คุยเรื่องวิกิพีเดีย:การตรวจสอบผู้ใช้

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาวิกิพีเดีย การตรวจสอบผู้ใช้

ปรับแก้นโยบายการคัดเลือกและการถอดถอนผู้ตรวจสอบผู้ใช้[แก้]

การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่

เนื่องจากกระบวนการในการคัดเลือกและการถอดถอนผู้ตรวจสอบผู้ใช้ของวิกิพีเดียภาษาไทยขึ้นอยู่กับคณะอนุญาโตตุลาการที่ปัจจุบันตำแหน่งว่างและไม่มีการเคลื่อนไหวแล้วในปัจจุบัน แม้จะมีการอนุโลมให้มีคัดเลือกหรือถอดถอนจากชุมชนได้แต่ก็ยังต้องผ่านอนุญาโตตุลาการอยู่ดี ตามข้อความที่ขีดเส้นใต้นี้:

โดยทั่วไปผู้ใช้ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือตรวจสอบผู้ใช้จะเป็นสมาชิกและอดีตสมาชิกในคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ แต่หากผู้ใช้ทั่วไปต้องการได้สิทธิ์นี้ จะต้องได้รับการคัดเลือกจากชุมชนเช่นเดียวกับการเสนอชื่อผู้ดูแลระบบ โดยต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็นต่อชุมชนและกรรมการตามสมควร และได้เสียงสนับสนุนจากชุมชนตามจำนวนที่กำหนด โดยถือว่าเป็นการได้รับเลือกจากคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการโดยอนุโลม เมื่อได้รับคัดเลือกแล้ว อนุญาโตตุลาการจะนำเรื่องให้ผู้ดูแลโครงการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจสอบผู้ใช้ต่อไป ทั้งนี้ผู้ใช้จะต้องยืนยันตัวบุคคลตามช่องทางที่มูลนิธิวิกิมีเดียกำหนดด้วย

ดังนั้นจึงขอให้ผู้ใช้ทุกท่านพิจารณาปรับแก้นโยบายการคัดเลือกและการถอดถอนผู้ตรวจสอบผู้ใช้ให้ดำเนินการผ่านชุมชนได้โดยไม่ต้องผ่านคณะอนุญาโตตุลาการเพื่อให้การคัดเลือกและการถอดถอนผู้ตรวจสอบผู้ใช้สามารถกระทำได้โดยชุมชนครับ --Geonuch (คุย) 12:03, 2 กรกฎาคม 2562 (ICT)

ถ้าไม่มีข้อกำหนดจากส่วนกลางว่าต้องผ่าน คอต. เห็นด้วย ว่าให้ลบข้อความที่มีเส้นใต้ออกเลย แล้วให้ชุมชนพิจารณาครับ --Wedjet (คุย) 12:07, 2 กรกฎาคม 2562 (ICT)

ผมขอเสนอแก้ไขดังนี้ครับ เพื่อลดการต้องอาศัยอำนาจของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งปัจจุบันสิ้นสภาพและไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ทั้งนี้ต้นร่างของนโยบายนี้มาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี 2555 และนโยบายดังกล่าวก็ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว อนึ่งร่างนี้พยายามแก้ไขคำให้เป็นไปในทางเดียวกันและแก้ไขตัวสะกดเล็กน้อยครับ --G(x) (คุย) 15:50, 19 กรกฎาคม 2562 (ICT)

