คุยกับผู้ใช้:Dennapa99

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความคิดเห็นล่าสุดเมื่อ: 1 ปีที่แล้ว โดย New user message ในหัวข้อ ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Dennapa99 สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Dennapa99! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (คุย) 11:12, 16 มกราคม 2566 (+07) 'ชุมชนวัดหัวฝาย'ตอบกลับ

ประวัติชุมชนหัวฝาย แขวงเม็งราย ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่[แก้]

ประวัติศาสตร์ชุมชนหัวฝ่าย – ไทม์ไลน์การแพร่ระบาดโควิด 19 ช่วงเวลา เหตุการณ์สำคัญ 2500 เริ่มก่อตั้งชุมชนหัวฝาย ก่อตั้งกลุ่มหนุ่มสาว ศรัทธาวัดหัวฝาย

    1. เดิมวัดหัวฝาย มีชื่อว่าวัดน้ำปู๋ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดหัวฝายตามชื่อฝายกดน้ำที่เคยมีอยู่หน้าวัด

2510 ตั้งชื่อชุมชนหัวฝายอย่างเป็นทางการ มีการรื้อและปรับปรุงวัดหัวฝาย ก่อตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย บนพื้นที่ 15 ไร่ (ช้างคลาน) 2525 ไฟไหม้หน้าสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทำให้เจ้าของที่ดินล้อมรั้วที่ดินชุมชนที่เคยทำกิจกรรม คนในชุมชนจึงหันมาทำกิจกรมในวัดหัวฝาย 2527 เทศบาลรับรองชุมชนหัวฝาย เลือกตั้งประธานชุมชน 2545 – 2555 คุณประทีป คงมั่น ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานชุมชน วาระสี่ปี จำนวน 2 สมัย (เสียชีวิตระหว่างการดำรงตำแหน่งปี 2555) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ การแก้ไขปัญหาในชุมชน/สิ่งแวดล้อม /การดูแลคนที่อยู่ริมคลองแม่ข่า/การพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน , พอช… , เชียงใหม่เอี่ยม ฯลฯ ผลงานที่สำคัญ 1.การพัฒนากองทุนสวัสดิการวันละบาท หลังจากคุณประทีป เสียชีวิต เงินถูกยืมไปทำที่ทำการชุมชน และทำให้กองทุนยุติไป(ล่ม) 2.สหกรณ์ร้านค้าในชุมชน 3.สร้างที่ทำการชุมชน 4,การรวมกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนในการทำงานร่วมกัน เช่น ก่อตั้งกลุ่มสตรี , กลุ่มหนุ่มสาว 5.ตั้งโรงงานผลิตน้ำดื่ม (ปิดตัวในปี 2555) ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ประชุมของชุมชน (เป็นของสภาองค์กรชุมชน) 2556 - ปัจจุบัน คุณปรีชา เป็นประธานชุมชน 1.2556 เริ่มต้นฟื้นฟูกองทุนสวัสดิการวันละบาทใหม่ เป็นสมาชิกร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ (กองทุนสวัสดิการวันละบาท) โดยมีคุณสมควร ประธานชุมชนป่าพร้าวนอก เป็นประธานกองทุนสวัสดิการวันบาทของเทศบาล มีคุณปรีชา เป็นประธานกองทุน คุณลำดวน เป็นเลขากองทุน ได้เงินเข้ากองทุน 5000 – 6000 บาท/เดือน ในช่วงโควิดระบาดทำให้สมาชิกเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และมีสมาชิกลาออก ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 150 คน จ่ายเงินสมทบเป็นรายเดือน โดยมีเงื่อนไขในการจ่ายเงินสวัสดิการให้กับสมาชิกในกรณี ป่วย/นอนโรงพยาบาล , ตาย 2.เริ่มเป็นประธานชุมชนตั้งแต่สมัยนายกบุญเลิศ เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ – ปกรณ์ จนถึงนายกคนปัจจุบัน 2547 – ปัจจุบัน 1.ก่อตั้งบ้านมั่นคง เริ่มจากการออมทรัพย์เก็บเงิน 39 ครัวเรือน โดยลุงประทีป ประสานงานกับพอช.ในเรื่องการก่อสร้างบ้าน แล้วคุยกับชาวบ้านในเรื่องการทำที่อยู่อาศัย โดยให้เงินออม 30,000 บาท///คน นำเงินไปฝากธนาคาร โดยพอช.สนับสนุนงบสำหรับสร้างบ้าน 150,000/ครัวเรือน 2ใต่อมามีการทำการสำรวจที่ดิน และซื้อที่ดินหกล้านบาท นำมาซื้อที่ดินร่วมกัน ในราคาหกล้านยาทก่อสร้างของใครของมัน และมีการส่งผ่อนที่ดินล็อคละ 1200 บาทและผ่อนค่าทำบ้าน ล็อคละ 2000 บาท ปัจจุบัน มีการขายสิทธิให้กับกลุ่มชาติพันธ์สองในสามของจำนวนบ้านทั้งหมด) 2548 น้ำท่วมชุมชนหัวฝาย 2552 เริ่มมีการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ 500 บาท , อสม. 600 บาท , คนพิการ 600 บาท 2554 น้ำท่วมใหญ่เมืองเชียงใหม่ 2557 ตั้งตลาดต้นพะยอม 2 ส่งผลกระทบเรื่องการจัดการน้ำเสีย จนถึงปัจจุบัน 2558 ไฟไหม้สุสานช้างคลาน ทำให้เทศบาลขอให้ชุมชนออกนอกพื้นที่สุสาน ก่อตั้งเครือข่ายคนแปงเมือง 2560 การปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ริมคลองแม่ข่า 2563 1.เทศบาลนครเชียงใหม่ นายกอัศนี บูรณุปกรณ์ เริ่มมีการเข้ามาพัฒนาพื้นที่คลองแม่ข่า โดยในปี 2565 มีการพัฒนาปรับปรุง ภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่เศรษฐกิจแห่งใหม่ 2,พัฒนาบริเวณสุสานช้างคลานเป็นสวนผักคนเมืองเชียงใหม่ โดยชุมชนเป็นส่วนหนึ่งร่วมเข้ามาก่อตั้งและดูแลสวนผักคนเมือง 3.โควิดเริ่มมีการระบาด 2565 การพัฒนาคลองแม่ข่าเป็นแหล่งท่องเที่ยว ปรับปรุงภูมิทัศน์สองฝั่งคลอง

