คุยกับผู้ใช้:วัดถ้ำบางน้ำจืด

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟล์:ป้ายวัดถ้ำบางน้ำจืด.jpg

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ วัดถ้ำบางน้ำจืด สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello วัดถ้ำบางน้ำจืด! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


สังเขปประวัติความเป็นมาของวัดถ้ำบางน้ำจืด (ถ้ำสีโณนิมิต) บ้านท้องครก เลขที่ ๒๙๐ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร รหัสไปรษณีย์ ๘๖๑๕๐


เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้มี กำนันเกลื้อม รอดสวัสดิ์ กับ ผู้ใหญ่เขียน แสงบางกา เข้ามาพบสถานที่ตรงนี้แรกเริ่ม และได้จัดสรรที่ไว้เพื่อสร้างวัด ประมาณ ๔๐ ไร่ กำนันเกลื้อม กล่าวว่าท่านได้เขียนแผนที่และแผนผังภายในวัดไว้ และท่านยืนยันว่าได้จัดทำเอกสารไว้ ๒ ชุด ท่านเก็บไว้เอง ๑ ชุด ไว้ที่ทำการอำเภอหลังสวน ๑ ชุด (ต่อมาเกิดภัยธรรมชาติในอำเภอหลังสวนจึงทำให้เอกสารเหล่านั้นสูญหายและทำให้ประวัติสูญหายไปด้วย) ต่อมาได้มีหลวงพ่อแสง (ไม่ทราบฉายา และวัดที่ท่านสังกัด) เดินจาริกธุดงค์มาปักกรดบริเวณหน้าถ้ำ ซึ่งเป็นพระภิกษุรูปแรกที่เข้ามาพัก ณ สถานที่ตรงนี้ ต่อมาอีกไม่นานได้มีหลวงพ่อเอียด จตฺตลโ เจ้าอาวาสวัดบ่อคุณ (บ่อโค) ตำบลแหลมทราย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ได้เข้ามาพักจำวัดในที่นี้ แล้วเห็นว่าสถานที่ตรงนี้น่าจะสร้างวัด จึงปรึกษากับญาติโยมชาวบ้านท้องครกว่า “โยม...อาตมาจะสร้างวัด ณ ที่ตรงนี้” ชาวบ้านได้ฟังแล้วก็มีความยินดีมาก ตอบไปว่า “ก็ดีเหมือนกันแหละ ถ้ามีวัดแค่ๆ (ใกล้ๆ) จะได้ทำบุญกับพระบ้าง”

ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ปลายๆ ปีช่วงจะเข้าพรรษา หลวงพ่อเอียดท่านได้ชวนญาติโยมมาสร้างกุฎิไม้มุงหลังคาด้วยจากหลังเล็กๆ ประมาณ ๑๐ - ๑๒ หลัง พอที่จะให้พระพักจำพรรษาได้ พร้อมกับสร้างโรงฉัน ๑ หลัง และท่านยังได้อัญเชิญพระพุทธรูปศิลาอ่อน (เป็นพระพุทธรูปที่สามเณรรูปหนึ่ง(ไม่ทราบชื่อ) ได้อันเชิญมาจากประเทศพม่า หลังจากได้ไปเรียนกรรมฐานมาประดิษบานไว้ในอุโบสถวัดบ่อคุณ) มาประดิษฐานไว้ในถ้ำด้วย (เมื่อสร้างวัดทองโข เสร็จ หลวงพ่อเขียนได้อันเชิญนำไปประดิษฐานที่วัดทองโข ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน) และในพรรษานั้นมีพระมาจำพรรษาประมาณ ๑๐ กว่ารูป และในพรรษาแรกที่ท่านเข้ามาอยู่จำพรรษา ท่านได้ตั้งชื่อวัดว่า “ วัดถ้ำสีโณเทพนิมิต” ท่านกล่าวว่า “มีเทพหรือเทวดาลงมาเข้าฝันว่าให้ตั้งชื่อว่าอย่างนี้ เพราะว่าที่ตรงนี้มีเทพเทวดาเป็นผู้ดูแลรักษา และเมื่อมองจากข้างนอกจะเห็นเหมือนราชสีห์นอนหมอบ เปรียบคือมีราชสีห์คอยดูแลรักษา หรือเป็นที่อยู่พักอาศัยของราชสีห์ หรือผู้ทรงศีล” หลวงพ่อเอียดท่านเลยตั้งชื่อวัดตามนี้ ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำสีโณเทพนิมิต ถึง ๖ พรรษา ในช่วงนั้นท่านได้คิดและจัดงานประจำปีทุกปี จนมีอยู่ปีหนึ่งท่านได้คิดการละเล่นให้ญาติโยมขึ้น คือ “คอกหลง” เพื่อหารายได้มาพัฒนาวัด และในครั้งนั้นมีการแข่งขันหนังตะลุงด้วย เมื่อออกพรรษาที่ ๖ ที่ท่านพักจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ท่านก็ได้กลับไปอยู่ที่วัดบ่อคุณ ท่านจึงให้หลวงพ่อเจียน (ไม่ทราบฉายา) มารับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาส ต่อมาอีก ๓ ปี ได้มีหลวงพ่อข้อง (ไม่ทราบฉายา) มาพักจำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อเจียน อีกประมาณปีกว่าๆ หลวงพ่อเจียนได้ลาสิกขา หลวงพ่อข้องจึงรับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสแทนและอยู่จำพรรษาร่วมกับหลวงพ่อสาย โอภาโส ที่ได้บวช และอยู่จำพรรษาที่วัดนี้มาโดยตลอด อีกประมาณ ๕ ปี หลวงพ่อข้องได้มรณภาพลง หลวงพ่อสายกับญาติโยมได้ทำบุญบำเพ็ญกุศลศพตามประเพณีให้ท่าน ณ ที่วัดแห่งนี้ หลังจากนั้นหลวงพ่อสาย ได้รับหน้าที่เจ้าอาวาสรูปต่อมา

จนกระทั้ง พระเทพวงศาจารย์ (จันทร์ โกสโล) เจ้าอาวาสวัดขันเงิน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร (อดีตเจ้าคณะจังหวัดชุมพร) ท่านได้มาเห็นว่าที่บ้านทองโข สมควรที่จะสร้างวัด จึงปรึกษากับชาวบ้าน และเมื่อชาวบ้านตกลง ชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างกุฏิและโรงฉันโดยการรื้อไม้กุฏิจากวัดถ้ำสีโณเทพนิมิตไปสร้าง และหลวงพ่อสายก็ย้ายไปพักจำพรรษา ณ วัดทองโข และรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทองโข ตั้งแต่นั้นมา ต่อมา ผู้ใหญ่เขียน แสงบางกา ได้ออกบวช ท่านได้ ฉายา “อตฺถกาโม” ท่านได้เข้ามาดูแล ฟื้นฟู และอยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำสีโณเทพนิมิตได้เพียง ๑ พรรษา ท่านก็ย้ายไปอยู่ที่วัดทองโข จึงทำให้วัดถ้ำสีโณเทพนิมิตรกร้างในที่สุด ทำให้เวลาที่สร้างมา ๑๐ กว่าปีสูญเปล่า และได้รกร้างมาประมาณ ๓๘ ปี แต่ในขณะนั้นยังมีพระเดินธุดงค์แวะมาพักปักกรดอยู่บ่อยครั้ง มีอยู่ครั้งหนึ่งได้มีหลวงพ่อกลับ (ไม่ทราบฉายา) ได้เข้ามาพัก และพยายามฟื้นฟูแต่ก็ไม่สามารถฟื้นฟูขึ้นมาได้

จนกระทั่ง วันพฤหัสบดี ที่ ๓๑ เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๒ (ยี่) ปีขาล พระเหื้อง โกสโล พระมหาเถระสังกัดวัดชลธีนิมิตร ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร แต่ท่านพำนักจำพรรษาประจำอยู่บนยอดเขา “รอยพระพุทธบาทจำลอง” ที่พักสงฆ์เขาไทรทอง ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ตลอดมาร่วม ๑๓ ปี และในช่วงนอกพรรษาตลอด ๑๓ ปีนั้น ท่านออกเดินจาริกธุดงค์ ปีละ ๓ เดือน ทุกปีตลอดมา