โดยทั่วไปผู้ใช้ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือตรวจสอบผู้ใช้จะเป็นสมาชิกและอดีตสมาชิกในคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ แต่หากผู้ใช้ทั่วไปต้องการได้สิทธิ์นี้ ผู้ใช้ทั่วไปที่ประสงค์จะขอสิทธิในการใช้เครื่องมือตรวจสอบผู้ใช้ จะต้องได้รับการคัดเลือกจากชุมชนเช่นเดียวกับการเสนอชื่อผู้ดูแลระบบ โดยต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็นต่อชุมชนและกรรมการ ประชาคมตามสมควร และได้เสียงสนับสนุนจากชุมชน ประชาคมตามจำนวนที่กำหนด (ทั้งนี้ โดยให้ใช้คุณสมบัติและกระบวนการคัดเลือกเช่นเดียวกับการเสนอชื่อผู้ดูแลระบบโดยอนุโลม) โดยถือว่าเป็นการได้รับเลือกจากคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการโดยอนุโลม ประชาคมเพื่อประโยชน์ในการขอสิทธิตามนโยบายการตรวจสอบผู้ใช้ของเมทาวิกิ เมื่อได้รับคัดเลือกแล้ว อนุญาโตตุลาการจะนำเรื่องให้ผู้ดูแลโครงการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจสอบผู้ใช้ต่อไป ทั้งนี้ผู้ใช้จะต้องยืนยันตัวบุคคลตามช่องทางที่มูลนิธิวิกิมีเดียกำหนดด้วย ผู้ตรวจสอบผู้ใช้สามารถถูกถอดถอนได้ หากชุมชนหรือคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ ประชาคมเห็นว่าผู้ตรวจสอบผู้ใช้ได้ใช้เครื่องมือตรวจสอบผู้ใช้ในทางที่ผิด เช่น ตรวจสอบในทางที่ผิด หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่จำเป็น ชุมชน ประชาคมอาจเสนอชื่อให้ถอดถอนผู้ตรวจสอบนั้นหรือคณะกรรมการอาจนำเรื่องให้ผู้ดูแลโครงการถอนสถานะผู้ตรวจสอบได้ ไม่ว่าจะเป็นทางอีเมล คำขอส่วนบุคคล หรือการขอถอนสถานะตามกระบวนการทั่วไปในเมตา เมทาวิกิ ทั้งนี้หากมีกรณีเร่งด่วน ผู้ดูแลโครงการอาจถอดถอนสถานะผู้ตรวจสอบผู้ใช้เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการตัดสินจากคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ ประชาคมได้ ทั้งนี้ต้องเป็นการชั่วคราวและมีเหตุผลรองรับเท่านั้น

— ร่างแก้ไขโดย G(x) (คุย)
ส่วนที่ขีดทับ หมายถึงส่วนที่ตัดออก / ส่วนที่ขีดเส้นใต้ หมายถึงส่วนที่เพิ่มเติม
เห็นด้วย --Wedjet (คุย) 17:07, 19 กรกฎาคม 2562 (ICT)
เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 20:35, 19 กรกฎาคม 2562 (ICT)
เห็นด้วย --JMKTIN (คุย) 22:18, 19 กรกฎาคม 2562 (ICT)
เห็นด้วย --Soponwit Sangsai (คุย) 17:29, 20 กรกฎาคม 2562 (ICT)
เห็นด้วย --คุณแบงค์ 13:03, 26 กรกฎาคม 2562 (ICT)

สรุป ปรับแก้นโยบายการคัดเลือกและการถอดถอนผู้ตรวจสอบผู้ใช้ให้ดำเนินการโดยประชาคม --Geonuch (คุย) 20:07, 23 กรกฎาคม 2562 (ICT)


การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่

ประกาศสละสิทธิ์ผู้ตรวจสอบผู้ใช้ (CheckUser) ของ ผู้ใช้:Octahedron80[แก้]

เนื่องด้วยก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้า (ผู้ใช้:Octahedron80) เคยเป็นผู้ตรวจสอบผู้ใช้ ร่วมกับผู้ใช้อีกท่านหนึ่ง (เป็นใครจำไม่ได้) รวม 2 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะอนุญาโตตุลาการ เวลาต่อมาผู้ใช้ดังกล่าวสละสิทธิ์การเป็นผู้ตรวจสอบผู้ใช้ ทำให้สิทธิ์ผู้ตรวจสอบผู้ใช้ของข้าพเจ้าถูกระงับโดยปริยาย เนื่องจากเหลือเพียงคนเดียว ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบการทำงานซึ่งกันและกันได้ บัดนี้กำลังมีการเสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ตรวจสอบผู้ใช้ขึ้นมาใหม่ และจะทำให้ผู้ตรวจสอบผู้ใช้มีรวมไม่น้อยกว่า 2 คน สิทธิ์ของข้าพเจ้าจึงจะถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ ข้าพเจ้าจึงขอใช้พื้นที่ตรงนี้ ประกาศสละสิทธิ์ผู้ตรวจสอบผู้ใช้ของ ผู้ใช้:Octahedron80 โดยให้มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อให้การทำงานของผู้ตรวจสอบผู้ใช้ชุดใหม่เป็นไปโดยสะดวก จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน --奥虎 ボンド 13:29, 26 กรกฎาคม 2562 (ICT)