  	เหตุการณ์สำคัญ 
	การก่อตั้งบ้านมั่นคง 
	ก่อตั้งบ้านมั่นคง เริ่มจากการออมทรัพย์เก็บเงิน 39 ครัวเรือน โดยลุงประทีป ประสานงานกับพอช.ในเรื่องการก่อสร้างบ้าน แล้วคุยกับชาวบ้านในเรื่องการทำที่อยู่อาศัย  โดยให้เงินออม 30,000 บาท///คน นำเงินไปฝากธนาคาร โดยพอช.สนับสนุนงบสำหรับสร้างบ้าน 150,000/ครัวเรือน  ต่อมามีการทำการสำรวจที่ดิน และซื้อที่ดินหกล้านบาท นำมาซื้อที่ดินร่วมกัน  ในราคาหกล้านยาทก่อสร้างของใครของมันและมีการส่งผ่อนที่ดินล็อคละ 1200 บาทและผ่อนค่าทำบ้าน ล็อคละ 2000 บาท  ปัจจุบัน มีการขายสิทธิให้กับกลุ่มชาติพันธ์สองในสามของจำนวนบ้านทั้งหมด)
	การพัฒนาคลองแม่ข่า  
 	2558 - ปัจจุบัน  การทำกระบวนการประชาชนริมคลองแม่ข่า ผ่านความร่วมมือระหว่างคนในชุมชน พอช. พม. ภาควิชาการ กลุ่มคนใจบ้าน เขียวสวยหอม พื้นถิ่น ฟื้นบ้านย่านเวียง ชุมชนรักเมืองเชียงใหม่ และเทศบาลนครเชียงใหม่ รวมถึงมทบ.33  พูดคุยและหาทิศทางในการพัฒนาคลองแม่ข่า ซึ่งเห็นรูปธรรมที่ชัดเจนในการขุดลอกคลอก การจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย การทำท่อระบาย การจัดการผนังสองฝังคลอง รวมถึงพัฒนาให้เป็นพื้นที่สองฝั่งคลองส่วนหนึ่งเป็นที่ท่องเที่ยวของชุมชนแห่งใหม่ของจังหวัดเชียง ในปี 2565  

