คุยเรื่องวิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ธันวาคม 2554

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสนอร่างคำถามแก่ผู้รับสมัครเลือกตั้งเป็นอนุญาโตตุลาการ ดูตัวอย่างที่ en:Wikipedia:Arbitration Committee Elections December 2011/Questions/General --Horus | พูดคุย 20:04, 9 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

คำถามจากหน้าตัวอย่าง[แก้]

  1. คำถามเกี่ยวกับทักษะและประสบการณ์ (Skills and Experience)
    1. คุณคิดว่าจะนำทักษะและ/หรือประสบการณ์ทั้งในและนอกวิกิพีเดียใดบ้างมาใช้ในการดำรงตำแหน่งอนุญาโตตุลาการ
    2. คุณเคยประสบกับกรณีการระงับข้อพิพาทในวิกิพีเดียหรือไม่ หากเคยเข้าร่วมการระงับข้อพิพาทดังกล่าว กรุณาลิงก์ไปหาข้อพิพาทดังกล่าว หรือหากไม่ได้เข้าร่วมในกรณีข้อพิพาทนั้น กรุณาให้ความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อพิพาทนั้นและวิธีระงับข้อพิพาทที่คุณจะใช้
  2. คำถามเกี่ยวกับข้อตัดสิน (Strict vs. lenient)
    1. ในกรณีการพิจารณาข้อพิพาท คุณมีความเห็นอย่างไรในการวินิจฉัยคำตัดสิน ระหว่างการตัดสินโดยยึดหลักเจตนาดี โดยการจำกัดมาตรการสถานเบาเพื่อให้ผู้ใช้กลับตัวกลับใจ กับการลงโทษสถานหนักโดยการบล็อกผู้ใช้ตลอดกาลหรือถอดจากสถานะที่เคยมี เช่น ผู้ดูแลระบบ โปรดให้เหตุผลประกอบความเห็นของคุณด้วย

คำถามส่วนบุคคล[แก้]

  1. ในกรณีพิจารณาข้อพิพาท หากคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดปฏิเสธที่จะตอบคำถามหรือแสดงหลักฐานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีฝ่ายตน คุณจะตัดสินข้อพิพาทนี้โดยยืดหลักประการใด ระหว่างการตัดสินให้เป็นผลดีกับผู้ที่ถูกกล่าวหา กับการตัดสินโดยใช้หลักว่าหากคู่พิพาทปฏิเสธที่จะกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ฝ่ายตน อนุญาโตตุลาการไม่มีสิทธิ์จะยกกรณีที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นมานั้นขึ้นมาพิจารณา (คำถามนี้เสนอขึ้นโดยคุณ taweethaも ระหว่างการพิจารณานโยบาย ดูเพิ่ม คุยกับผู้ใช้:Taweetham#Good vs. Bad Hands & ArbCom) --∫G′(∞)dx 20:32, 9 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  2. หากมีการพิจารณาข้อพิพาท และมีคำตัดสินว่าบทความใดบทความหนึ่งอยู่ระหว่างการคุ้มครองของอนุญาโตตุลาการ (Article probation) ผู้ใช้ที่เพิ่มเนิ้อหาหรือนำเนื้อหาออกโดยมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมจะถูกพิจารณาโทษแล้วแต่กรณี คุณคิดว่ามาตรการนี้จะขัดต่อความเป็นเสรีของวิกิพีเดียหรือไม่ ประการใด โปรดให้เหตุผล --∫G′(∞)dx 20:32, 9 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  3. คุณเห็นด้วยหรือไม่กับนโยบายการอนุญาโตตุลาการของวิกิพีเดียภาษาไทย (ซึ่งรับมาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) ยกตัวอย่าง (ต้องการให้ระบุเป็นส่วน ๆ เช่น ส่วนที่ว่าด้วยขั้นตอน ส่วนที่ว่าด้วยข้อกำหนดต่าง ๆ) หากคุณเห็นด้วย คุณมีวิธีดำเนินการตามนโยบายนั้นอย่างไร หากคุณไม่เห็นด้วย คุณคิดว่านโยบายนั้นควรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพราะเหตุใด --Horus | พูดคุย 18:09, 10 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  4. คุณคิดว่าข้อพิพาทประเภทใดที่คุณจะรับหรือไม่รับไปพิจารณา เพราะเหตุใด --Horus | พูดคุย 18:09, 10 พฤศจิกายน 2554 (ICT)
  5. คุณคิดว่าจะดำเนินบทบาทอย่างไร เพื่อให้อนุญาโตตุลาการมีบทบาทแทนการตัดสินแบบเก่าโดยผู้ดูแลระบบ (มูลเหตุของคำถาม เพราะเห็นว่าปัญหาส่วนใหญ่ยุติลงโดยผู้ดูแลระบบบล็อกผู้ใช้ หรือล็อกหน้า ซึ่งเป็นการตัดสินที่อาศัยตัวบุคคลเป็นหลัก) --Horus | พูดคุย 20:16, 19 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