ข้อเสนอการจำกัดการเปิดเผยไอพีของโครงการ[แก้]

@Geonuch, B20180, Wedjet, และ Mopza: ขอยกมาอภิปรายตรงนี้ครับ เนื่องจากมูลนิธิวิกิมีเดียเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลไอพีเป็นการทั่วไปอาจก่อให้เกิดประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว มูลนิธิวิกิมีเดียจึงมีข้อเสนอเพื่อจำกัดการเปิดเผยไอพีในโครงการ ทั้งในแง่ของการเปิดเผยต่อสาธารณชนและในการเก็บบันทึกประวัติ การไม่เปิดเผยข้อมูลเช่นนี้อาจทำให้ผู้ตรวจสอบผู้ใช้และผู้ดูแลระบบปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบและป้องกันการก่อกวนได้ลำบากขึ้น แต่มูลนิธิวิกิมีเดียกำลังเล็งหาวิธีการเพื่อดำเนินการให้สามารถป้องกันและปราบปรามการก่อกวนโดยใช้ตัวบ่งชี้ผู้ใช้ (identifier) อย่างอื่นที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลไอพีเกินจำเป็น (ดูเพิ่มเติมในรายงานผลการศึกษาการซ่อนไอพี) ทั้งนี้ มูลนิธิได้ขอความเห็นผู้ใช้ทั่วไปทุกโครงการในหน้าขอความเห็นในมาตรการดังกล่าวนี้ครับ --G(x) (คุย) 16:43, 22 สิงหาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

@G(x): ย้ายไปสภากาแฟไหมครับ เพื่อขอความเห็นของผู้ใช้ทั่วไปด้วย (ส่วนหนึ่งคือผมไม่แน่ใจว่าตัวเองจะว่างมาอ่าน/ตอบไหม) ถ้าผู้ใช้คนอื่นรับรู้อาจมีความเห็นที่น่าสนใจก็ได้ครับ --Geonuch (คุย) 19:58, 25 สิงหาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

กระบวนการการขอตรวจสอบ[แก้]

จากผมเสนอให้ย้ายการตรวจสอบผู้ใช้จากหน้าแจ้งผู้ดูแลระบบมาที่หน้ารายงานหุ่นเชิดแทน (คุยเรื่องวิกิพีเดีย:แจ้งผู้ดูแลระบบ#เสนอย้ายการตรวจสอบผู้ใช้) ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไร โดยได้ร่างส่วนหัวสำหรับการตรวจสอบหุ่นเชิดใหม่ตามนี้ (ปรับปรุงต้นแบบจาก EN อาจใส่คำอธิบายที่เข้ากับบริบทของเราเองทีหลัง) ซึ่งจะมีการเปลี่ยนรายละเอียดในนโยบายเล็กน้อยและส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็น นอกจากนี้ขอให้พิจารณาเกี่ยวกับ