เมื่อเข้าพรรษาที่ ๑๓ ท่านได้ป่วยหนัก ท่านจึงได้อธิฐานจิตไว้ว่า “หากหายจากป่วยหนัก หากยังมีชีวิตอยู่ จะขอออกเดินจาริกธุดงค์” เมื่อท่านหายจากป่วยครั้งนั้น ท่านจึงออกเดินจาริกธุดงค์ตามที่ท่านได้อธิฐานเอาไว้ จนมาถึง ณ วัดร้างแห่งนี้ และคืนนั้นท่านได้พักจำวัดในถ้ำ (ปัจจุบัน คือ ถ้ำพระประธานของวัด) ในคืนนั้นท่านได้นั่งสมาธิและท่านพบว่าที่นี้มีความเงียบสงบ ทำให้เกิดความสุขความสบายใจ มากกว่าหลายๆ ที่ ที่ท่านได้เดินจาริกธุดงค์ผ่านมา

วันศุกร์ ที่ ๑ เดือนมกราคม พุทธศักราช พุทธศักราช ๒๕๔๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ (ยี่) ปีขาล ซึ่งวันนั้นเป็นวันพระ ท่านได้ออกบิฑบาตรตามกิจของสงฆ์ เมื่อชาวบ้านเห็นก็ได้ตักบาตรใส่บาตร ทำให้เป็นที่ยินดีมากสำหรับชาวบ้านที่ไม่ค่อยได้ตักบาตรใส่บาตร ชาวบ้านเมื่อทราบว่าท่านมาพักอยู่ที่ถ้ำจึงตามเข้ามาพบกับท่าน ต่อมาชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาในท่านได้นิมนต์ท่านให้อยู่พักจำพรรษา ณ ที่นี่ ต่อจากวันนั้นชาวบ้านต่างมาช่วยกันตกแต่งพื้นที่ และสถานที่ในถ้ำให้ท่านจำพรรษา ทั้งนี้ได้ขอให้ท่านตั้งชื่อวัด ท่านจึงสอบถามว่าในสมัยก่อนหน้านี้เรียกว่าวัดอะไร ชาวบ้านจึงบอกกับท่านว่า “หลวงพ่อเอียด จตฺตลโ (อดีตเจ้าอาวาสวัดบ่อคุณ(บ่อโค) ท่านตั้งชื่อว่า “วัดถ้ำสีโณเทพนิมิต” แต่ชาวบ้านบริเวณนี้บางคนเรียกว่า “วัดถ้ำเขาน้อย” เพราะว่าเขาลูกนี้มีขนาดเล็ก แต่มีถ้ำเล็กถ้ำน้อยหลายๆลูก แต่พระเหื้อง โกสโล ให้ชื่อ “วัดถ้ำสีโณเทพนิมิต” ตามที่หลวงพ่อเอียด จตฺตลโ ได้ตั้งไว้ เหตุแต่วัดแห่งนี้ได้รกร้างมานาน และเอกสารหลักฐานต่างๆ จึงได้สูญหายไปหมดแล้ว เหลือเพียงคำบอกกล่าวจากชาวบ้าน และที่สำคัญคือ อดีตกำนันเกลื้อม รอดสวัสดิ์ จึงเปรียบเสมือนเข้ามาริเริ่มสร้างใหม่ เพราะฉะนั้นจึงสามารถสร้างได้เพียงที่พักสงฆ์เท่านั้น ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ เป็นต้นมา ได้มีชาวบ้านบริเวณใกล้วัดได้นำบุตรหลานเข้ามาฝากเป็นศิษย์เพื่อขอบวช และอยู่จำพรรษาที่วัดนี้ ท่านจึงพาไปบวชที่วัดชลธีนิมิตร เพราะที่วัดแห่งนี้ไม่มีโบสถ์ที่สามารถทำสังฆกรรมได้

ปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ พระเหื้อง โกสโล ท่านได้ให้ พระธวัช ธวชฺโช* จัดทำป้ายที่พักสงฆ์ขึ้นมาใหม่โดยใช้ “ไม้จำปาทอง” ซึ่งได้รับถวายจาก นายทรงพล ไชยเดช และนายสมชัย ทองยอด หมู่บ้านน้ำใส หมู่ที่ ๑๗ ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร มาแกะสลักชื่อที่พักสงฆ์ แต่ขณะแกะสลักป้ายอยู่นั้นไม่ได้ใส่คำว่า “เทพ” ลงในป้ายด้วย จึงทำให้ได้ชื่อว่า “ที่พักสงฆ์ถ้ำสีโณนิมิต” ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงให้ใช้ชื่อนี้ตลอดมา จนกระทั่ง ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดได้ จึงใช้ว่า “สำนักสงฆ์ถ้ำสีโณนิมิต” ตลอดมา

ต่อมาวันที่ ๒๙ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๕ “สำนักสงฆ์ถ้ำสีโณนิมิต” ได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนา โดยให้ใช้นามว่า “วัดถ้ำบางน้ำจืด” ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ เป็นต้นมา ได้มีกุลบุตรเข้ามาขอบวช และอยู่จำพรรษาที่วัดนี้ทุกพรรษาประมาณ ๔ – ๑๐ รูป ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันสร้างกุฏิ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ หอฉัน และโรงครัว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพระภิกษุผู้อยู่จำพรรษาในการปฏิบัติกิจทางศาสนา

ตลอดมาวัดถ้ำบางน้ำจืด ได้มีกิจกรรมโครงการฯ หลายๆ โครงการฯ ประจำปีทุกๆ ปี แต่ที่สำคัญ คือ การอนุรักษ์วัฒนธรรม งานบุญประจำปี ในชื่อ โครงการ “บุญถวายสลากภัต” ซึ่งตรงกับวัน ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ซึ่งปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ เป็นปีที่ ๑๕ และ การอบรมศีลธรรม จริยธรรม และปฏิบัติธรรม ในชื่อ โครงการ “นำพุทธบุตร สู่พุทธธรรม” ซึ่งปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ จัดเป็นรุ่นที่ ๙ ซึ่งโครงการฯ ทั้ง ๒ โครงการฯ นี้ เป็นโครงการฯ หลัก และสำคัญ วัดบางน้ำจืดได้จัดขึ้นต่อเนื่องมาทุกๆ ปี นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอีกหลายๆ กิจกรรม เช่น งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ งานวันสงกรานต์ (สรงน้ำพระพุทธ พระสงฆ์ อาบน้ำผู้สูงอายุ) งานเข้าถ้ำกราบพระ บุญสารทเดือนสิบ ฯลฯ

ทั้งนี้ กิจกรรมต่างๆ ที่มีขึ้นในวัดถ้ำบางน้ำจืด ได้รับความเมตตานุเคราะห์จากเจ้าคณะพระสังฆาธิการ พระมหาเถระ พระเถระผู้ใหญ่หลายๆ รูป มี พระธรรมโกศาจารย์ (เจ้าคณะจังหวัดชุมพร (ม)) พระราชพิศาลสุธี (เจ้าคณะจังหวัดชุมพร (ธ)) พระเทพพิพัฒนาภรณ์ (เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี) พระราชรัตนวิสุทธิ์ (ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชุมพร (ม)) พระมุนีสารโสภณ (ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชุมพร (ธ)) พระวิจิตรธรรมนิเทศ(รองเจ้าคณะจังหวัดชุมพร) พระศรีปริยัตภรณ์ (เจ้าคณะอำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี) พระครูอดุลวีรวัฒน์ (เจ้าคณะอำเภอหลังสวน) และได้รับความอนุเคราะห์จากฝ่ายบ้านเมือง มี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร นายอำเภอหลังสวน นายกเทศมนตรี ของหลายๆ เทศบาล ครูอาจารย์ของหลายๆ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และอีกหลายๆ ท่าน พร้อมทั้งหน่วยงานต่างๆ มี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยตาปี สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชุมพร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชุมพร เขต ๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด ชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดชุมพร และคณะญาติธรรมของ คุณนิรามิสา ชรายุรัตน์ ศูนย์ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา ราชนครินทร์ จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น

