คุยกับผู้ใช้:Phiwad

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Phiwad สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Phiwad! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (คุย) 06:55, 25 พฤษภาคม 2563 (+07)[ตอบกลับ]

ประวัติวัดหอกลอง[แก้]

ประวัติวัดหอกลอง บ้านหอกลอง หมู่ ๖ ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก .................................... ที่ตั้งวัด วัดหอกลอง ตั้งอยู่ที่บ้านหอกลอง หมู่ที่ ๖ เลขที่ ๑๙๑ ถนนพิษณุโลก-วัดโบสถ์ ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินเป็นโฉนดที่ดิน เลขที่ ๒๓๗๖๔ เนื้อที่ ๓๒ ไร่ ๗๘ ตารางวา มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับแม้น้ำแควน้อย ทิศใต้ ติดต่อกับทางสาธารณะประโยชน์ ทิศตะวันออก ติดกับแม้น้ำแควน้อย ทิศตะวันตก ติดกับแม้น้ำแควน้อย

ประวัติก่อสร้างวัด ตามหลักฐานเดิม ปรากฏว่า วัดหอกลองตั้งอยู่ตำบลหอกลอง หมู่ที่ ๑ ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยมีหลักฐานในทะเบียนของกรมการศาสนาได้ตั้งวัด เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๑

มีนามเดิมตามชื่อที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘ยางแขวนฆ้อง” ซึ่งแต่เดิมเป็นวัดร้าง มีประชาชนโดยการนำของ นายบุญเกิด  นางนุ่ม  บัวเพ็ง  และนายยาง   นางฝอย  สุขม่วง  เป็นผู้นำชาวบ้านริเริ่มจัดสร้างขึ้นมาใหม่เป็นวัดประจำหมู่บ้าน เพื่อบำเพ็ญกุศลและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (อุโบสถหลังเก่า) เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๕๐๐

ประวัติความเป็นมา วัดหอกลองตั้งอยู่บ้านหอกลอง หมู่ที่ ๑ ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดยมีหลักฐานในทะเบียนของกรมการศาสนาได้ตั้งวัด เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๑ มีนามเดิมตามชื่อที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘วัดยางแขวนฆ้อง” มีเรื่องเล่าสืบต่อๆกันมาว่า สาเหตุที่ได้ชื่อว่าวัด ยางแขวนฆ้อง ก็สืบเนื่องมาจากในสมัยของพระเอกาทศรถ ได้มีการยกทัพมาตรวจตราความปลอดภัยในอาณาเขตของเมืองพิษณุโลกตลอดเวลา อีกทั้งการเดินทางก็ยังไม่สะดวกสบายเหมือนทุกวันนี้ จึงต้องมีการพักกองทัพกันเป็นระยะ และพื้นที่ของวัดยางแขวนฆ้อง ในสมัยนั้นคาดว่าน่าจะเป็นสถานที่พักกองทัพของพระเอกาทศรถด้วย ด้วยสภาพแวดล้อมในสมัยนั้นสถานที่แห่งนี้ยังคงมีป่าไม้สมบูรณ์พร้อมทั้งมีต้นไม้ใหญ่ๆอยู่หลายต้น เมื่อถึงยามเช้าได้เวลาการนำทัพออกเดินทางใหม่ ก่อนอื่นต้องมีการทำสัญญาณให้รู้ถึงสถานการณ์ว่ามีความปลอดภัยจากข้าศึกหรือไม่ อย่างไร ดังนั้นทหารยามจึงได้ปีนขึ้นไปบนต้นยางใหญ่เพื่อตีฆ้องส่งสัญญาณให้ทัพที่เดินทางมาทางด้านหลังให้รู้ว่าตรงนี้ปลอดภัย สามารถยกทัพมาได้ และเพื่อส่งสัญญาณให้ทัพที่อยู่ด้านหน้าให้รู้ว่าทัพจะออกเดินทางแล้ว ทัพที่อยู่ด้านหน้าก็ตีฆ้องรับบ่งบอกถึงสถานการณ์เหมือนกัน เนื่องจากว่าฆ้องมีขนาดใหญ่และหนักมาก จึงจำเป็นจะต้องแขวนฆ้องเอาไว้บนยอดยางเพื่อสะดวกในการใช้งานครั้งต่อไป และเนื่องจากต้นยางมีขนาดใหญ่และสูงมากถึงขนาดเมื่อปีนขึ้นไปบนยอดยางสามารถมองเห็นได้ไกลหลายกิโลเมตรจึงสามารถมองเห็นบนพื้นดินได้เกือบทั้งหมด เมื่อวันเวลาผ่านไปหลายปีหลายสมัย บรรดาชาวบ้านที่อยู่แถวนั้นเห็นว่าเป็นสถานที่เป็นมงคลและเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงได้มีการใช้สถานที่แห่งนี้สร้างวัดขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า วัดยางแขวนฆ้อง และตอนนี้ต้นยางต้นที่มีฆ้องแขวนอยู่ก็ได้ล้มลงไปแล้ว เมื่อเวลาล่วงผ่านไปก็ขาดการดูแลจนเป็นวัดร้าง ต่อมาก็มีประชาชนโดยการนำของ นายบุญเกิด นางนุ่ม บัวเพ็ง และนายยาง นางฝอย สุขม่วง เป็นผู้นำชาวบ้านริเริ่มจัดสร้างขึ้นมาใหม่เป็นวัดประจำหมู่บ้าน โดยมีเนื้อที่ ๓๒ ไร่ ๗๘ ตารางวา มีแม่น้ำแควน้อยล้อมรอบ มีทางเข้าออกเพียงทางเดียวเท่านั้น