  1. ในหลายภาษาใช้ investigation (การสืบสวน) แทน report (รายงาน) ซึ่งผมไม่มีปัญหาว่าจะใช้คำไหน แต่เมื่อพิจารณาดูแล้ว report เหมือนจะเป็นการนำชื่อหุ่นเชิดมา "วางไว้" เฉย ๆ ไม่ได้มีการดำเนินการอะไรต่อขณะที่ investigation ทำให้รู้สึกถึงมีขั้นตอนดำเนินการ แต่ที่บอกไปถ้าใครอยากใช้คำไหนก็บอกได้ครับ
  2. ไม่ทราบว่าวิกิพีเดียภาษาไทยอยากมี Clerk (เสมียน/ผู้ช่วย) เหมือนภาษาอังกฤษในการสืบสวนหุ่นเชิดด้วยไหมครับ เท่าที่ดูคราว ๆ Clerk จะช่วยดูในการสืบสวนหุ่นเชิดด้านพฤติกรรมและการพิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้องรวมถึงมีการฝึก trainee เพื่อเป็น clerk โดยเฉพาะ ซึ่งผมว่าก็ดีเหมือนกันแต่ด้วยขนาดโครงการและความร่วมมือของผู้ใช้ที่มีอยู่ในตอนนี้ถ้าทำแล้วยุ่งยากหรือหาคนมาทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไรครับ
  3. นอกเหนือจากหน้ารายงานหุ่นเชิดแล้ว จะให้ทำการเปิดอีเมลของกลุ่มผู้ตรวจสอบผู้ใช้ (ที่ไม่ใช่อีเมลส่วนตัว) เช่น checkuser-th-wp@wikipedia.org เป็นอีกช่องทางหนึ่งด้วยหรือไม่ครับ (ถ้าชุมชนเห็นว่าจำเป็น)

--Geonuch (คุย) 20:26, 25 สิงหาคม 2562 (ICT)

  1. ถ้าสมมุติว่าต้องการให้กระบวนการตรวจสอบผู้ใช้อยู่ภายใต้กระบวนการตรวจสอบหุ่นเชิด ผมขอเสนอคำว่า "แจ้งตรวจสอบผู้ใช้" หรือ "แจ้งตรวจสอบหุ่นเชิด" ในความหมายของ Investigation ครับ (ซึ่งหมายความว่า Subpage จะเป็น "วิกิพีเดีย:หุ่นเชิด/แจ้งตรวจสอบหุ่นเชิด" เป็นต้น) แต่ทั้งนี้หากมีชื่ออื่นเพื่อพิจารณาด้วยก็ยินดีครับ
  2. ถ้าชุมชนไม่ใหญ่มาก ผมเห็นว่าผู้ตรวจสอบสามารถดำเนินการตามที่ได้รับแจ้งมาเองได้เลยโดยไม่ต้องขอให้มีผู้ช่วย ผู้ช่วยจะใช้ในกรณีอำนวยความสะดวกระหว่างผู้ตรวจสอบและผู้ขอตรวจสอบในกระบวนการต่าง ๆ ทั้งนี้ หากมีก็จะเป็นการอำนวยความสะดวกในส่วนนี้ อย่างไรก็ดี ผู้ที่ทำหน้าที่ในส่วนนี้ต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในนโยบายการใช้หุ่นเชิดพอสมควร (รวมถึงคุณสมบัติอื่น ๆ) ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าจะมีผู้ใช้ในส่วนนี้มากน้อยขนาดไหนครับ
  3. หากมีอีเมล (เช่นเดียวกับที่ผมได้เคยยกประเด็นไว้ในนโยบาย Oversight) ก็จะเป็นการดีครับ
--G(x) (คุย) 15:58, 26 สิงหาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
  1. ใช้ "แจ้งตรวจสอบหุ่นเชิด" ก็ดีครับ คิดว่าย้ายไปเป็นหน้าหลัก (วิกิพีเดีย:แจ้งตรวจสอบหุ่นเชิด) เหมือนโครงการอื่นก็ได้ครับ
  2. ผมกังวลเรื่องการหาผู้ใช้ที่มีคุณสมบัติและยินดีที่จะรับอาสาตรงนี้ยากครับ ไว้ถ้าโครงการใหญ่ขึ้นอาจขอให้มีการพิจารณาตรงนี้ใหม่
  3. ขออนุญาตสอบถามคุณ G(x) ว่าการเปิดใช้อีเมลของผู้ตรวจสอบผู้ใช้จะมีปัญหาในเรื่องการพิจารณาหลักฐานที่ไม่โปรงใส่หรือไม่ครับ (กรณี Oversight เข้าใจว่าจำเป็นต้องมีอีเมลเพื่อไปเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล) --Geonuch (คุย) 20:23, 26 สิงหาคม 2562 (ICT)
 ความเห็น อยากให้มีเสมียน/ผู้ช่วย อย่างน้อยสัก 2 คน เหมือนเมื่อครั้งที่มีอนุญาโตตุลาการครับ จะได้ทำงานร่วมกันเป็นทีม ขาดเหลืออะไรยังสามารถช่วยแนะนำกันได้ และหากอีเมลกลางก็ดีนะครับ (ป.ล. ให้เสมียน/ผู้ช่วย ร่วมใช้อีเมลกลางนี้ด้วยดีไหมครับ) --B20180 (คุย) 20:40, 26 สิงหาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
 ความเห็น
  1. ผมว่าควรใช้คำว่า "แจ้งตรวจสอบ..." ดีกว่าครับ เพราะหน้าที่ตรงนี้คือ "ตรวจสอบเมื่อเทียบกับผู้เชิดหุ่น" หรือ "ตรวจสอบหุ่นเชิด เพื่อหา account ที่เชิดหุ่น" ถ้าใช้คำว่า "รายงาน" ก็คือ เอามาแปะไว้เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไรเลย อย่างที่คุณ Geouch กล่าวไว้ครับ
  2. กรณีของ clerk ผมว่าอาจจะหาคนเข้ามาทำในส่วนนี้ยาก แต่ถ้ามีก็จะช่วยลดภาระของ Checkuser ไปได้บ้างครับ
  3. สำหรับอีเมลของ Checkuser ผมเองอยากให้ใช้อีเมลกลางของกลุ่มผู้ตรวจสอบผู้ใช้ เช่นเดียวกับกรณีของผู้ควบคุมประวัติครับ (คือ จะได้สามารถตรวจสอบการดำเนินการซึ่งกันและกันระหว่างผู้ตรวจสอบผู้ใช้/ผู้ควบคุมประวัติ และจะได้สะดวกต่อการติดต่อ) --Ken-Z! | Talk I hate Grean & Vandalism on Wikipedia ! 21:03, 26 สิงหาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
clerk อาจจะหาได้ยากครับ เพราะจะต้องปลีกเวลามาทำหน้าที่ตรงนี้เฉพาะเมื่อมีความจำเป็น ทุกวันนี้ขนาดเข้ามาวิกิพีเดียให้สม่ำเสมอบางทียังไม่ได้ครับ --Wedjet (คุย) 01:03, 9 กันยายน 2562 (ICT)

