คุยกับผู้ใช้:Rattiyanoii

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Rattiyanoii สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Rattiyanoii! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 15:46, 4 กันยายน 2555 (ICT)

พรบ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์[แก้]

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2537 "กองทุนส่งเสริมการผลิตสื่อสำหรับเด็ก" ได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนให้ทั้งภาครัฐและเอกชนผลิตสื่อสำหรับเด็ก โดยกองทุนนี้อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) ในระหว่างปีพศ. 2539 - ปีพศ. 2545 กองทุนสื่อฯ ได้ให้การสนับสนุนแก่ผู้ขอรับทุนจำนวน 54 ราย เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 51,020,400 บาท และเมื่อปีพศ. 2545 มีการปฏิรูประบบราชการ ทำให้กองทุนสื่อฯ ถูกโอนย้ายไปอยู่ภายใต้กองส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปัญหาของ "กองทุนส่งเสริมการผลิตสื่อสำหรับเด็ก" 1. การบริหารจัดการ ติดขัดเรื่องระเบียบของทางราชการ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการให้ทุนแบบให้เปล่า 2. ไม่ได้รับเงินคืนจากผู้รับการสนับสนุน เนื่องจากเป็นการให้กู้ เมื่อผู้รับการสนับสนุนไม่อาจหาเงินมาคืนได้ ต้องเสียเวลาและบุคลากรในการติดตามทวงหนี้ 3. การให้การสนับสนุนแบบไม่ครบวงจร เนื่องจากเป็นการให้เงินอย่างเดียว แต่ไม่มีการช่วยเหลือในด้านช่องทางออกอากาศหรือเผยแพร่ ไม่มีการช่วยเหลือทางด้านการตลาด เพราะผู้รับทุนส่วนใหญ่มีความคิดสร้างสรรค์และการผลิตรายการ แต่ขาดความรู้ด้านการตลาด 4. ขั้นตอนในการขอรับการสนับสนุนใช้เวลานาน การพิจารณาของคณะกรรมการใช้เวลาเกือบ 1 ปี ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของผู้ขอรับทุน อาจมีผู้ลอกเลียนแบบหรือดัดแปลงและนำไปผลิตตัดหน้าได้

การผลักดันกองทุนสื่อสร้างสรรค์เริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรม เริ่มต้นปี พศ. 2546 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องการกำหนดแนวทางการใช้สื่อของรัฐเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว พศ. 2547 การศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ภาระหน้าที่และรูปแบบของกองทุนสื่อสร้างสรรค์ โดยโครงการวิจัยและพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว (TV4Kids) พศ. 2548 จุดประกาย "กองทุนเพื่อผลิตและสร้างสรรค์สื่อสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว" รศ.ดร. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ได้สรุปผลการศึกษาเรื่องยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสื่อของรัฐเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ 11 ข้อ และหนึ่งในนั้นคือ การให้จัดตั้งกองทุนเพื่อผลิตและสร้างสรรค์สื่อสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยขอจัดสรรมาจากกองทุนพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ (มาตรา 31 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พศ. 2543) และสร้างกลไกการบริหารกองทุนให้คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจัดให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อระดมทรัพยากรจากสาธารณะมาสมทบ พศ. 2549 • จัดประชาพิจารณ์รับฟังเครือข่ายเด็กทั่วประเทศ จากเครือข่ายสภาเด็กและเยาวชน • จัดทำเวทีเครือข่ายเพื่อรับฟังความคิดเห็นแนวทางการจัดตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์ พศ. 2550 • มีการประชุมร่วมกับรัฐวิสาหกิจในการสร้างความเป็นไปได้ ในการสนับสนุนรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก และเยาวชน โดยมีคุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานการประชุม • เสวนาเครือข่ายเพื่อรับฟังแนวคิดเกี่ยวกับกองทุนสื่อสร้างสรรค์ ครั้งที่ 2 ในงานขับเคลื่อนวาระเด็ก • ฯพณฯ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (อดีตรองนายกฯ) รับข้อเสนอในการจัดตั้งกองทุนฯ โดยมีเด็กๆ ร่วมระดมทุนประเดิม พศ. 2550 - พศ. 2551 รัฐบาลจัดทำวาระเด็ก ในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ โดยมีประเด็นเรื่องกองทุนสื่อสร้างสรรค์ พศ. 2552 สสส. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลักดันจนสามารถจัดตั้งสถานีวิทยุเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว FM105 เป็นสถานีแห่งแรกที่ไม่มีโฆษณา จัดโดยเครือข่ายวิทยุเด็กและเยาวชน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ร่างพระราชบัญญัติ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พศ.... ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี รัฐบาลสมัยนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และผ่านการพิจารณาของกฤษฎีกาแล้ว แต่มีการยุบสภาก่อน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 งานเสวนา "จับตากองทุนสื่อ เครื่องมือหนุนอนาคตชาติ"

