความเรียบร้อย และดูแลเกี่ยวกับการก่อกวน/Suspected SPA และการถามคำถามทั่วไปครับ --∫G′(∞)dx 19:28, 31 ตุลาคม 2554 (ICT)

เรื่องพิจารณาเพิ่มเติม

วาระการดำรงตำแหน่งของอนุญาโตตุลาการ

1 ปี
1 ปี 6 เดือน
2 ปี
  1. เห็นด้วย เมื่อพิจารณาจากปัญหาความ active --Horus | พูดคุย 08:25, 5 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  2. เห็นด้วย --∫G′(∞)dx 10:49, 5 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  3. เห็นด้วย ไม่นาน ไม่น้อย เกินไป --Pongsak ksm 11:49, 7 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  4. เห็นด้วย --N.M. | พูดคุย 18:42, 10 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  5. เห็นด้วย สองปีมีเวลาทำงาน และไม่นานเกินจนการตัดสินมีแต่แนวความคิดเดิมๆ--泰和 23:19, 13 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
ความเห็น
  1. ผมยังไม่มีตัวเลขในใจ แต่ขอยกเหตุผลในการเลือกตัวเลขนี้มาให้พิจารณา
    • ปัจจัยจากผู้ดำรงตำแหน่ง - นานเท่าใด ผู้ดำรงตำแหน่ง จึงจะเปลี่ยนไป เปลี่ยนดีเป็นไม่ดี เปลี่ยนจากว่างเป็นไม่ว่าง เปลี่ยนจากรู้งานเป็นไม่รู้งาน ฯลฯ ถ้ายึดตามกรอบของคนที่ศึกษาอยู่ น่าจะอยู่ที่ 2-3 ปี สำหรับผู้ทำงานประจำ/ผู้เกษียณอายุงานแล้วอาจนานถึง 4-5 ปี ส่วนลูกจ้างชั่วคราว freelance และผู้ประกอบการ เอาแน่เอานอนไม่ได้ --taweethaも 11:09, 5 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
    • ปัจจัยจากฐานเสียงสนับสนุน majority ของสมาชิกวิกิพีเดียภาษาไทย เลือกผู้ดำรงตำแหน่งในวันนี้ อีกนานเท่าไหร่ majority ของวิกิพีเดียภาษาไทยจะเปลี่ยนไป (คำถามนี้มาจากแนวคิดของ Jefferson ที่กฎหมายหรือหนี้สาธารณะ ไม่ควรบังคับยืดยาวเกินกว่า 19 ปี)
      • สมมติฐาน exponential growth ไม่ควรดำรงตำแหน่งเกิน 1-2 ปี เพราะจำนวนสมาชิกจะเพิ่มเป็นเท่าตัว --taweethaも 11:09, 5 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
      • สมมติฐาน linear growth/จำนวนสมาชิกวิกิพีเดียภาษาไทยแปรผันตรงกับจำนวนประชากรที่พูดภาษาไทยบนโลก ระยะเวลาดำรงตำแหน่งน่าจะอยู่ประมาณ 5 ปี --taweethaも 11:09, 5 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
    • ปัจจัยจากฐานเสียงสนับสนุนเดิมเปลี่ยนใจ (ไม่ใช่เพราะผู้สมัครเปลี่ยนไป หรือมีฐานเสียงใหม่เข้ามา แต่เบื่อหน่าย หรือพบคนที่ดีกว่า) - ประเมินทางคณิตศาสตร์ได้ยาก --taweethaも 08:37, 8 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  2. วาระ 2 ปี ก็เป็นเวลาพอสมควรแล้วที่จะพิจารณาว่าผลงานที่ผ่านมาเหมาะสม หรือไม่ แต่ถ้าหากจะให้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่อง จะสามารถต่อเนื่องได้อีกหรือไม่ ได้อีกกี่วาระ --Pongsak ksm 11:49, 7 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
    • น่าจะไม่จำกัดนะครับ ตราบใดที่ชุมชนยังเลือกให้เป็นต่อ เพราะเป็นงานนี้เป็นงานอาสาสมัคร และรับเพิ่มทุกปีด้วย ไม่อาจผูกขาดอำนาจโดยบุคคลเพียงคนเดียวอยู่แล้ว จึงไม่น่าจำกัดห้ามดำรงตำแหน่งต่อเนื่องอย่างตำแหน่งทางการเมือง --taweethaも 18:11, 7 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
      • ผมคิดว่าผู้ที่ไม่มีความเหมาะสมยังมีสิทธิ์ถูกสอยทิ้งเอากลางคันเหมือนกันครับ --Horus | พูดคุย 19:08, 7 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  3. อันที่จริงผมคิดว่าน่าจะให้ คอต. มีวาระ 2 ปี และให้มีการเลือกตั้งกลางคันด้วยน่ะครับ เช่น สองคนทำหน้าที่ถึง 2557 สองคนทำหน้าที่ถึง 2558 แบบนี้ตำแหน่งจะได้ไม่ว่างลงพร้อมกัน คิดว่าอย่างไรครับ --Horus | พูดคุย 19:07, 8 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
    • ผมเห็นด้วยนะครับถ้าวาระการดำรงตำแหน่งจะมีการสับหว่างกัน น่าจะทำให้การทำงานมีความต่อเนื่อง ดีกว่าการเปลี่ยนทีเดียวยกชุด ผมขอเสนอแนวทางว่า ให้ คอต. ที่ดำรงตำแหน่งเลือกกันเอง (โหวตออก) จำนวนครึ่งหนึ่งของ คอต. เช่น มี 5 เอาออก 3 หรือมี 3 เอาออก 2 เมื่อครบระยะเวลา 1 ปีแรก หลังจากนั้น วาระของ คอต. ก็จะสับหว่างกันเองโดยอัตโนมัติ ข้อดีก็คือ ให้ คอต. ตกลงกันเองว่าใครจะอยู่ ใครจะไป --Pongsak ksm 17:37, 9 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