หลังจากกินเวลาอภิปรายมาระยะหนึ่งแล้ว...

  1. ชื่อใหม่เป็น "วิกิพีเดีย:แจ้งตรวจสอบหุ่นเชิด"
  2. แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นว่า clerk มีประโยชน์ แต่ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการหาอาสาสมัครมาทำหน้าที่ซึ่งเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของวิกิพีเดียภาษาไทย ในส่วนนี้คงเก็บไปก่อน
  3. จากที่ได้สอบถามถึงวิธีการในการเปิดใช้งานอีเมลผ่าน Mailing list ของ CU โดยทาง CU ได้ให้วิธีการในการเปิดใช้งานอีเมล (ที่เป็น OTRS queue แบบวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) ตามที่ถามไป แต่หลายท่านให้ข้อกังวลการเปิดใช้งานอีเมลของวิกิพีเดียภาษาไทยโดยเฉพาะการดำเนินงานที่กระทำโดยโครงการที่มี CU แค่ 2 คน (ผมเดาว่าการที่ CU ของเราเคย "เว้นว่าง" ไประยะหนึ่งอาจเป็นสาเหตุที่เป็นข้อกังวลดังกล่าว) และมีคดีมากเพียงใดที่จะต้องการใช้งานอีเมล สำหรับการดำเนินงานเพื่อส่งหลักฐานหรือรายละเอียดในทางลับนั้น วิธีการทั่วไปที่สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องมีอีเมลส่วนกลางคือ ผู้ใช้ทั่วไปส่งอีเมลเข้าหา CU คนใดคนหนึ่ง เมื่อได้รับรายละเอียดให้นำลง Mailing list ส่วนกลางเพื่อให้ CU ในโครงการเดียวกันสามารถเห็นและพิจารณาหลักฐานร่วมกันได้ นอกจากนี้ทาง CU ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษได้เล่าถึงปัญหาการลดลงของผู้ตรวจสอบผู้ใช้ในหลายปีที่ผ่านมาทำให้การใช้งานอีเมลของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเองก็ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ ด้วยเหตุนี้การขอเปิดใช้อีเมลของวิกิพีเดียภาษาไทยจึงเก็บไปตาม clerk จนกว่าจะมีความจำเป็นในภายภาคหน้า