ในปี ๒๕๕๐ ประชาชนร่วมกันซื้อที่ดินถวายวัด จำนวนเนื้อที่ ๘ ไร่ ๓ งาน ๙๓ ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ ๓๓๔๑๐ เล่มที่ ๓๓๕ หน้าที่ ๑๐ โดยทำหนังสือสัญญาตกลงยกที่ดินให้สร้างวัดไว้กับนายอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยตกลงกันว่า ให้ นางหนูคลิ้ง รวดเร็ว มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดิน

ในปี ๒๕๕๑ ได้ดำเนินการขออนุญาตสร้างวัด

ในปี ๒๕๕๒ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้อนุญาตให้สร้างวัด

ในปี ๒๕๕๕ ได้รับความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนา โดยให้ใช้นามว่า “วัดถ้ำบางน้ำจืด” ซึ่งประกาศไว้ เมื่อวันที่ ๒๙ เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๕

ในปี ๒๕๕๕ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ พระธรรมโกศาจารย์* เจ้าคณะจังหวัดชุมพร ได้พิจารณาแต่งตั้งให้ พระเหื้อง ฉายา โกสโล อายุ ๘๕ พรรษา ๒๙ ดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำบางน้ำจืด และได้ผ่านอนุมัติ แต่งตั้งตามตราตั้งปรากฏ เมื่อวันที่ ๑ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๖ จึงใช้คำนำหน้าชื่อเป็น “พระอธิการ”

ในปี ๒๕๖๐ ในวันจันทร์ ที่ ๑๓ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ แรม ๒ ค่ำ เดือนสาม (๓) ปีวอก พระอธิการเหื้อง โกสโล (หนูวัน) อายุ ๘๙ พรรษา ๓๕ เจ้าอาวาสวัดถ้ำบางน้ำจืด ได้ถึงแก่มรณภาพ ด้วยโรคชรา ทำให้เกิดความเศร้า เสียใจ ทำให้พระภิกษุ สามเณร ศิษยานุศิย์ ญาติโยมชาววัดถ้ำบางน้ำจืด ต้องจดจำและไม่มีวันลืมเลือน

ในปี ๒๕๖๐ พระเดชพระคุณ พระราชวิจิตรปฏิภาณ เจ้าคณะจังหวัดชุมพร ได้พิจารณาแต่งตั้งให้ พระครูปลัดธวัช ฉายา ธวชฺโช (ทองยอด) น.ธ.เอก,พธ.บ., ศศ.ม. ดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำบางน้ำจืด เมื่อวันพุธ ที่ ๑๐ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก (๖) ปีระกา

  • พระราชรัตนวิสุทธิ์ (ปัจจุบัน เป็น พระเทพวิสุทธาจารย์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๖)
  • พระธรรมโกศาจารย์ (ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๖)
  • พระราชพิศาลสุธี (ปัจจุบัน เป็น พระเทพมงคลกวี)
  • พระวิจิตรธรรมนิเทศ (ปัจจุบัน เป็น พระราชวิจิตรปฏิภาณ ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดชุมพร)
  • พระธวัช ธวชฺโช (ปัจจุบันเป็น พ.ศ.๒๕๖๐ พระครูปลัดธวัช ธวชฺโช ฐานานุกรมใน พระเทพวิสุทธาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๖ ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดถ้ำบางน้ำจืด และ เลขานุการรองเจ้าคณะจังหวัดชุมพร)


ฝ่ายประชาสัมพันธ์ วัดถ้ำบางน้ำจืด โทร. ๐๘ ๖๐๑๒ ๓๓๔๑ E-mail. ppl.tawat@hotmail.com --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ วัดถ้ำบางน้ำจืด (พูดคุยหน้าที่เขียน) 20:04, 21 ธันวาคม 2561 (ICT)