การสร้างวัด และชื่อของวัด สำหรับวัดแห่งนี้ในสมัยก่อนจะมีคนรู้จักในนาม วัดยางแขวนฆ้อง เพราะมีต้นยางที่มีฆ้องอยู่บนยอด และต่อมาก็ได้มีการตั้งวัดอย่างถูกต้องเมื่อพ.ศ. ๒๔๗๑ จึงได้ตั้งชื่อวัดตามหมู่บ้านว่า วัดหอกลอง อยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก แต่เนื่องด้วยหมู่บ้านหอกลองหมู่ที่ ๑เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่และมีแม่น้ำแควน้อยขวางกั้น ทางบ้านเมืองจึงขอทำเรื่องแยกหมู่บ้านให้เป็น หมู่ที่ ๖ บ้านหอกลองใหม่ เพื่อสะดวกในการบริงานโดยใช้แม่น้ำแควน้อยเป็นเขตแดนระหว่างหมู่บ้าน วัดหอกลองจึงได้ถูกย้ายจากหมู่ที่ ๑ บ้านหอกลอง มาเป็นหมู่ที่ ๖ บ้านหอกลองใหม่ ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก จากสภาพวัดในปัจจุบันนี้ ก็ได้รับการปรับปรุงบูรณะ สร้างขึ้นมาใหม่โดยตลอด โดยได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูลจากญาติโยมชาวบ้านทั้ง ๒ หมู่ และญาติโยมที่อยู่แถวตลาดแควน้อย, หมู่บ้านกระบัง, ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้เคียงกัน

รายนามเจ้าอาอาวาส วัดหอกลอง มีเจ้าอาวาส จำนวน ๗ รูป คือ ๑) พระอาจารย์วรณ์ พ.ศ.๒๔๗๑ – ๒๔๗๙ ๒) พระอาจารย์ฟ้อน พ.ศ.๒๔๗๙ – ๒๔๘๒ ๓) พระอาจารย์ทุย พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๔๙๑ ๔) หลวงพ่อสาหร่าย พ.ศ. ๒๔๙๑ – ๒๕๑๗ ๕) พระทองชุบ สุภทฺโท พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๓๓ ๖) พระครูสิริวัฒนานุยุต (ประดับ ฐานุตฺตโร) พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๖๐ ๗) พระครูวินัยธรอภิวัฒน์ อคฺคธมฺโม (รก.) พ.ศ. ๒๕๖๐ – ปัจจุบัน

เสนาสนะถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัด ดังนี้ ๑) อุโบสถ (อยู่ระหว่างขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา) กว้าง ๘.๓๐ เมตร ยาว ๒๒.๕๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตยกพื้นสูง ๒.๑๐ เมตร ทรงไทย ติดกนกลวดลายไทย ๒) อุโบสถ (หลังเก่า)

                      กว้าง ๗ เมตร	ยาว ๒๐ เมตร

สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเหล็กมุงกระเบื้อง ๓) กุฏิสงฆ์ ๑๕ หลัง - กุฏิเจ้าอาวาสและห้องรับรองพระเถระ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๘.๕๐ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเหล็กมุงกระเบื้อง - กุฏิสงฆ์ กว้าง ๓ เมตร ยาว ๔ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเหล็กมุงกระเบื้อง ๔) ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง กว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๓๘ เมตร เป็นอาคารไม้ทั้งหลังยกสูงจากพื้น ๒ เมตร โครงหลังคาไม้มุงกระเบื้อง ๕) วิหารพระนเรศวร ๑ หลัง กว้าง ๖ เมตร ยาว ๘ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเหล็กมุงกระเบื้อง ๖) ห้องน้ำ-ห้องสุขา ๑ หลัง (๑๕ ห้อง) กว้าง ๓ เมตร ยาว ๓.๕ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเหล็กมุงกระเบื้อง ๗) หอระฆัง ๑ หลัง กว้าง ๒.๕ เมตร ยาว ๔ เมตร สร้างด้วยคอนกรีต สูง ๕ เมตร โครงหลังคาเป็นคอนกรีตมีลายกนก ๘) เมรุ ๑ หลัง กว้าง ๒ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเหล็ก มุงด้วยกระเบื้อง

เสนาสนะและถาวรวัตถุเป็นหลักฐานแล้ว คือ (๑) กุฏิ กว้าง ๓ เมตร ยาว ๔ เมตร จำนวน ๑๕ หลัง (๒) กุฏิรับรอง กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๘.๕๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง (๓) อุโบสถ กว้าง ๘.๓๐ เมตร ยาว ๒๒.๕๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง (๔) อุโบสถ (หลังเก่า) กว้าง ๗ เมตร ยาว ๒๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง (๕) ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๓๘ เมตร (๖) ห้องน้ำ-สุขา กว้าง ๓ เมตร ยาว ๓.๕ เมตร (๑๕ ห้อง) (๗) หอระฆัง กว้าง ๒.๕ เมตร ยาว ๔ เมตร (๘) วิหาร (พระนเรศวร) กว้าง ๖ เมตร ยาว ๘ เมตร (๙) เมรุ กว้าง ๒ เมตร ยาว ๙ เมตร --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Phiwad (พูดคุยหน้าที่เขียน) 09:53, 25 พฤษภาคม 2563 (ICT)