--Geonuch (คุย) 19:38, 2 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ข้อ 3 เห็นด้วยกับการให้ผู้ใช้ส่งอีเมลหา CU เป็นรายบุคคลไปก่อน แต่อาจเพิ่มข้อกำหนดว่า CU ที่ได้รับอีเมลจะต้องแจ้งเรื่องให้ CU อีกคนทราบเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและการคานอำนาจกันด้วยครับ --Wedjet (คุย) 01:03, 3 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
หมายเหตุเรื่องอีเมล พิเศษ:Diff/8538274 --Geonuch (คุย) 20:22, 11 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

Meta RFC[แก้]

ขอแจ้งว่าขณะนี้มีการเสนอให้แก้ไขนโยบายการตรวจสอบผู้ใช้ (รวมถึงการควบคุมประวัติ) ที่เมทาวิกิ ในกรณีที่ RFC ได้ความเห็นพ้องอาจมีผลกระทบต่อนโยบายการตรวจสอบผู้ใช้ของวิกิพีเดียภาษาไทยซึ่งต้องปรับให้สอดคล้องกับนโยบายทั่วโลกด้วย จึงขอให้ติดตามและสามารถแสดงความเห็นในหน้าดังกล่าวได้ครับ

@B20180, G(x), และ Mopza: (แจ้งถึง CU ปัจจุบันและ CU candidate ครั้งล่าสุด) --Geonuch (คุย) 21:59, 21 ธันวาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ต้องการผู้ตรวจสอบผู้ใช้เพิ่ม[แก้]

จากการสนทนาส่วนตัวของทีมผู้ตรวจสอบผู้ใช้ปัจจุบัน ผมและคุณ B20180 มีความเห็นตรงกันอย่างหนึ่งว่าอยากให้มีผู้ตรวจสอบผู้ใช้เพิ่มอีกประมาณ 1—2 คน เนื่องจากเราทั้งคู่อาจมีภารกิจบางประการที่ทำให้ไม่ได้เข้ามาในวิกิพีเดียในบางครั้ง หรืออย่างตัวผมเองก็มีหน้าที่การงานในชีวิตจริงที่ไม่สะดวกใช้เครื่องมือหรือลาพักผ่อนในบางครั้ง ซึ่งขณะนี้จำนวน case ที่แจ้งขอตรวจสอบหุ่นเชิดในวิกิพีเดียภาษาไทยอาจดูไม่เยอะมาก แต่การตรวจสอบด้วยเครื่องมือนั้นต้องพิจารณาและเปรียบเทียบกับข้อมูลจำนวนมากเพื่อยืนยันความเกี่ยวข้องของผู้ใช้และอาจใช้ระยะเวลานานในการยืนยัน ถ้ามีผู้ตรวจสอบผู้ใช้เพิ่มอีกคนจะช่วยแบ่งเบาภาระ เพิ่มความรอบคอบในการพิจารณาและไม่ต้องกังวลกับการระงับสิทธิผู้ตรวจสอบผู้ใช้ทั้งวิกิพีเดียภาษาไทยถ้าคนใดคนหนึ่งลาออกหรือถูกระงับสิทธิไป (โครงการต้องมี CU อย่างน้อย 2 คน ถ้าคนใดคนหนึ่งออกอีกคนต้องออกด้วย) จึงไม่ทราบว่ามีใครสนใจที่จะเป็นผู้ตรวจสอบผู้ใช้บ้างไหมครับ (จะเสนอเองหรือทาบทามผู้อื่นก็ได้) --Geonuch (คุย) 12:38, 25 มกราคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]