คุยกับผู้ใช้:Prommasit

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Prommasit สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Prommasit! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 19:24, 13 ตุลาคม 2560 (ICT)

พิจารณากรรม 5[แก้]

การพิจารณากรรม ๕ คือ การพิจารณาสิ่งที่เรา ๑) กำลังจะกระทำ ๒) กำลังทำ ๓) ทำแล้ว อย่างครบวงจร มี ๕ ประการ ได้แก่

๑. ทำ ทำไม คือ ต้องถามตัวเองว่าทำทำไม มีเจตนาอะไรทำเช่นนั้น มีเจตนาอะไรที่จะทำ ๒. ทำไมถึงทำ คือ เราทำเพื่อจะตอบสนองสิ่งใด อารมณ์ใดจึงต้องทำสิ่งนั้น ต้องการได้อะไร ๓. ผลขณะกระทำ คือ ปัจจุบันที่กำลังกระทำอยู่ ณ ปัจจุบัน ได้รับผลอะไร เช่น เรากินน้ำ ขณะที่เรากระทำแก้กระหายน้ำ ๔. ผลที่ตามมา คือ พิจารณาสิ่งที่เรากระทำแล้ว ผลลัพธ์ที่จะตามมา วิบากที่จะตามมา ผลลัพธ์ที่ได้จากการกระทำ ซึ่งอาจจะดี แย่ พอใจ หรือไม่พอใจ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราได้กระทำนั้นแล้ว ซึ่งบางครั้งเราทำความชั่วแต่ผลอาจออกมาดีตามใจเราปรารถนา เนื่องด้วยเป็นการกระทำที่แยบยล คนทั่วไปคิดตามไม่ทัน ๕. ผลที่แท้จริง คือ ผลที่ได้รับอย่างแท้จริง ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาในการให้ผลเป็นไปตามเหตุของธรรม เป็นผลเหตุในธรรม

ตัวอย่างเช่น หิวข้าวแต่ไปขโมยอาหารของเขากิน ๑. ทำ ทำไม เช่น หิวข้าว ๒. ทำไมถึงทำ เช่น เพราะหิว ๓. ผลขณะกระทำ เช่น กินอิ่ม ๔. ผลที่ตามมา เช่น ถูกจับ ๕. ผลที่แท้จริง เช่น โดนลงโทษเพราะไปขโมยมา

การกระทำสิ่งใดต้องคำนึงถึงผลที่ตามมา บางครั้งเรารู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นมันไม่ดี แต่ก็ยังฝืนที่จะทำสิ่งนั้น เพราะจิตคิดว่าเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อเราได้น้อมนำหลักธรรมพิจารณากรรม ๕ มาพิจารณาแล้ว จะทราบถึงผลเลยว่าให้โทษมากกว่าที่เราคิด เพราะว่าผลที่ได้รับขณะปัจจุบัน แต่ยังมีผลที่ได้รับในอนาคตอีกซึ่งเป็นผลที่ต่อเนื่องและเชื่อมโยง

บางครั้งเราทำบางสิ่งบางอย่างลงไปเพราะคิดว่ามันมีความสุข มีความสนุกสนานร่าเริง จริงอยู่ว่า ขณะที่เรากระทำนั้นมันมีความสุข แต่เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป ผลที่แท้จริงเริ่มปรากฏเรายิ่งทุกข์หนัก

เหตุการณ์ตัวอย่าง มีชายวัยกลางคนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นหัวหน้างาน เขาได้นำมีดที่สนิมติดหนาแน่นมาลับให้คมและขาวสะอาด ด้วยความดีใจในผลงาน เขาได้นำมีดนั้นไปควงเล่นอย่างกับจอมยุทธ์ ในภาพยนตร์จีนกำลังภายในต่อหน้าหญิงสาว อย่างเมามันและคึกคะนอง ทำให้หญิงสาวไม่พอใจใช้ฝ่ามือตบลงใบหน้าของชายคนนั้น จนชาไปทั่วใบหน้าข้างซ้าย และอึ้ง งงกับการกระทำเหล่านั้น

หากเรานำมาพิจารณากรรม ๕ มีดังนี้ ๑. ทำ ทำไม เช่น ควงมีด ๒. ทำไมถึงทำ เช่น ต้องการเล่นเพื่อความสนุกสนาน ๓. ผลขณะกระทำ เช่น มีความสุข สนุกที่ได้ควงมีดดั่งจอมยุทธ์ ๔. ผลที่ตามมา เช่น โดนตบหน้าอย่างแรง!!! และใบหน้าชา ๕. ผลที่แท้จริง เช่น ชายคนนั้นเป็นหัวหน้าของหญิงสาว ทำให้เขาขาดความเคารพนับถือ ไม่เชื่อฟัง ขาดความศรัทธาต่อหัวหน้างาน