     ข้อมูลประชากรชุมชนวัดหัวฝาย *ณ.เดือนมกราคม2566

1. สมาชิกในชุมชนมีกี่คน 1,678 คน 2. มีสมาชิกกี่ครัวเรือน 709 ครัวเรือน 3. จำนวนสมาชิกชาย 796 คน 4. จำนวนสมาชิกหญิง 882 คน 5. ผู้ป่วยติดเตียงกี่ราย 6 ราย 6. กลุ่มผู้ป่วย608 122 คน 7. ผู้พิการ 15 ราย 8. ผู้สูงอายุ 164 คน 9. ชาติพันธ์กี่ครัวเรือน - 10. ชาติพันธ์ุกี่คน - 11. กลุ่มเปราะบาง - 12. ผู้ยากไร้ - หมายเหตุ ที่ยังไม่มีตัวเลข กำลังรอข้อมูลที่ชัดเจนค่ะ

        • ข้อมูลเพิ่มเติม

หมู่บ้นเวียงทอง1 เข้าร่วมกับชุมชนหัวฝายเนื่องจาก แรกเริ่มมีชาวบ้าน เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนหัวฝาย มีการชักชวนชาวบ้านในหมู่บ้านเวียงทอง1 ไปร่วมกิจกรรมในวัดหัวฝาย ในชุชม คลองแม่ข่า และกิจกรรมธรรมะสัญจร จึงเกิดความสัมพันธ์ที่ดี ทำให้มีกิจกรรมร่วมกันกับชุมชนมากขึ้น ในปีพศ.2551 ผู้นำชุมชนมีการไปแจ้งแขวงเม็งราย ให้นำเอาหมู่บ้านเวียงทอง1 เป็นชุมชนหัวฝาย ด้วยความที่ทุกครั้งที่ทำกิจกรรมต่างๆ เลยทำให้หมู่บ้านเวียงทอง1 แจ้งเป็นสมาชิกของชุมชนหัวฝาย มาจนถึงปัจจุบัน --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Dennapa99 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 15:46, 31 มกราคม 2566 (ICT)