การตอบรับ[แก้]

ในการเลือกตั้งครั้งนี้พบปัญหา ดังนี้ พร้อมกันนี้ได้เสนอหนทางแก้ไขไว้ด้วย

  1. ปัญหาแม่แบบแสดงผลไม่ถูกต้อง (เช่น วิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ธันวาคม 2554/ผู้สมัคร/Pongsak ksm)
    การแก้ไข อาจให้อาสาสมัครตรวจสอบความถูกต้องของสคริปต์
  2. มีผู้สมัครไม่ตอบคำถาม ซึ่งอาจไม่ผ่านเกณฑ์การเลือก
    การแก้ไข การเลือกตั้งครั้งถัดไป กำหนดให้ผู้สมัครต้องตอบคำถามทั่วไป หากไม่ตอบถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์
  3. มีการออกเสียงโดยผู้ใช้ที่ดูมีความสัมพันธ์ต่อกัน ตลอดจนออกเสียงด้วยเหตุผลที่ไม่เหมาะสมเมื่อคำนึงถึงประโยชน์ของชุมชน
    การแก้ไข อาจกำหนดให้ผู้ใช้คนหนึ่งเลือกผู้สมัครได้ไม่เกิน 2 หรือ 3 คน และให้กรรมการเลือกตั้งลบการออกเสียงด้วยความเห็นที่ไม่เหมาะสมตามดุลยพินิจ

--Horus | พูดคุย 22:13, 1 มกราคม 2555 (ICT)

  1. ปัญหาแม่แบบ: คราวหน้าอาจใช้ secure poll และ/หรือ ลดความซับซ้อนของแม่แบบลง
  2. ปัญหาการตอบคำถาม: คราวหน้าให้เสนอชื่อด้วยตนเองพร้อมตอบคำถามให้สมบูรณ์ หากเสนอชื่อโดยผู้อื่น เมื่อตอบให้ตอบคำถามให้สมบูรณ์ เมื่อตรวจสอบการแก้ไขของผู้สมัคร รวมถึงแถลงการณ์และคำตอบแล้ว จึงประกาศรับรองสิทธิ์การเป็นผู้สมัคร ขั้นตอนการรับรองสิทธิ์การเป็นผู้สมัคร ควรทำให้เสร็จก่อนเปิดการลงคะแนน และไม่รับรองผู้สมัครเพิ่มหลังการลงคะแนนเปิดแล้ว
  3. ปัญหาการออกเสียง: หากใช้ secure poll จะมีปัญหายิ่งกว่านี้ แต่ถ้าเราใช้หลัก WP:AGF ยอมรับ imperfection ในโลก และดูเกณฑ์คะแนนที่คิดเป็น % ปัญหายังไม่อยู่ในขั้นรุนแรงและยังไม่มีมาตรฐานที่ให้ผลดีไปกว่าการทำความเข้าใจด้วยการพูดคุย

--taweethaも 10:30, 2 มกราคม 2555 (ICT)

