ข้ามไปเนื้อหา

คุยกับผู้ใช้:Wichien999

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Wichien999 สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Wichien999! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 09:17, 12 มีนาคม 2559 (ICT)

ทฤษฏีทางการศึกษากับการออกแบบระบบการสอน

[แก้]

บทนำ การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าท้ายความสามารถของมนุษย์ เพราะเป็นยุคที่โลกต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และข้อมูลข่าวสารทุกอย่างไปได้ทุกมุมโลก การศึกษารูปแบบใหม่ เรียกว่าเป็นการจัดการศึกษายุคฐานแห่งเทคโนโลยี หรือ Technology Based Paradigm ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของไทยในศตวรรษใหม่ ต้องมีเป้าหมายใน การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนไปสู่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทั้งครูและผู้เรียนที่มุ่งเน้น “กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้” และ “กระบวนการหาคำตอบสำคัญกว่าคำตอบ” โดยใช้ฐานคิด “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century skills) ที่พัฒนาโดยองค์กรภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 [1] ซึ่งประกอบด้วย 3 ทักษะ สำคัญได้แก่ 1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มุ่งเน้นให้เกิดความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ และแก้ปัญหาการสื่อสาร การสร้างความร่วมมือการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม 2. ทักษะชีวิตและการประกอบอาชีพ มุ่งเน้นให้มีความสามารถในการยืดหยุ่นและปรับตัว มีเป้าหมายของชีวิตและความมุ่งมั่นเข้าใจสังคมและยอมรับ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมมี ศักยภาพการผลิต และยอมรับการตรวจสอบมีความเป็นผู้นำและมีความรับผิดชอบ 3.ทักษะทางด้านข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร เทคโนโลยีมุ่งเน้นให้มีความสามารถใน การเข้าถึงสารสนเทศและสื่อต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถจัดการ เชื่อมโยง ประเมินและสร้าง สารสนเทศ รวมถึงการประยุกต์ใช้เรื่องจริยธรรมและกฎหมายกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ ด้วยเหตุนี้เครื่องมือเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับ การเรียนรู้ร่วมกันของทั้งผู้บริหารการศึกษา ครูและผู้เรียนบนฐานคิด “กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่า ความรู้” และ “กระบวนการหาคำตอบสำคัญกว่าคำตอบ” โดยใช้ฐานคิด “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century skills) เพื่อรองรับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยใน ศตวรรษที่ 21 โดยมีโจทย์ที่มีความเร่งด่วนอย่างการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) การจัดการศึกษาในปัจจุบันจึงจำเป็นให้มีการจัดการศึกษาที่เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง การออกแบบการสอนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้บรรลุถึงผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการ ซึ่งการออกแบบระบบการสอน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนการสร้างและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนต่างๆ กระบวนการในการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะ การออกแบบระบบการสอนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการจัดการศึกษา

ความหมายของการศึกษา มาตราที่ 4 ของ พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ดังนี้ “การศึกษา” คือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้า ทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้ บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต [2] ทฤษฎีการศึกษา (Educational theory) การประยุกต์เอาหลักการและทฤษฎีทางการศึกษาไปใช้เป็นหลักในการจัดการศึกษานั้นกระทำกันหลายวิธี โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีผสมผสานโดยเลือกสรรหลักการที่ดีของหลายทฤษฎีที่พอจะประมวลเข้าด้วยกันได้โดย ไม่ขัดแย้งกัน มาใช้เป็นแนวการจัดการศึกษา[3]

ปรัชญาทางการศึกษา เป็นสิ่งกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา หรือเป้าหมายของการศึกษาที่กำหนดให้ผู้เรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร ปรัชญาของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 [4]มีเป้าหมายเพื่อสร้างคนไทยให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขัน และร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลกได้ เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ จึงกำหนดหลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้ 1. เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ 4. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้ 5. เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์

ในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ ต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการเรียนของมนุษย์ การจัดการศึกษาควรเข้าใจทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ และทฤษฎีการเรียนรู้ของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ทฤษฎีที่สำคัญและเป็นรากฐานในการเรียนรู้ของมนุษย์มีดังต่อไปนี้[5] 1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม 2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา 3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มคอนสตรัคติวิสต์