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2555 ภายใต้การนำของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้นำร่างกลับมาผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และนำเข้าสู่สภา แต่ร่างพรบ.กองทุนสื่อฯ นี้เป็นฉบับกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งมีเนื้อหาที่แตกต่างจากร่างพรบ.ฉบับเดิมที่เสนอโดยภาคประชาชนในปี 2553 เมษายน – สิงหาคม 2555 เครือข่ายสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนรวบรวมรายชื่อประชาชน 12,500 รายชื่อ เพื่อเสนอร่างพรบ.กองทุนสื่อฯ ฉบับประชาชน ไปประกอบด้วย เพื่อให้กฏหมายออกมามีความสมบูรณ์ และเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2555 ตัวแทนเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน ยื่นร่างพรบ.กองทุนสื่อสร้างสรรค์ฉบับประชาชนที่รัฐสภา หลังจากนั้นมีข่าวว่ามีความพยายามจะเร่งรัดร่างพรบ.กองทุนสื่อฯ ฉบับกระทรวงวัฒนธรรม ให้เข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาฯ เครือข่ายสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน จึงเรียกร้องให้รัฐบาลและสภาฯ รอร่างฉบับประชาชน (ซึ่งอยู่ในระหว่างตรวจสอบหลักฐานความถูกต้องของรายชื่อ) เข้าพิจารณาพร้อมกัน โดยยื่นจดหมายต่อประธานวิปฝ่ายค้าน และ คณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 และยื่นกับประธานวิปฝ่ายรัฐบาลที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2555 พร้อมข้อเรียกร้องสั้นๆ แทนเสียงจากเด็กๆและเยาวชน "รอหนู (ร่างฉบับประชาชน) ด้วย"

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2555 ตัวแทนเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนเข้าชี้แจงเรื่องร่างพรบ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. ต่อกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง. การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนรัฐสภา

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2555 จดหมายจากคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรรับพิจารณาร่างพรบ.กองทุนสื่อสร้างสรรค์ทั้งร่างของประชาชนและร่างของคณะรัฐมนตรี โดยแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจาณาความแตกต่าง และเสนอให้ตัวแทนจากภาคประชาชนที่เสนอกฎหมายเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของกรรมาธิการทั้งหมด

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555 ตัวแทนเครือข่ายสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนเข้าพบ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองร่าง กฎหมายของวิปรัฐบาล ซึ่งมี พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นประธาน ผลในการประชุม แม้จะมีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและเห็นว่าไม่ควรรอ แต่ที่สุด ประธานฯ มีความเห็นให้รอร่าง ประชาชน ที่อยู่ในกระบวนการตรวจสอบ

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 55 วิทยุจุฬา 7.30 น. สัมภาษณ์คุณอุดมเดช รัตนเสภียร,ประธานวิปรัฐบาล สส พรรคเพื่อไทย จังหวัดนนทบุรี

“ร่างพรบ.กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้เข้ามาสู่ระเบียบวาระและพร้อมที่จะพิจารณาแล้ว แต่เมื่อวันพุธที่ 22 สิงหาคม ที่ผ่านมา มีตัวแทนภาคประชาชนมายื่นหนังสือและนำเด็กๆ มาเล่นละครบอกว่า ..รอหนูด้วย..รอร่างพรบ.ภาคประชาชนด้วย ซึ่งร่างของภาคประชาชนอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อว่าถูกต้องไม๊ นับตั้งแต่ 22 สิงหาคม ก็เป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนแล้ว ผมย้อนถามทางสภาไปว่ากระบวนการตรวจสอบรายชื่อใช้เวลาเท่าไหร่ เค้าบอกว่าต้องใช้เวลาเดือนครึ่งถึงสองเดือนเพราะต้องส่งกลับไปที่ภูมิลำเนาของผู้ที่ส่งชื่อมา ให้ยืนยันว่าเป็นชื่อที่เซ็นมาจริงและต้องตรวจสอบด้วยว่าเป็นผู้ที่มีสิทธิหรือไม่ คือผู้ที่จะเซ็นชื่อได้ต้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งและไปใช้สิทธิเลือกตั้งด้วย ถึงจะมีสิทธิเสนอกฎหมาย และผมได้มอบหมายให้คณะกรรมการกลั่นกรองกฎหมายของวิปรัฐบาล โดยพันตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ ให้ไปดูความแตกต่างของร่างฯ ทั้งสองฉบับ ว่าถ้าเหมือนกันเราเอาเข้าไปได้เลยและแบ่งโควตาในส่วนของกรรมาธิการให้ตัวแทนภาคประชาชนเข้ามา แต่ถ้ามีความแตกต่างกัน ความเห็นนของผมก็ว่าควรจะรอ ถ้ารอได้ อย่างน้อยให้ภาคประชาชนได้มีตัวแทนเข้าเป็นกรรมาธิการอย่างน้อยหนึ่งในสาม โอกาสที่จะเป็นไปตามร่างประชาชนมีสูงมาก ขณะนี้ก็รอร่างประชาชนอยู่เพราะมีความแตกต่างกันบ้างในเรื่องสัดส่วนของตัวกรรมการ...ถ้าวันนั้นภาคประชาชนไม่ยื่นมาก็คงพิจารณาเสร็จไปแล้วแหละ”