จำนวนผู้ใช้ขั้นต่ำในการเข้าชื่อแก้ไขนโยบายการอนุญาโตตุลาการ

10 คน
15 คน
20 คน
  1. เห็นด้วย ควรแก้ไขยากหน่อย เพื่อป้องกันการเสนอเล่น --Horus | พูดคุย 08:25, 5 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  2. เห็นด้วย --∫G′(∞)dx 10:50, 5 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  3. เห็นด้วย พวกแก้คำผิดตกหล่นเปลี่ยนคำอะไรแบบนี้คงไม่ต้องเข้าชื่อมั้งฮะ --octahedron80 10:54, 5 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  4. เห็นด้วย --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 17:14, 6 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  5. เห็นด้วย --Pongsak ksm 11:52, 7 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  6. เห็นด้วย --N.M. | พูดคุย 18:42, 10 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
ความเห็น
  1. เนื่องจากนโยบายยังอยู่อีกยาวไกล กำหนดไปเป็นตัวเลขตัวใดตัวหนึ่งอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด วันนี้อาจดูเหมือนเป็น "preemptive measure" แต่วันหน้าตัวเลขนี้อาจไม่เหมาะสมต้องแก้ไขกันอีก ผมคิดว่าประกาศ 2 สัปดาห์ในหน้าสาธารณะตามใช้หลัก consensus ปกติก็เพียงพอแล้ว (ในอนาคตกติกา consensus 2 สัปดาห์ อาจเปลี่ยนตามความเหมาะสม) ถ้าเราทำให้นโยบายแก้ยากก็อาจให้อำนาจแก่ status quo มากเกินไป --taweethaも 11:18, 5 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
    ต้องไม่ลืมว่า อนุญาโตตุลาการเขาก็เข้าชื่อกันเสนอแก้ไขได้เช่นกันครับ ถ้าเรามีปัญหาก็ติดต่อผ่านทางนั้นได้ --Horus | พูดคุย 16:39, 5 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

ปิดการอภิปราย สรุปเป็นรายละเอียดการเลือกตั้งแล้ว --Horus | พูดคุย 23:40, 19 พฤศจิกายน 2554 (ICT)