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลว(neutral-passive)การกระทำต่าง ๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อมความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียนพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus-response)การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดคือทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย4 ทฤษฏี [6] ดังนี้ 1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ(Pavlov’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข 2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน(Watson’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ 3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning) เน้นหลักการจูงใจ สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก 4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียน สรุปความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม 1. พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้ 2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง 3. แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา [7] ทฤษฎีปัญญาเป็นกระบวนการทางสติปัญญาในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับตนเองด้วยการสร้างเสริมประสบการณ์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ ทาให้เกิดการเรียนรู้ได้ 2 ลักษณะ คือ การหยั่งรู้ (insight) และการรับรู้(perception) ได้ดีขึ้น ผู้เรียนจะเข้าใจและมองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) เน้นว่าการเรียนรู้เกิดจากการที่มนุษย์มีส่วนร่วม หรือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมีพฤติกรรม แตกต่างกันตามลักษณะนิสัยส่วนตัว และแรงกระตุ้นที่เป็นปัจจัยของความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญกับบริบททางสังคม (social context) และการมีปฏิสัมพันธ์ ลักษณะการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้บทบาทและมีพฤติกรรมตามต้นแบบในสังคม คำว่า “บริบททางสังคม” ตามทฤษฎีเกี่ยวกับบริบททางสังคม (Theory of Social Context) ได้ให้ความหมายว่า เป็นสภาพเงื่อนไขที่กำหนดแบบแผนความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ได้แก่ บทบาทความรับผิดชอบ และความคาดหวังของผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ คือ 1) ความเคารพซึ่งกันและกัน 2) ความรับผิดชอบร่วมกันและความมุ่งหวังที่มีต่อเป้าหมายร่วมกัน 3) การสื่อสารและรวบข้อมูลย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ 4) ความร่วมมือและความเต็มใจที่จะจัดการกับปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีที่เหมาะสม 5) ความรู้สึกปลอดภัยไว้วางใจในห้องเรียน

ดังนั้น การสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้จึงเป็นบทบาทที่สำคัญทั้งผู้เรียนและผู้สอนร่วมกัน นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันและการเรียนแบบมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการที่สำคัญต่อการเรียนรู้ทางสังคม ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม เป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่รวมถึงการศึกษาด้วย จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่แสดงความเป็นอิสระจากแรงจูงใจภายนอกที่สร้างขึ้น ได้แก่ รางวัลและการลงโทษที่กำหนดขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ให้มากำกับควบคุมพฤติกรรมของเรา (self – regulation) จึงต้องมีการตั้งมาตรฐานที่เป็นจริงและเหมาะสม และตั้งเป้าหมายย่อย ๆ เพื่อไปสู่เป้าหมายปลายทาง ทฤษฎีนี้จึงเน้นการรู้จักตนเอง และการแสวงหากลยุทธ์ที่จะกำกับควบคุมตนเอง เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเราต้องสร้างความมั่นใจในตนเอง และสร้างแรงจูงใจในการเรียนและพัฒนากลยุทธ์ในการเรียนจากการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น

ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิซึม (Finding IT Consulting, มมป.) ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ ได้มีการเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นการศึกษาปัจจัยภายนอกมาเป็น สิ่งเร้าภายใน ซึ่งได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ หรือกระบวนการรู้คิด กระบวนการคิด(Cognitive processes) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายในมีส่วนช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และความรู้เดิมมีส่วนเกี่ยวข้องและเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เรียน แนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม(Constructivism) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยมีผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้เดิมที่มีมาก่อน โดยพยายามนำความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์และปรากฏการณ์ที่ตนได้พบเห็นมาสร้างเป็นโครงสร้างทางปัญญา โดยการเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของตนเอง เพื่อให้ปรับเข้าสู่สภาพสมดุล ของแต่ละบุคคล หรือเกิดการเรียนรู้ หลักการสำคัญ 2 ประการสำหรับการนำทฤษฎีไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้แก่ 1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ลงมือปฏิบัติ ประสบการณ์เดิมและการค้นหาวิธีการแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดูดซึมและการปรับโครงสร้างทางปัญญาวิธีการนำเสนอสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อสารสนเทศถูกนำเข้ามาในฐานที่เป็นสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหา อาจจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือมากกว่าจะเป็นข้อเท็จจริงอย่างแท้จริง 2. การเรียนรู้ควรเป็นองค์รวม เน้นสภาพจริงและสิ่งที่เป็นจริง