ประวัติการแพร่ระบาด(โควิด) ในชุมชนหัวฝาย 2562 - 2565 ช่วงเวลา เหตุการณ์สำคัญและผลกระทบ 2562 ปลายปี 62 เริ่มมีข่าวโควิดระบาด 2563 มีนาคม เริ่มเกิดการระบาดโควิดในประเทศไทย - รัฐบาลประกาศมาตรการล็อคดาว์น - มีมาตรการในการตรวจสอบการเข้าเมือง - ในชุมชนมีการสำรวจคนในและนอกชุมชนที่เข้าออกพื้นที่ - การแจ้งข่าวสารการติดโควิด - เทศบาลมีการตั้งจุดตรวจคัดกรองโรคในวัดหัวฝาย + รถพระราชทานเคลื่อนที่ - พบผู้ติดเชื้อในระยะแรก 2 คน (โดยเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน) และนำส่งโรงพยาบาลพิงค์ ธันวาคม ครัสเตอร์สถานบันเทิง เกิดการระบาดของโควิดในเชียงใหม่ช่วงเคาท์ดาวน์ มีผู้ติดโควิดจากสถานบันเทิง วอมอัพ และผับอีกสี่แห่ง ชุมชนหัวฝายซอย 3 เริ่มติดโควิด จำนวน 17 คน ในหมู่บ้านเวียงทอง ทำให้ผู้คนมีความหวาดกลัว เริ่มมีการเขียนป้ายติดหน้าซอย “ซอยนี้ติดโควิด” และเริ่มมีการแพร่กระจายเพิ่มมากขึ้น มาตรการในการจัดการ 1 ผู้ติดเชื้อรักษาตัว/กักตัวที่โรงพยาบาลสนาม 2,ผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวที่ไม่ติด ให้สังเกตตัวเองและกักตัวอยู่ที่บ้าน 14 วัน 3.มีการแยกพื้นที่ชัดเจน มีทีมเวรยามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง คนในชุมชนคอยดูบ้านที่กักตัวหากมีใครออกจากบ้านในระยะกักตัว จะแจ้งให้แกนนำหรืออสม.ทราบทันที 2564 เมษายน การระบาดของโควิดครั้งใหญ่ทั่วประเทศ เกิดครัสเตอร์ในจังหวัดเชียงใหม่ บ้านเตื่อมฝัน ทำโครงการปันอิ่ม เปิดพื้นที่เป็นศูนย์กระจายอาหาร/วัตถุดิบ และความช่วยเหลือ มีการแจกถุงยังชีพ เจลแอลกอฮอล หน้ากาก กันยายน 64 มีการแพร่ระบาดของโควิดในชุมชนเป็นจำนวนมาก 17 คน เริ่มมีการกระจายผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล(สวนดอก/นครพิงค์) – โรงพยาบาลสนาม – เปิดโฮสพิเทล คนที่ไม่ป่วยมีการกักตัวที่บ้าน 14 วัน คนที่ป่วยรักษาตัว 14 วัน และกลับมากักตัวที่บ้านต่อ 5 – 7 วัน ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันโควิดจากทีมอาจารย์เดช (ผ้าแมส เจล ชุดATK) โดยได้รับต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ตุลาคม -พฤศจิกายน ตุลาคม เกิดการระบาด มีผู้ติดเชื้อ 17 คน มีการปิดซอยในหมู่บ้านเวียงทอง พฤศจิกายน 1.จุดตรวจที่วัดพบผู้ติดเชื้อ 14 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็ก และเพิ่มจำนวนมากขึ้นวันละ 2 – 5 คน 2.เทศบาลเข้ามาพ่นยาในชุมชน เน้นบ้านที่ติดโควิด และเข้ามาฉีดพ่นยาต่อเนื่องจนถึงช่วงปลายปี เริ่มเปลี่ยนมาให้เช็คแอลกอฮอลแทน เนื่องจากพบว่าการพ่นยาฆ่าเชื้อทำให้เกิดการกระจายของละอองเชื้อโรคในอากาศเพิ่มมากขึ้นและเป็นส่วนหนี่งของการแพร่ระบาด 3.แกนนำและอสม.เข้าร่วมอบรมโควิด ซึ่งจัดโดย บ้านเตื่อมฝัน สสส.และ CTN (เน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจ) ธันวาคม 1.จำนวนผู้ติดโควิดในหมู่บ้านเวียงทองเริ่มลดลง แต่เริ่มมีการระบาดเข้าในชุมชน 2.ทีมโควิด ทีมอาจารย์เดชเข้าไปอบรมให้ความรู้พื้นฐาน โควิดกับแกนนำในชุมชน 4 ชุมชน (หัวฝาย นันทราม วัดเกต) 2565 มกราคม - เมษายน พบผู้ติดเชื้อในชุมชนจำนวนมากถึง 80 คน 1.โควิดเริ่มแพร่ระบาดเข้าในชุมชนมากขึ้น มีคนติดเชื้อประมาณ 80 คน 2.ทีมโควิด อบรมแกนนำเตรียมดูแลผู้ติดเชื้อในชุมชน ที่บ้านเตื่อมฝัน 3,ทีมอสม. ทีมเยี่ยมบ้าน ออกตรวจสุขภาพให้คนในชุมชน กุมภาพันธ 1.ตั้ง HI ในชุมชนหัวฝายในการรองรับผู้ป่วยโควิด การเปิดจุด Home Isolation ในชุมชน สำหรับรองรับผู้ติดเชื้อที่มีอาการไม่รุนแรงมีปัญหาไม่สามารถกักตัวที่บ้านของตนเองได้ให้เข้ามากักตัวที่ HI ของชุมชน ### ช่วงกลางปี 65 สถานการณ์โควิดในประเทศเริ่มคลี่คลาย จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มลดลง รัฐบาลค่อย ๆ ปรับลดมาตรการในการควบคุม เฝ้าระวังและปลดล็อคพรบ.ฉุกเฉิน ปัจจุบัน (พ.ย.) เริ่มมีสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิดในชุมชนเข้ามาใหม่ มีแนวโน้มว่าจะเกิดการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น