เฉพาะปัญหาการออกเสียง หากใช้การลงชื่อเปิดเผยอย่างเดิม เห็นว่าการจำกัดการเลือกผู้สมัครจะทำให้ผู้เลือกไม่ใช้สิทธิ์อย่างสิ้นเปลืองหรือเล่น --Horus | พูดคุย 10:35, 2 มกราคม 2555 (ICT)
เรื่องแม่แบบการแสดงผลจริง ๆ ถือว่าไม่ซับซ้อนครับ แต่ที่ซับซ้อนคือการเปลี่ยนชื่อหน้าที่อ้างแม่แบบ ทำให้แม่แบบที่อ้างหน้านั้นขึ้นเป็นสีแดงเพราะไม่มีหน้าที่อ้างมา Transclude ได้ อันนี้พอแก้ได้ครับ แต่ถ้าประสงค์จะใช้ SecurePoll ก็จำเป็นว่าจะต้องแจ้ง Developer ล่วงหน้า ส่วนเรื่องที่สาม ครั้งต่อไปถ้าเป็น SecurePoll คงไม่น่าเป็นปัญหา แต่ถ้าเป็น Open grounds แบบนี้อีกอาจต้องบังคับว่าให้ใส่เหตุผลที่เหมาะสม หรือไม่ก็ให้ กกต. (ซึ่งอาจมีมากกว่า 1 คนได้) พิจารณา Mark not done ตามความเหมาะสมครับ --∫G′(∞)dx 10:44, 2 มกราคม 2555 (ICT)
พูดถึงการบังคับใส่เหตุผล น่าจะช่วยแก้ปัญหาอิงตัวบุคคลได้ด้วยทางหนึ่งนะครับ จะได้ดูว่า ที่สนับสนุนไปนั้นเพื่ออะไร ไม่ใช่แบบ "อยากเลือก" หรือ "สุ่มเลือกได้คนนี้" หรือ "เขาเคยช่วยฉันมาก่อน" --Horus | พูดคุย 10:49, 2 มกราคม 2555 (ICT)
เหตุผลของหลายท่านเป็นเหตุผลเชิงคะนองครับ (และหลายอันผมก็ตัดเป็นคะแนนเสียหมด แต่ไม่ใช้ว่าเหตุผลคะนอง เพราะมีเหตุผลอื่นที่พึงตัดได้) แต่ผมก็ไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้เพราะผมเองเป็นกรรมการ จะไปทำอะไรทำนองนั้นไม่ได้ (แม้แต่เลือกผมเองก็เลือกที่จะไม่ลงคะแนนเพราะความที่ผมมี Position ค้ำคออยู่) จึงเห็นว่า อาจต้องตัดคำว่า "ตามสมควร" และใช้ว่า "ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้นี้เหมาะกับการเป็นอนุญาโตตุลาการ" หรืออะไรทำนองนี้ครับ --∫G′(∞)dx 10:55, 2 มกราคม 2555 (ICT)
ครับ เวลาระเบียบการเลือกตั้งคราวหน้าจะได้ระบุให้ชัดเจน ส่วนการพิจารณานั้น ผมเห็นว่าอาจดึงเสียงนั้นออกมาพูดคุยกันในหมู่กรรมการการเลือกตั้ง และให้มีมติออกมาครับ --Horus | พูดคุย 10:58, 2 มกราคม 2555 (ICT)
เรื่องนี้ค่อนข้าง subjective มากๆ หากเข้าไปดูที่โครงการขนาดใหญ่ - วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ/meta/commons ย่อมมีเสียงแปลกๆ แบบนี้โผล่มาบ้าง แน่นอนว่าอาจพอตัดได้ แต่ตัดเท่าไหร่จึงจะพอ บางคนก็อาจลอกเหตุผล (ทั้งดีและไม่ดี) จากคนอื่นมาก็ได้ บางคนอาจไม่ใส่เหตุผลเลยก็ได้ - การกำหนดตัวเลขผู้สนับสนุน และอัตราส่วนการสนับสนุนเอาไว้ เป็นการคิดเผื่อปัญหานี้ไว้แล้ว --taweethaも 11:31, 2 มกราคม 2555 (ICT)