ไฟล์:System001.gif
ภาพที่ 1 องค์ประกอบของระบบ

การออกแบบระบบการสอน การออกแบบระบบการสอนเป็นกระบวนการ(Instructional Design as a process) การออกแบบระบบการสอนเป็นการพัฒนาด้านการเรียนการสอนอย่างมีระบบ โดยการนำ ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนมาใช้เพื่อประกันคุณภาพด้านการเรียนการสอนเป็นกระบวนการทั้งหมดของการวิเคราะห์ความต้องการการเรียน เป้าหมายการเรียนรู้และการพัฒนาระบบการถ่ายทอดเพื่อให้ตอบสนองความต้องการดังกล่าว การออกแบบการสอนจะรวมไปถึงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนตลอดจนกิจกรรมการเรียนการสอนการนำไปใช้และการประเมินผลทั้งด้านการสอนและเกี่ยวกับผู้เรียนด้วย [8] การออกแบบระบบการเรียนการสอนและพัฒนาระบบการเรียนการสอนเป็นการนำวิธีระบบมาใช้ หรือการวางแผน

วิธีระบบ (System approach) วิธีระบบ คือแนวทางในการพิจารณาและแก้ไขปัญหา เป็นการจัดสิ่งต่างๆในการทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นการวางแผนเพื่อป้องกันความสับสน อาจมีการออกกฎระเบียบในการทำงานเพื่อขจัดความขัดแย้งระหว่างผู้ร่วมงานหรือผู้ที่อยู่ในระบบ ระบบยังเอื้อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วไม่ซ้ำซ้อนในการทำงาน ทำให้ทำงานงานง่ายประหยัดเวลาและงบประมาณ การทำงานจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล[9]


ภาพที่ 1 องค์ประกอบของระบบ ระบบการเรียนการสอน ระบบการเรียนการสอน เป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอน ที่มีการจัดให้ผู้สอนและผู้เรียนมี ปฏิสัมพันธ์กัน โดยที่มีจุดมุ่งหมายของการปฏิสัมพันธ์นี้คือการเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด (กิดานันท์ มลิทอง,2548) แนวคิดของวิธีระบบ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา ปรับปรุงขึ้นเป็นลำดับ โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน (Model) ขึ้นหลากหลายรูปแบบ รูปแบบเหล่านี้เรียกชื่อว่า ระบบการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design systems) หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า การออกแบบการเรียนการสอน (instructional design) การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่อาศัยหลักการและทฤษฎีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษา

การออกแบบการเรียนการสอน กิจกรรมการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design) นั้นไม่ใช่กิจกรรมการออกแบบและสร้างระบบการสอนขึ้นใหม่ แต่เป็นกระบวนการนำรูปแบบ (model) ที่มีผู้คิดสร้างไว้แล้วมาใช้ตามขั้นตอน (step) ต่าง ๆ ที่เจ้าของรูปแบบนั้นกำหนดไว้อาจจะมีคำถามว่า ถ้าไม่ได้ออกแบบระบบเอง ทำไมจึงใช้คำว่า “ ออกแบบการเรียนการสอน” คำตอบที่ชัดเจนก็คือ ผู้ใช้รูปแบบ (model) ของการสอนนั้นจำเป็นต้องออกแบบตามขั้นตอนต่าง ๆ ของรูปแบบนั้น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบ (model) ที่มีผู้สร้างไว้ให้นั้นเป็นเพียงกรอบและแนวทางในการดำเนินงานเท่านั้น รายละเอียดต่างๆ ภายในขั้นตอนจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพปัญหา จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน และเงื่อนไขต่าง ๆ [10]

องค์ประกอบของการออกแบบการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอนให้หลักการแนวทางของระบบ ดังนั้นในการออกแบบการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้ และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อันได้แก่ กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากการประเมินผลที่เรียกว่า การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง (formative evaluation) เนื่องจากมีรูปแบบ (Model) สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ประกอบในรูปแบบนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็จะยึดแนวทางของรูปแบบดั้งเดิม (generic model)

รูปแบบดั้งเดิม (Generic model) 1. การวิเคราะห์ (Analysis) 2. การออกแบบ (Design) 3. การพัฒนา (Development) 4. การนำไปใช้ (Implementation) 5. การประเมินผล (Evaluation)