	จุดเริ่มต้นระบาดในสถานบันเทิง  วอร์อัพ  นิมมาน  เริ่มมีการระบาดช่วงปลายปี 63 ในช่วงเคาท์ดาวน์ และเริ่มมีการระบาดมากขึ้น  บริเวณชุมชนหัวฝายซอย 3 เริ่มติดโควิด จำนวน 17 คน ในหมู่บ้านเวียงทอง ทำให้ผู้คนมีความหวาดกลัว เริ่มมีการเขียนป้ายติดหน้าซอย “ซอยนี้ติดโควิด” และเริ่มมีการแพร่กระจายเพิ่มมากขึ้น 
	ในช่วงของการระบาดแรก ๆ ผู้ป่วยโควิดต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพิงค์และโรงพยาบาลสนามอย่างเดียว โดยยังไม่มีมาตรการกักตัวอยู่ที่บ้าน ต้องเข้ารับการรักษา 14 วัน และกลับมากักตัวอยู่ที่บ้านอีก 5 - 7 วัน ในส่วนของคนใกล้ชิด/กลุ่มเสี่ยง ให้ทำการกักตัวที่บ้านและตรวจโควิดทุก 3 วัน  
  	ในช่วงที่เริ่มมีการแพร่ระบาดมากขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายน 64 มีการสนับสนุนอุปกรณ์ในการป้องกัน และการตรวจสอบโควิดจากทีมอาจารย์เดช รวมถึงถุงยังชีพ และเทศบาลนครเชียงใหม่มีการให้ถุงยังชีพ สำหรับผู้ติดโควิด (รายครัวเรือน)  (มีปัญหาการกระจายถุงยังชีพในครัวเรือนของเทศบาลโดยไม่ได้ดูจำนวนคนในบ้านเป็นหลัก ดูจากจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่าจำนวนคนในบ้าน)    


	สถานการณ์สำคัญ 
 	ในช่วงแรก ๆ ของการระบาดคนในชุมชนมีความหวาดกลัว วิตกกังวล รังเกียจผู้ติดเชื้อ เกิดการแบ่งแย่ง กีดกัน มีการเฝ้า/จับตามองคนที่ป่วยไม่ให้ออกจากบ้านและมีการแจ้ง/ร้องเรียนประธานชุมชนหากพบว่ามีคนไม่ยอมกักตัว 
 	ในระยะแรก ๆ ปี 63 ทางเทศบาลส่งเจ้าหน้าที่มาพ่นยา ต่อมาชุมชนเริ่มพ่นเอง โดยได้การสนับสนุนเครื่องพ่นจาก สสส. ให้กับชุมชนหัวฝายและกำแพงงาม  ต่อมาพบว่าการพ่นมีผลทำให้แสบจมูกและเสี่ยงต่อการทำให้เชื้อกระจาย ทำให้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นแอลกอฮอลเช็ดแทน ในช่วงปี 65
 	การดูแล/จัดการของชุมชน 
	63 คนที่อยู่บ้านกักตัว อสม.นำข้าวกล่องมาแจก 
 	64 เริ่มมีการทำข้าวกล่องและนำไปแจกให้กับคนในชุมชน เน้นกลุ่มกักตัวอยู่ที่บ้าน 
 	มีการเข้ามาดูแล/ช่วยเหลือสนับสนุนจากภายนอก ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และประชาสังคม โดยเฉพาะการสนับสนุนอุปกรณ์ในการป้องกันตัว ชุดตรวจโควิด อาหาร/อุปกรณ์ยังชีพ การฉีดพ่นยาในชุมชน 
	การอบรมโควิด 19 โดยทีม สสส… ทีมโควิดชุมชน CTN และทีมบ้านเตื่อมฝัน ให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมรับมือ การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องโควิด 19 ให้แกนนำไปเผยแพร่ข้อมูลต่อในชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องโควิด 19 มากขึ้น (ป้องกันตัวได้ ไม่หวาดกลัว ให้ความร่วมมือ เฝ้าระวัง ดูแลกันเอง)
  	นโยบายการตั้ง HI ในชุมชน (กุมภาพันธ์ - ปัจจุบัน) 9 พฤศจิกายน 2565 เปิดให้กักตัวและให้ผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวอยู่ที่บ้านได้ 
 	HI หัวฝาย เริ่มก่อตั้งในช่วงกุมภาพันธ์ 2565  เกิดจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นในชุมชน ประกอบกับโรงพยาบาลและศูนย์ ไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยได้ ทำให้ชุมชนต้องหาทางในการจัดการ จึงมีการพูดคุยกับคนในชุมชนในการตั้ง HI ในชุมชน เป็นรูปแบบกึ่งศูนย์พักคอย เปิดรับผู้ป่วยทั้งกลุ่มคนเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ (กลุ่มที่มีข้อจำกัดไม่สามารถกักตัวที่บ้านของตนเองได้)  โดยช่วงแรก(มกราคม) ของการพูดคุยกับคนในชุมชนยังมีปัญหาความไม่เข้าใจและปฏิเสธที่จะให้จัดตั้งศูนย์ดูแล เพราะกลัวติดโควิด ต่อมาเมื่อโควิดเริ่มส่งผลกระทบในวงกว้างทำให้คนในชุมชนเริ่มให้การยอมรับว่ามีผลกระทบกับตนเองและเปิดใจให้ตั้งศูนย์ในชุมชน  


