คุยกับผู้ใช้:ทรายสีเงิน

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ ทรายสีเงิน สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello ทรายสีเงิน! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- 14:25, 12 พฤษภาคม 2554 (ICT) ประวัติวัดวังยาววารี บ้านวังยาว

      วัดวังยาววารี (วัดบ้านวังยาว )ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๐ บ้านวังยาว หมู่ที่ ๔ ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินวัด มีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๑ งาน ๒๕ ตารางวา  ส.ค.๑ เลขที่ ๒๒๐ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๔ เส้น ๗๕ วา จดฝั่งแม่น้ำชี ทิศใต้ประมาณ ๓ เส้น จดทางสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ ๑ เส้น ๓ วา จดที่นาของนายบุญ ทิศตะวันตกประมาณ ๒ เส้น ๗๕ วา จดทางสาธารณะ  อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๔.๕๐ เมตร ยาว ๑๗.๕๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ กุฏิสงฆ์จำนวน ๒ หลัง เป็นอาคารไม้ และศาลาเอนกประสงค์ กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร เป็นอาคารไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑
               วัดวังยาววารี ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ โดยการนำของท่านพระครูทา เจ้าคณะอำเภอ ซึ่งอยู่ที่วัดอภิสิทธิ์ ได้มาชักชวนชาวบ้าน โดยการนำของผู้ใหญ่บ้านคือ   พระธรรมสาท ได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้น การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ พระทา พ.ศ.๒๔๕๗-๒๔๖๐ รูปที่ ๒ พระมหามี พ.ศ.๒๔๖๐-๒๔๖๔  รูปที่ ๓ พระเคน สุทธิปัญฺโญ พ.ศ.๒๔๖๔-๒๔๗๑ รูปที่ ๔ พระมหาบุญศรี พ.ศ.๒๔๗๑-๒๔๗๘  รูปที่๕ พระช่วง พ.ศ.๒๔๗๘-๒๔๘๙ รูปที่ ๖ พระมี พ.ศ.๒๔๘๙-๒๔๙๗ รูปที่๗ พระศรี พ.ศ.๒๔๙๗-๒๕๐๓ รูปที่๘ พระมหาบุญเพ็ง พ.ศ.๒๕๐๓-๒๕๑๐ รูปที่๙ พระทอง  สุภโร พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๒๑ รูปที่๑๐ พระสุวรรณ พ.ศ.๒๕๒๑-๒๕๒๘ รูปที่๑๑ พระชม  ปญฺญาธโร พ.ศ.๒๕๒๘-ไม่แน่ใจ
      หลังจากที่พระชม ปญฺญาธโร มรณภาพลงก็มีพระรักษาการณ์เจ้าอาวาสหลายรูป จนกระทั่งปัจจุบันมีพระธรรมธรทองหลาง  ขนฺติธโร เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติหมู่บ้านวังยาว ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2457 โดยตระกูล ศรีสารคาม ซึ่งเดิมแยกออกมาจากคุ้มบ้านจาน ( วัดป่าประชาบำรุงในปัจจุบัน ) เนื่องจากมีชาวบ้านบางส่วนมาถางป่า ปลูกผักในบริเวณที่แห่งนี้ ต่อมาก็ทำนาปลูกข้าวและอย่างอื่นเพิ่มขึ้น จากที่เคยทำมาหากินแบบเช้าไปเย็นกลับ ก็เปลี่ยนเป็นพักค้างคืนวันหรือสองวันหรือเป็นสัปดาห์ถึงกลับบ้าน เมื่อมีที่ทางทำนาเยอะขึ้นก็เปลี่ยนเป็นสร้างบ้านเพื่อพักเฝ้าที่นาของตนเอง แล้วขยายขนาด จำนวนขึ้นเรื่อยๆจนเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก แล้วมีญาติพี่น้องจากคุ้มต่างๆในตลาด ( เขตเทศบาลเมืองมหาสารคามในปัจจุบัน ) เริ่มขยับขยายออกมาอยู่ในหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น จนได้ก่อตั้งสำนักสงฆ์ขึ้น ( วัดบ้านวังยาวในปัจจุบัน ) มีพระครู ต่วน เป็นเจ้าอาวาสคนแรกเมื่อแรกก่อตั้งวัด และได้ตั้งเป็นหมู่บ้านตามพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ชื่อ “ หมู่บ้านวังยาว ” ซึ่งตั้งชื่อหมู่บ้านตามวังของแม่น้ำชี ที่อยู่ในเขตของหมู่บ้านและวังน้ำชีนี้มีความยาวมาก ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านวังยาว คือ หลวงวิจิตร ทำเนียบผู้ใหญ่บ้านบ้านวังยาว จากอดีตถึงปัจจุบัน 1. หลวงวิจิตร วาตะกานต์ 2. พระยาไทร มาลี 3. นาย ลี ศรีสารคาม 4. นาย เลี้ยง ชัยพันนา 5. นาย บุญธรรม อิสระเจริญ 6. นาย ควร แก้วพิจิตร 7. นาย บุญมี วิริยะ 8. นาย สมพงษ์ วรคำ ปี พ.ศ. 2535 – 2548 9. นาย ชัยณรงค์ ใต้ศรีโคตร ปี พ.ศ. 2548 – 2553 10. นาง สายใจ มาบุญธรรม ปี พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน ในหมู่บ้านวังยาว มีสถานที่ท่องเที่ยวประจำหมู่บ้าน คือ หาดเจ้าสำราญ ในหน้าร้อน เดือน มีนาคม - เดือนพฤษภาคม จะมีคนมาเที่ยวและเล่นน้ำค่อนข้างมาก ทำรายได้ให้คนในหมู่บ้านไม่น้อย --สายใจทรายสีเงิน 10:50, 9 มิถุนายน 2554 (ICT)

หาดเจ้าสำราญ ตั้งอยู่ที่บ้านวังยาว หมู่ที่ 4 ตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่ในเขตที่สาธารณะหาดใหญ่สาธารณประโยชน์ซึ่งมีพื้นที่โดยประมาณ 25 ไร่ 2 งาน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าชุมชนของหมู่บ้านอยู่สองข้างทาง มีพื้นที่ด้านในสุดประมาณ 5 ไร่เป็นพื้นที่หาดทรายที่ทอดยาวไปตามลำน้ำชีมีความยาวกว่า 2 กิโลเมตร พร้อมเกิดเกาะแก่งและธรรมชาติอันร่มรื่นในพื้นที่ รอบๆป่าชุมชน ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้งได้พลิกวิกฤตภัยแล้งให้เป็นโอกาสอาศัยช่วงน้ำชีลดระดับ ได้ปรับปรุงหาดทรายให้ดูสวยงามและสะอาดตา ที่เกิดขึ้นจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวชุมชนที่นอกจากจะทำให้หาดน่าท่องเที่ยวมากขึ้นแล้ว ยังมีร้านจัดจำหน่ายอาหาร - เครื่องดื่ม และห่วงยางไว้บริการให้กับนักท่องเที่ยว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นทะเลน้ำจืดที่ได้รับการยอมรับและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัด เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในเขตเมืองและรอบนอก ในช่วงที่สภาพอากาศร้อน ที่ได้พาบุตรหลานและครอบครัวออกไปท่องเที่ยวพักผ่อนคลายร้อน และรับประทานอาหารนอกบ้าน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดไม่ต่ำกว่าวันละ 1,000 คน --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 1.2.219.82 (พูดคุย | ตรวจ) 22:15, 30 มีนาคม 2556 (ICT)