ฉะนั้น ทำสิ่งใดที่มีความสุขแต่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น จงละเว้นสิ่งเหล่านั้นเสีย เพราะผลที่ตามมาได้ไม่คุ้มเสีย

พิจารณาวิบาก 7[แก้]

พิจารณาวิบาก 7

๑. ชอบธรรม คือ การพิจารณาว่าถูกต้องตามครรลองครองธรรมหรือไม่ มีสิทธิหรือไม่ที่จะกระทำต่อบุคคลหรือเหตุการณ์นั้นๆ หรือไม่ คือ จะไม่ยึดว่าถูกต้องตามตนเอง ผู้อื่น หรือใครบุคคลคนหนึ่ง เช่น การขโมย เรามีสิทธิ์จับแต่ไม่มีสิทธิ์ขังเขา เพราะไม่มีความชอบธรรม แม้ตำรวจจับก็ไม่มีสิทธิ์ในการตัดสิน ต้องเป็นศาลมีสิทธิ์ในการตัดสินว่าใครผิดใครถูก

๒. สมควร คือ การพิจารณาว่าสิ่งที่ทำนั้นสมควรทำหรือไม่ และหากสมควรทำเราจะทำอย่างไร สมควรในที่นี้ คือ สมควรแค่ไหน คือเรามีสิทธิแล้ว เช่น จะตีก้นเด็ก จะตีแรงแค่ไหน สมควรจะคาดโทษ ให้มีความพอเหมาะ พอดี

แล้วเรามีสิทธิ์ในการทำเรื่องนั้นมากน้อยเพียงใด และทำได้แค่ไหน หากเราไม่มีคำว่า "สมควร" เราก็จะทำสิ่งเหล่านั้นมากเกินไป หรือน้อยเกินไป ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผล แต่จะกลับกลายสร้างปัญหาตามมา เพราะว่ามันเกิน เราต้องทำให้มัน "พอดี" จึงจะเกิดคำว่า "สมควร"

๓. เหมาะสม คือ เหมาะสมกับภาวะการณ์นั้นๆ เช่น คนนี้เขาทำผิด แต่เขาป่วยก็ไม่เหมาะสมที่จะไปลงโทษเขา และถ้าเขาเป็นโจรแต่ได้รับบาดเจ็บต้องนำส่งโรงพยาบาลรักษาก่อน ก่อนที่จะส่งเข้าคุก

การพิจารณาถึงความเหมาะสมเข้ากับเหตุการณ์นั้นๆ หรือเราทำสิ่งหนึ่งแล้วเรานำสิ่งนั้นมาผสมเข้ากับสิ่งนั้นหรือไม่

๔. บุคคล คือ การพิจารณาถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องในสิ่งที่เรากระทำ นิสัยบุคคล ความสัมพันธ์กับอุปนิสัย จริต และภาวะการณ์ของบุคคลนั้นๆ เช่น คนบ้าเราไม่ควรเอาความกับเขา และอีกกรณีหนึ่ง ถ้าเราเป็นเจ้านายจะด่า ตำหนิติเตียนลูกน้อง ถ้าเขาเป็นคนขี้โมโห ถ้าเราไปด่าเขาแรงๆ เราอาจจะถูกเขาฆ่าตายแน่นอน และอีกกรณีหนึ่ง ถ้าเขาเป็นคนไม่เอาไหนแล้วให้ไปเฝ้าของ เขาก็ไม่เฝ้าของ

๕. สถานที่ คือ การพิจารณาถึงสถานที่ ที่นั้นๆ และสภาพแวดล้อมนั้นๆ เช่น คนคนนี้เขาผิดจริง แต่ว่าอยู่ในงานเลี้ยง เราไม่ควรไปด่าเขา เขาจะได้รับความอับอายอาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่เลย

๖. กาล คือ การพิจารณาความเหมาะสมของเวลา ก่อนทำ ขณะกระทำ หลังการทำ และกาลเวลาที่เลยผ่าน คือ กาลเทศะจะเหมาะสมหรือไม่ เช่น เวลานั้นเขากำลังโมโห หรือเขาเมา เราไปต่อว่าเขา แล้วเราจะเดือดร้อน

๗. การณ์ คือ พิจารณาเรื่องราว ภาวะการณ์นั้นๆ เหตุการณ์ เช่น รถชนกันอยู่ เขาบาดเจ็บ แล้วไปถามเรื่องกุญแจว่าอยู่ตรงไหน ซึ่งไม่ถูกกับเหตุการณ์ และอีกกรณีหนึ่ง ผัวเมียกำลังทะเลาะกัน เราเข้าไปพูดคุยอาจได้รับอันตรายได้

รวมความแล้ว ให้เห็นความสัปปายะว่าจะทำสิ่งนั้นเหมาะไหม มีสัปปายะไหม