เครือข่าย องค์กรในชุมชนและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพ (กลุ่มสนับสนุนช่วงโควิด 19) 

องค์กร บทบาทที่เกี่ยวข้อง ชุมชน สุขภาพ กองทุนวันละบาท จัดสวัสดิการให้กับสมาชิกที่มีการออมเงินในกองทุนวันละบาท กรณีการเจ็บป่วย (ช่วยในเรื่องการรักษาและนอนโรงพยาบาล), เสียชีวิต ทีมอสม. เน้นการทำงานร่วมกับโรงพยาบาล-ศูนย์พักคอย ดูแล/ตรวจสอบ /เฝ้าระวัง ให้ความรู้การป้องกันตนเองและอธิบายการใช้ยา ส่งต่อข้อมูลผู้ติดเชื้อให้กับโรงพยาบาล การติดตามคนไข้ระหว่างรอเข้าโรงพยาบาล ติดตามผู้ที่กักตัว และตรวจสอบคนที่เข้ามาในชุมชน ดูแลผู้ติดเชื้อในศูนย์พักคอย เยี่ยมบ้าน ทีมโควิดชุมชน ประสานงานหน่วยงาน/โรงพยาบาล สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ ให้ข้อมูลความรู้ /จัดอบรมให้แกนนำ ร่วมกับบ้านเตื่อมฝัน บ้านเตื่อมฝัน ถุงยังชีพ อุปกรณ์สำหรับผู้กักตัว อาหารกล่อง อบรมผู้นำเรื่องเกี่ยวกับโควิด 19 ให้แมสและความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ทีมเทศบาลเมือง สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันตัว (หน้ากาก/เจลแอลกอฮอล์) การพ่นยาในชุมชน แจกถุงยังชีพ ข้าวกล่องให้กับครัวเรือนบ้านที่มีผู้ติดเชื้อโควิดที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน ตั้งจุดตรวจที่บ้านเด่น ในการตรวจคัดกรอง ปัญหา ระยะแรกเทศบาลดำเนินงานล่าช้าเนื่องจากต้องดูแล ช่วยเหลือชุมชนต่าง ๆ ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมาก การดูแลจึงไม่ทั่วถึง แต่มองว่าการระบาดในครั้งต่อไปน่าจะรับมือได้ดีขึ้น สธ บริการรถส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล แจกแมส และชุดตรวจ ATK สสจ. ให้คำปรึกษาแนะนำ ให้ความรู้เสริมกับแกนนำ/ประธานชุมชน โรงพยาบาล จัดรถส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล รับผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเหลืองและสีแดง อาจารย์เดช จากสสส การทำกิจกรรม/โครงการในชุมชนในประเด็นต่าง ๆ เช่น ผู้สูงอายุ , เงินออม เยาวชน อบรมให้ความรู้แกนนำ ให้ความรู้เรื่องโควิด 19 เรื่องสุขภาพชุมชน การเตรียมความพร้อมชุมชน – การจัดตั้งศูนย์ HI (หัวฝาย - กำแพงงาม) ทำความเข้าใจเรื่อง HI CI แจกเจลล้างมือ แมส ATK อุปกรณ์สำหรับผู้กักตัว มอบถุงยังชีพ หน่วยกู้ภัย บริการตรวจ ATK เมษายน 2565 ผู้แทนนักการเมือง ถุงยังชีพ เจลล้างมือ แมส ชุดตรวจ ATK มูลนิธิ (สมาคมแต้จิ๋ว/เถาโฮงไถ่/ไต๋กงกง) ถุงยังชีพ แมส เจลล้างมือ ภาคเอกชน (พี่น้องชนเผ่าจากเชียงราย หนานหล้า) ผัก ผลไม้ ข้าวดอย รถพระราชทานเคลื่อนที่ตรวจสุขภาพ ตรวจโควิดเชิงรุกในชุมชน บริการตรวจ/วิเคราะห์ผลโควิด 19