ADDIE MODEL คือการออกแบบระบบการเรียนการสอน กล่าวคือกระบวนการพัฒนาโปรแกรมการสอน จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด มีแบบจำลองจำนวนมากมายที่นักออกแบบการสอนใช้ และสำหรับตามความประสงค์ทางการสอนต่างๆ กระบวนการออกแบบการเรียนการสอน [11]

ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้ ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน, การวิเคราะห์ภารกิจ ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย และ รายการภารกิจที่จะสอน ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป

ขั้นการออกแบบ (Design) ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอน ในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ และขยายผลสารัตถะการสอน ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test) 2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่) 3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design)การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณา มีดังนี้ 1. การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution) 2. การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ 3. การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 4. การกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background),สีของส่วนอื่นๆ 5. การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน ขั้นการพัฒนา (Development) ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือ สร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียน ในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอน และสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ

ขั้นการนำไปใช้ (Implementation) เป็นขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ, สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆ และ เป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้เป็นการนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ

ขั้นการประเมินผล (Evaluation) การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียนขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว การประเมินผล อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation) โดยสองขั้นตอนนี้จำดำเนินการดังนี้


การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้ คือ เพื่อปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล

การประเมินผลรวม (Summative evaluation) โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน ( เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรือจะดำเนินการต่อไปหรือไม่) (MSU Knowledge Management มหาวิทยาลัยมหาสารคราม,2557:ออนไลน์)

ทฤษฏีทางการศึกษากับการออกแบบระบบการสอน

สุมาลี ชัยเจริญ(2557) ได้กล่าวว่า นักเทคโนโลยีทางการศึกษาจำเป็นต้องออกแบบระบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับทฤษฏีทางการศึกษา โดยใช้พื้นฐานความเชื่อเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวของผู้เรียน ซึ่งประกอบไปด้วย ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา และทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มคอนสตรัคติวิสต์ โดยออกแบบระบบการสอนให้สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ดังต่อไปนี้

การออกแบบระบบการสอนตามแนวทฤษฎีกลุ่มพฤติกรรมนิยม การออกแบบตามแนวความคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยมเป็นแนวคิด ของการเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่บุคคลมีความปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด ในการออกแบบการสอนที่เป็นรายบุคคล ซึ่งเป็นกระบวนการเชิงเส้น(Linear Process) มีการวางแผนที่เป็นลำดับขั้นตอนและดำเนินไปตามลำดับ มีรูปแบบระบบการเรียนการสอน สามารถแบ่งขั้นตอนได้ 5 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์(Analysis) ขั้นที่ 2 การออกแบบ(Design) ขั้นที่ 3 การผลิต(Production)และการพัฒนา(Development) ขั้นที่ 4 การนำไปใช้(Implementation) ขั้นที่ 5 การปรับปรุง(Maintenance and revision )

การออกแบบระบบการสอนตามแนวทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีของกลุ่มพุทธิปัญญานิยมได้ เน้นเชิงพุทธิปัญญา(Cognitive) มากกว่าเชิงพฤติกรรม(Behavioral) การเรียนรู้เป็นผลจากการจัดหมวดหมู่ความจำ(Memory)ลงสู่โครงสร้างทางปัญญา(Cognitive structure)ซึ่งเรียกว่าเมลทอลโมเดล(Mental Model) ดังนั้นแนวคิดในการออกแบบการออกแบบระบบการสอนตามแนวทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญานิยม ประกอบไปด้วย พื้นฐานเชิงทฤษฎีที่มีการหลอมรวมทั้งความรู้เกี่ยวกับการออกแบบการสอนและกำหนดวิธีในการออกแบบการเรียนการสอน เป็นวิธีการสำหรับการนำเสนอความรู้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน เป็นการรวบรวมระบบเชี่ยวชาญในแต่ละส่วนจะมีฐานความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการออกแบบการเรียนการสอนที่เฉพาะหรือชุดของการตัดสินใจ มีห้องสมุดสำหรับการจัดการเรียนการสอนและความสามารถที่จะเพิ่มรายการใหม่หรือที่มีมาก่อนในห้องสมุด โปรแกรมออนไลน์ที่เป็นที่ปรึกษาเชิงปัญญาที่ให้การบริการผู้เรียนในลักษณะที่เป็นพลวัตรระหว่างการเรียนการสอนที่อาศัยพื้นฐานที่มีการสนทนากับผู้เรียน