ความประทับใจช่วงโควิด 19 ระบาดหนัก 

แกนนำและอสม.รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือคนในชุมชน การให้ความรู้ชุมชนให้ตระหนักถึงโควิด19 ว่าไม่ได้ร้ายแรงน่ากลัว ถ้าเราดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง

	มีความภาคภูมิในที่มีหน่วยงานทุกหน่วยงานร่วมแรงร่วมใจ เข้ามาช่วยเหลือทุกกลุ่ม ทุกวัยและเห็นความสามัคคี ความเข้าใจกันมากขึ้น ทั้งพี่น้องคนเมืองและพี่น้องชาติพันธุ์ ที่มีความรักความสามัคคีกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน 
	การทำศูนย์ CI และ HI ในชุมชน มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย มีการต่อต้านศูนย์ CI และ HI   เพราะยังไม่รู้เหตุการณ์ข้างหน้าว่าจะระบาดมากน้อยแค่ไหน หลังจากโรคระบาดมากขึ้น ทำให้ทุกคนเห็นว่าการตั้งศูนย์ CI และ HI มีประโยชน์ สำหรับคนในชุมชน ความเป็นอยู่ที่บ้านแออัดไม่สามารถกักตัวที่บ้านได้ เลยต้องมาใช้บริการของศูนย์ คนที่มาใช้ศูนย์คนแรกเป็นคนต่อต้านที่ไม่ให้ตั้งศูนย์แห่งนี้ 
	ปัจจุบันศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของคนในชุมชน ทั้งพี่น้องคนเมือง และพี่น้องชาติพันธุ์ เป็นแหล่งรวมใจและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Dennapa99 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 15:15, 31 มกราคม 2566 (ICT)


คลองแม่ข่า (ชุมชนวัดหัวฝาย แขว็งเม็งราย ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่) เริ่มมีการปรับปรุงคลองแม่ข่า ในปี2564-จนถึงปัจจุบัน จากเมื่อก่อน เป็นคลองที่ถือว่ามีความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น ส่งผลกระทบต่อชาาวบ้านในระแวกนั้นเป็นอย่างมาก เทศบาลนครเชียงใหม่ได้เล็งเห็นปัญหาของชาวบ้าน เลยมีการทำความเข้าใจและแก้ปัญหาร่วมกับแกนนำชุมชน และชาวบ้าน ทำให้มีการปรับปรุง โดยนำทฤษฏี การแปลงน้ำ โดยการเอาน้ำดีไล่น้ำเสีย และมีการปรับปรุงทัศนียภาพริมคลองแม่ข่า ปัจจุบันคลองแม่ข่าเลยเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ จากนักท่องเที่ยวจากการค้าขาย ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริม ลดปัญหาการตกงาน ความยากจน และลดปัญหามลภาวะทางด้านสุขภาะของชาวบ้านในชุมชนวัดหัวฝาย ที่อยู่ริมคลองแม่ข่าเป็นอย่างมาก

    • เอกลักษณ์สำคัญของคลองแม่ข่า เป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อน เดินเที่ยวชมสินค้าพื้นบ้าน สินค้าทำมือของชาวบ้านในระแวกนั้น มีอาหาร ของกินเล่นมากมาย และยังมีการแสดงเล็กๆน้อยๆ ที่หมุนเวียนกันไปไม่ซ้ำกัน บริเวณข่วงหน้าสำนักงานชุมชนหัวฝาย หากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆท่านใหนสนใจแวะไปเยี่ยมชม คลองแม่ข่าได้เลยนะคะ รับรอง ท่านจะไม่ผิดหวังอย่างแน่นอนค่ะ