การออกแบบระบบการสอนตามแนวทฤษฎีกลุ่มคอนสตรัคติวิสต์ คอนสตัคติวิสต์ (สุมาลี ชัยเจริญ, 2554)[12]เป็นกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่ไม่ได้เป็นโมเดลเฉพาะของการออกแบบการสอน และให้ความสำคัญกับความวับซ้อนและมุมมองที่หลากหลาย ที่ตอบสนองฐานความรู้ของสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิตรวมทั้งเป็นการเน้นพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างมากว่าผู้รับดังนั้นแนวในการออกแบบระบบการสอนจึงมุ่งเน้นดังต่อไปนี้ 1. มุ่งเน้นการสร้างการเรียนรู้(Learning constructed) การเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้างผู้เรียนสร้างสิ่งแทนความรู้ภายใน 2. การเรียนรู้เป็นการแปลความหมายของตนเอง(Personal interpretation) การเรียนรู้เป็นผลที่เกิดจากการแปลความหมายที่อาศัยประสบการณ์แต่ละคน 3. การเรียนรู้เกิดจากการลงมือทำ(Active Learning) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดจาการกระทำ สร้างความหมายที่พัฒนาจากพื้นฐานของประสบการณ์ 4. การร่วมมือกันเรียนรู้(Collaboration learning)การพัฒนาแนวคิดที่เกิดจากการร่วมมือกันแก้ปัญหาและเสนอแนวคิดหรือมุมมองที่หลากหลาย 5. การเรียนรู้ที่เหมาะสม (Situated Learning) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสภาพจริงหรือบริบทที่เหมาะสม 6. การทดสอบเชิงบูรณา(Testing integrated) การการทดสอบควรเป็นสิ่งที่บูรณาการเข้ากันได้กับภารกิจการเรียนรู้ ไม่ควรเป็นกิจกรรมที่แยกจากภารกิจการเรียนรู้ 7. เน้นการประเมินผลเพื่อปรับปรุง(Formative evaluation) 8. เน้นข้อมูลเชิงอัตนัย(Subjective)


สรุป การจัดการศึกษาในปัจจุบันจึงจำเป็นให้มีการจัดการศึกษาที่เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง การออกแบบการสอนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้บรรลุถึงผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการ ซึ่งการออกแบบระบบการสอน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนการสร้างและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนต่างๆ กระบวนการในการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะ การออกแบบระบบการสอนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการจัดการศึกษา การออกแบบระบบการสอนต้องใช้ทฤษฎีทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องเป็นฐานความคิด ในการออกแบบระบบการสอน ทฤษฎีการศึกษาเป็นข้อความที่อธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ซึ่ง บทบาทของทฤษฎีการศึกษาที่มีต่อการออกแบบระบบการสอนคือ 1) ใช้เป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบระบบการสอน 2) ช่วยในการจัดเนื้อหา ออกแบบกิจกรรมการสอน ให้ เหมาะกับผู้เรียน 3) ช่วยปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 4) ช่วยในการวางแบบแผนการเรียนรู้ และทบทวน ค้นคว้า ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบตลอดจนสนองความต้องการของสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ได้อย่างสมบูรณ์

--Wichien999 (พูดคุย) 10:18, 12 มีนาคม 2559 (ICT)
  1. p21.org. (2007). FRAMEWORK FOR 21ST CENTURY LEARNING. (Online) เรียกใช้เมื่อ 20 Feb 2016 จาก http://www.p21.org: http://www.p21.org/about-us/our-mission
  2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ ปี 2542. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm
  3. กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
  4. กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ ปี 2542. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm
  5. สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. เมืองขอนแก่น: แอนนาออฟเชต.
  6. http://www.novabizz.com. (2015). ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม. (Online) เรียกใช้เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm
  7. Fisik san Boakanok. (มมป.). เอกสารประกอบวิชา Education Thechnology and communication. (Online) เรียกใช้เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.aowwa.com/innovation/lesson5.pdf
  8. กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
  9. กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
  10. ฉลอง ทับศิริ. (มมป.). การออกแบบระบการสอน. เรียกใช้เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2559 จาก home.dsd.go.th/techno/trainingsystem/.../instructional_design.doc
  11. MSU Knowlage Managment. (2554). MSU Knowlage Managment. (Online) เรียกใช้เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://blog.msu.ac.th: http://blog.msu.ac.th/?p=4833
  12. สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. เมืองขอนแก่น: แอนนาออฟเชต.